ข้ามไปเนื้อหา

ปูนทนไฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปูนทนไฟ (อังกฤษ: Refractory Mortar) เป็นวัสดุทนไฟ อีกประเภทหนึ่งที่ใช้ร่วมกับอิฐทนไฟ ทำหน้าที่ในการเชื่อมประสานอิฐทนไฟเข้าด้วยกัน ปูนทนไฟ สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายลักษณะ เช่น

ประเภทของปูนทนไฟ

[แก้]
  1. แบ่งตามองค์ประกอบทางเคมี
    1. กลุ่มประเภท Acid Refractory Mortar เป็นปูนทนไฟ ที่มีองค์ประกอบทางเคมีส่วนใหญ่เป็น Alumino Silicate (หรือ Al2O3 และ SiO2)
    2. กลุ่มประเภท Basic Refractory Mortar เป็นปูนทนไฟ ที่มีองค์ประกอบทางเคมี ส่วนใหญ่เป็น Basic Material ได้แก่ MgO
  2. แบ่งตามลักษณะของปูนทนไฟ
    1. ปูนทนไฟ แบบแห้ง (Dried Refractory Mortar) เป็นปูนทนไฟ ที่มีลักษณะเป็นผงแห้งละเอียด เวลาใช้งานจะต้องผสมกับน้ำ หรือสารที่ต้องการผสม เช่น น้ำแก้ว (Soda Glass) เพื่อให้มีลักษณะเหมาะแก่การใช้งาน
    2. ปูนทนไฟ แบบเปียก (Wet Refractory Mortar) เป็นปูนทนไฟ ที่มีการผสมมาสำเร็จ สามารถนำไปใช้งานได้ทันที
  3. แบ่งตามวิธีการใช้งาน
    1. Air Setting Mortar เป็นปูนทนไฟ ที่สามารถเชื่อมประสานอิฐทนไฟ เข้าด้วยกันหลังแห้งตัว โดยยังไม่จำเป็นต้องได้รับความร้อน เหมาะสำหรับงานที่ต้องการให้อิฐเชื่อมประสานกัน เพื่อความแข็งแรงของโครงสร้าง ตั้งแต่ขั้นตอนการติดตั้ง
    2. Heat Setting Mortar เป็นปูนทนไฟ ที่จะเกิดการเชื่อมประสานอิฐทนไฟ เข้าด้วยกัน เมื่อได้รับความร้อนไปแล้ว
  4. แบ่งตามลักษณะการใช้งานพิเศษ
    นอกจากปูนทนไฟ จะสามารถแบ่งตามลักษณะที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังสามารถแบ่งออกเป็นปูนทนไฟ ลักษณะพิเศษอื่นๆ อีก เช่น
    1. ปูนทนไฟ สำหรับ Insulating Refractory Mortar สำหรับการก่อติดตั้งกับอิฐฉนวน ซึ่งจะมีรูพรุนมาก เนื้อปูนทนไฟ ประเภทนี้ จะออกแบบให้มีความสามารถในการอุ้มน้ำไว้ได้ดี ทำให้ปูนทนไฟ ไม่แห้งตัวเร็วเกินไป เวลานำไปฉาบกับอิฐฉนวน
    2. ปูนทนไฟ สำหรับ Electrical Cable สำหรับใช้กับสายไฟ สำหรับบริเวณที่ต้องการความทนต่ออุณหภูมิสูง
    3. ปูนทนไฟ ทนกรด Acid Resistant Refractory Mortar สำหรับใช้ร่วมกับ อิฐทนไฟประเภททนต่อการกัดกร่อนของกรด (Acid Resistant Refractory Brick)