ข้ามไปเนื้อหา

ปุษปกมล ทาหาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปุษปกมล ทาหาล
ทาหาลเมื่อปี 2016
นายกรัฐมนตรีเนปาล
ดำรงตำแหน่ง
26 ธันวาคม 2022 – 15 กรกฎาคม 2024
ประธานาธิบดีวิทยะ เทวี ภัณฑารี
ราม จันทระ เปาเฑล
รอง
ก่อนหน้าเชร์ บะหาดูร์ เทวพะ
ถัดไปเคพี ชาร์มา โอลี
ดำรงตำแหน่ง
4 สิงหาคม 2016 – 7 มิถุนายน 2017
ประธานาธิบดีวิทยะ เทวี ภัณฑารี
รอง
ก่อนหน้าKhadga Prasad Oli
ถัดไปเชร์ บะหาดูร์ เทวพะ
ดำรงตำแหน่ง
15 สิงหาคม 2008 – 25 พฤษภาคม 2009
ประธานาธิบดีราม พรัณ ยาฑวะ
รองพามเทวะ เคาตมะ
ก่อนหน้าคิริชา ประสาท โกอิราละ
ถัดไปมธวะ กุมาร เนปาล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ฆณศยาม ทาหาล

(1954-12-11) 11 ธันวาคม ค.ศ. 1954 (70 ปี)
โปขรา ราชอาณาจักรเนปาล
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์เนปาล (ลัทธิเหมา) (1994–2018; 2021–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
คู่สมรสสีตา ทาหาล (สกุลเดิม: โปวเทล)
บุตร4 คน รวมถึงเรณู ทาหาล
ศิษย์เก่าสถาบันการเกษตรและสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยตริภูวัน
เว็บไซต์cmprachanda.com
ชื่อเล่นประจัณฑะ

ปุษปกมล ทาหาล (เนปาล: पुष्पकमल दाहाल, อักษรโรมัน: Pushpa Kamal Dahal; เกิด 11 ธันวาคม 1954) หรือเป็นที่รู้จักด้วยชื่อในกองทัพว่า ประจัณฑะ (เนปาล: प्रचण्ड, ข้อผิดพลาด: {{IPA}}: ไม่รู้จักแท็กภาษา: [prʌˈt͡sʌɳɖʌ]; แปลว่า "ดุดัน") เป็นนักการเมืองชาวเนปาล อดีตนายกรัฐมนตรีเนปาลในช่วงปี 2008 – 2009, 2016 – 2017 และ 2022 – 2024

หลังสงครามกลางเมืองของเนปาลสิ้นสุด พรรคคอมมิวนิสต์เนปาล (ลัทธิเหมา) ซึ่งทาหาลเป็นสมาชิกนั้น ได้เข้าสู่รัฐบาลโดยได้รับคะแนนเสียงข้างมากในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภา ทาหาลได้รับการคัดเลือกโดยพรรคให้เป็นนายกรัฐมนตรี[1] ในการเลือกตั้งรัฐสภาปี 2008 เขาได้รับเลือกจากเขตเลือดตั้งกาฐมาณฑุ 10 และชนะคะแนนเสียงถล่มทลาย เกือยสองเท่าของคู่แข่งซึ่งเป็นผู้แทนจากพรรคคองเกรสเนปาล และเขายังชนะคะแนนเสียงถล่มทลายอีกครั้งในฐานะผู้แทนจากเขตการเลือกตั้งโรลปะ 2 โดยได้คะแนนเสียง 34,230 เทียบกับ 6,029 ศันตะ กุมาร โอลี จากพรรคคอมมิวนิสต์เนปาล (ลัทธิมากซ์-เลนิน)[2] ในการชนะการเลือกตั้งครั้งนั้น เขาได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะดำเนินการจัดตั้งรัฐบาลและทำงานร่วมกับพรรคอื่น ๆ อย่างสุดกำลังความสามารถ[3]

ในเดือนสิงหาคม 2016 ทาหาลได้รับการเลือกตั้งขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเนปาลในวาระที่สอง[4][5] เขาลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 24 พฤษภาคม 2017 และได้เชร์ บะหาดูร เทวพา จากพรรคคองเกรสขึ้นมาสืบทอดตำแหน่ง[6][7] ทาหาลได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในวาระที่สามในวันที่ 25 ธันวาคม 2022 หลังการเลือกตั้งทั่วไปในปีเดียวกัน[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Nepal Maoists want their chief as president", Reuters (AlertNet), 25 January 2008.
  2. "Prachanda wins from Rolpa-2 as well"[ลิงก์เสีย], Nepalnews, 13 April 2008.
  3. "'We want to continue working with parties and the int'l community,' says Prachanda."[ลิงก์เสีย], Nepalnews, 12 April 2008.
  4. Chaudhury, Dipanjan Roy (4 August 2016). "New PM Prachanda will bring Indo-Nepal ties back on track, hopes India". The Economic Times.
  5. "Maoist chief Prachanda elected as Nepal prime minister". The Times of India. Reuters. 3 August 2016.
  6. "Nepalese PM announces resignation – Xinhua | English.news.cn". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2017.
  7. "Prachanda resigns as Nepal Prime Minister making way for Sher Bahadur Deuba to take over". สืบค้นเมื่อ 8 September 2018.
  8. Online, T. H. T. (25 December 2022). "President Bhandari appoints Dahal as new PM, swearing-in on Monday". The Himalayan Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 25 December 2022.