ข้ามไปเนื้อหา

ป้อมป้องปัจจามิตร

พิกัด: 13°43′51″N 100°30′34″E / 13.7309°N 100.5095°E / 13.7309; 100.5095
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ป้อมป้องปัจจามิตร
ทางเข้าป้อมป้องปัจจามิตรส่วนที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน
ที่ตั้งแขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ประเภทป้อมดาว
ส่วนหนึ่งของระบบป้อมปราการชั้นนอกของกรุงเทพมหานคร
ความเป็นมา
ผู้สร้างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัสดุอิฐ
สร้างสมัยรัชกาลที่ 4
ละทิ้งพ.ศ. 2492
สมัยรัตนโกสินทร์
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
สภาพซากเหลือจากการรื้อถอน
ผู้บริหารจัดการกรมศิลปากร
สถาปัตยกรรม
รูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนป้อมป้องปัจจามิตร
ขึ้นเมื่อ22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0000150
กำแพงป้อมป้องปัจจามิตร ด้านฝั่งตรงข้ามอาคารสถานีตำรวจนครบาลสมเด็จเจ้าพระยาและสถานีตำรวจนครบาลปากคลองสาน

ป้อมป้องปัจจามิตร เป็นป้อมสำคัญที่ใช้ป้องกันข้าศึกตามริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านตะวันตกริมปากคลองสาน ตรงข้ามกับป้อมปิดปัจจนึกบริเวณปากคลองผดุงกรุงเกษม ปัจจุบันอยู่บริเวณบ้านพักข้าราชการกรมเจ้าท่า ใกล้กับสำนักงานเขตคลองสาน

ป้อมป้องปัจจามิตรสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ควบคู่กับการขุดคลองผดุงกรุงเกษมต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ใช้ป้อมดังกล่าวเป็นสถานที่ตั้งเสาธงสัญญาณแจ้งข่าวเรือสินค้าเข้าของบริษัทใด ออกพระนคร ที่บริเวณปากคลองสาน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการย้ายเสาธงเหล็กจากป้อมเผด็จดัสกรภายในพระบรมมหาราชวัง มาตั้งที่ป้อมแห่งนี้[1] คือที่ตั้งในปัจจุบัน บริเวณสำนักงานเขตคลองสาน เมื่อกรมเจ้าท่าเลิกใช้เสาธงสัญญาณนี้แล้วได้แจ้งความจำนงต่อกรมศิลปากรว่าจะรื้อออก แต่กรมศิลปากรเห็นว่าควรอนุรักษ์ไว้เป็นหลักสำคัญทางประวัติศาสตร์[2]

ในปี พ.ศ. 2492 ป้อมป้องปัจจามิตรมีสภาพทรุดโทรมมาก เทศบาลนครธนบุรีในสมัยนั้นจึงดำริจะรื้อป้อมทิ้งเพื่อปรับสถานที่ และจะนำเศษอิฐเศษปูนไปถมถนนต่าง ๆ กรมศิลปากรจึงประกาศขึ้นทะเบียนป้อมป้องปัจจามิตรเป็นโบราณสถานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. ตำนานเสาธงแรกบนผืนแผ่นดินสยาม
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-30. สืบค้นเมื่อ 2007-10-28.
  3. ซุงโบราณฐานป้อมป้องปัจจามิตร[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

13°43′51″N 100°30′34″E / 13.7309°N 100.5095°E / 13.7309; 100.5095