ข้ามไปเนื้อหา

ป้อมปราการตัลอะฟัร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ป้อมปราการตัลอะฟัร
Telafer Kalesi
ตัลอะฟัร ประเทศอิรัก
ป้อมปราการตัลอะฟัรใน ค.ศ. 2007
พิกัด36°22′32″N 42°27′16.7″E / 36.37556°N 42.454639°E / 36.37556; 42.454639
ประเภทป้อมปราการ
ข้อมูล
ควบคุมโดยอิรัก
เปิดสู่
สาธารณะ
ไม่
สภาพซากปรักหักพัง
ประวัติศาสตร์
สร้างคริสต์ศตวรรษที่ 16
สร้างโดยจักรวรรดิออตโตมัน
ผลลัพธ์ไอซิลทำลายทิ้งใน ค.ศ. 2015
การต่อสู้/สงครามยุทธการที่ตัลอะฟัร (ค.ศ. 2005)
ยุทธการที่ตัลอะฟัร (ค.ศ. 2017)

ป้อมปราการตัลอะฟัร (ตุรกี: Telafer Kalesi)[1] เป็นป้อมปราการในนครตัลอะฟัร เขตผู้ว่าการนิเนเวห์ ประเทศอิรัก ป้อมปราการนี้สร้างขึ้นในสมัยจักรวรรดิออตโตมัน[2] แม้ว่าจะมีส่วนหลงเหลือที่มีอายุถึงสมัยอัสซีเรียก็ตาม[3]

หลังการบุกครองอิรัก ค.ศ. 2003 ป้อมนี้ทำหน้าที่เป็นสำนักงานนายกเทศมนตรี เทศบาล และตำรวจของเมืองตัลอะฟัร และยังใช้เป็นฐานทัพสหรัฐในยุทธการที่ตัลอะฟัรเมื่อ ค.ศ. 2005[2] ตัลอะฟัรตกเป็นของรัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ (ไอซิล) ในเดิอนมิถุนายน ค.ศ. 2014 และพวกก่อการร้ายใช้ป้อมนี้เป็นเรือนจำสตรีและเด็กหญิงที่ถูกบังคับให้แต่งงานกับสมาชิกกลุ่มไอซิล[4]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2014 ไอซิลระเบิดกำแพงทางเหนือและตะวันตก ก่อให้เกิดความเสียหายมาก[5] พวกก่อการร้ายยังขุดค้นซากปรักหักพังบางส่วนภายในป้อมปราการด้วย โดยอาจเป็นการค้นหาโบราณวัตถุเพื่อนำมาขาย[3] อธิบดียูเนสโก อิรินา บอกอวาประณามการทำลายล้างป้อมปราการอย่างรุนแรง[6] กองทัพอิรักเข้ายึดป้อมนี้อีกครั้งในยุทธการยึดตัลอะฟัรคืนใน ค.ศ. 2017[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Türkmeneli TV Tarihi Telafer Kalesi'nde". สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 Schlosser, Nicholas J. (August 2015). "The Pacification of Tal Afar". U.S. Army Center of Military History. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2015.
  3. 3.0 3.1 "Extremist IS militants damage ancient citadel, two shrines in Iraq's Nineveh". Xinhua News Agency. 31 December 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2015.
  4. "Iraq: ISIS executes at least 150 women for refusing to marry its militants". Al Akhbar. 17 December 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2014.
  5. Jones, Christopher (15 February 2015). "ISIS destroys several more sites in Mosul and Tal Afar". Gates of Nineveh. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016.
  6. "UNESCO Director-General strongly condemns attacks at ancient site of Tel Afar in Iraq". UNESCO. 7 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2015.
  7. "Iraqi fighters retake historic city from ISIS". The Straits Times. 30 August 2017. สืบค้นเมื่อ 3 September 2017.