ข้ามไปเนื้อหา

ปี่แป่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปี่แป่
ใบและผลของปี่แป่
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Rosales
วงศ์: Rosaceae
สกุล: Eriobotrya
สปีชีส์: E.  japonica
ชื่อทวินาม
Eriobotrya japonica
(Thunb.) Lindl.
ชื่อพ้อง[1]
  • Crataegus bibas Lour.
  • Mespilus japonica Thunb.
  • Photinia japonica (Thunb.) Benth. & Hook. f. ex Asch. & Schweinf.
ภาพวาดทางชีววิทยา ของปี่แป่ Eriobotrya japonica
ภาพวาด โครงสร้างของผล
ปี่แป่กำลังออกดอก
ปี่แป่ และ นกปรอด โดยศิลปินชาวจีนนิรนามแห่งราชวงศ์ซ่งใต้ (ค.ศ. 1127–1279)

ปี่แป่ หรือ ปี่แปะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Eriobotrya japonica) เป็นพืชในวงศ์ Rosaceae เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น ลำต้นตรง ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ ผิวใบด้านบนเขียวเข้มเป็นมัน ปกคลุมด้วยขนสั้น ๆ สีน้ำตาลแดง ดอกมีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงมีขนละเอียดปกคลุม ผลรูปกลมหรือรูปไข่สีเหลืองอ่อนหรือสีส้ม มีขนปกคลุม เปลือกผลฉ่ำน้ำ เมล็ดยาว สีน้ำตาลดำ ถิ่นกำเนิดอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน แพร่กระจายพันธุ์และเพาะปลูกมากในประเทศจีนและญี่ปุ่น ผลมีรสหวานอมเปรี้ยว กินสด ใบมีแทนนิน รสฝาด ใช้แก้อาการท้องเสียและเป็นยาระบาย ผลมีเพกติน มีโพแทสเซียมสูง มีวิตามินซีต่ำ ในตำรายาจีนเรียกชื่อสมุนไพร 'ผีผาเย่' (ในภาษาจีนกลาง - ใบปี่แป่) หรือปีแปะเฮียะ (ในภาษาจีนแต้จิ๋ว) ใบใช้เป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

ปี่แป่ (E. japonica) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กหรือไม้พุ่ม ที่เขียวชอุ่มตลอดปี มีทรงพุ่มกลม ลำต้นเตี้ยและกิ่งที่งอกใหม่มักมีขน ต้นไม้สามารถเติบโตได้สูง 5 – 10 เมตร (16–33 ฟุต) แต่โดยทั่วไปมักมีขนาดประมาณ 3 – 4 เมตร (10–13 ฟุต)

ใบเป็นแบบสลับเรียบง่ายยาว 10–25 เซนติเมตร (4–10 นิ้ว) ผิวใบด้านบนเขียวเข้มเป็นมัน หูใบแบน เนื้อเหนียว และมีขอบใบหยัก ใบด้านล่างมีขนนุ่มหนาแน่นสีน้ำตาลแดง หรือสีน้ำตาลเหลือง ใบอ่อนยังมีขนหนาแน่นด้านบน แต่ร่วงออกเมื่อใบเจริญเต็มที่ [2][3][4][5]

ดอก มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 ซม. (1 นิ้ว) สีขาว ไม่มีก้านดอก มีกลีบดอก 5 กลีบและมีช่อดอกแข็งสามถึงสิบดอก ดอกไม้มีกลิ่นหอมหวานและมีกลิ่นหอมที่สามารถได้กลิ่นจากระยะไกล กลีบเลี้ยงมีขนละเอียดปกคลุม

ผล เติบโตเป็นกระจุกมีลักษณะเป็นรูปไข่ ทรงกลม หรือรูปลูกแพร์ ยาว 3–5 เซนติเมตร (1-2 นิ้ว) ผิวเรียบหรือเป็นสีเหลืองหรือสีส้มบางครั้งก็เป็นสีแดงอมแดง เนื้อ(เปลือกผล)ชุ่มฉ่ำน้ำ มีสีขาว เหลือง หรือส้ม และมีรสหวานอมเปรี้ยว ขึ้นอยู่กับพันธุ์ รสชาติเป็นส่วนผสมของผลส้มและมะม่วงอ่อน เริ่มสุกในช่วงฤดูใบไม้ผลิถึงฤดูร้อนขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในพื้นที่ โดยทั่วไปในแต่พวงทมี 3-10 ผล[6] เมล็ดเดี่ยวสีน้ำตาลเข้มขนาดใหญ่ เมล็ดยาว โดยปกติจะอยู่ระหว่างหนึ่งถึงสี่เมล็ด พบมากที่สุดห้าเมล็ด ทั้งนี้ปี่แป่ต่างจากพืชสวนชนิดอื่นทั่วไปเนื่องจากออกดอกในฤดูใบไม้ร่วงหรือต้นฤดูหนาว และออกผลตั้งแต่ต้นฤดูใบไม้ผลิถึงต้นฤดูร้อน

อนุกรมวิธานและการตั้งชื่อ

[แก้]

ปี่แป่ (Eriobotrya japonica) เป็นพืชในสกุล Eriobotrya วงศ์ Rosaceae เผยแพร่ครั้งแรกโดย Trans.Linn. Soc. ที่ลอนดอน (ปีค.ศ. 1821) [7]

ชื่อ โลควอท หรือ โหล่วกวั๊ด มาจาก lou4 gwat1 ในออกเสียงภาษาจีนกวางตุ้งของ จีนตัวย่อ: 芦橘; จีนตัวเต็ม: 蘆橘; พินอิน: lújú ถูกนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง (และทับศัพท์เป็น loquat ที่รู้จักในภาษาอังกฤษในปัจจุบัน) โดยสันนิษฐานว่าเริ่มจากกวีจีนโบราณ Su Shi ขณะเมื่ออาศัยในภาคใต้ของจีนได้นำไปใช้และหลังจากนั้นความผิดพลาดในการเรียกชื่อก็แพร่กระจายเป็นวงกว้างในภูมิภาคกวางตุ้ง ปัจจุบันในประเทศจีนรู้จักดีในชื่อภาษาจีนกลาง คือ ผีผา (จีน: 枇杷; พินอิน: Pípá แต้จิ๋ว: ปี่แปะ) ในญี่ปุ่นเรียกว่า 枇杷 (ビワ biwa) ในภาษาเกาหลีเรียกว่า 비파 (bipa) ซึ่งในภาษาไทยใช้ชื่อทับศัพท์จากภาษาจีนสำเนียงแต้จิ๋วในชื่อ ปี่แป่ ทั้งนี้อาจมีที่มาจากชื่อยาน้ำเชื่อมแก้ไอที่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ชวนป๋วยปี่แปกอ หรือ ยาน้ำแก้ไอตราลูกกตัญญู [8] (จีนตัวย่อ: 川贝枇杷膏; จีนตัวเต็ม: 川貝枇杷膏; พินอิน: Pípá gāo) ยาชนิดนี้มีส่วนผสมที่ทำจากใบของปี่แป่

การแพร่กระจายและถิ่นกำเนิด

[แก้]

ถิ่นกำเนิดอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน [9] แพร่กระจายพันธุ์และเพาะปลูกในประเทศจีนและญี่ปุ่น ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปลูกเฉพาะในที่สูงที่มีอากาศค่อนข้างเย็น เช่น ประเทศไทย และ เวียดนาม ปัจจุบันเพาะปลูกในหลายทวีปยกเว้น แอฟริกา เติบโตได้ในที่สูงที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 1000 - 3000 ม.

การเพาะปลูก

[แก้]

ปี่แป่ (E. japonica หรือ Loquat) มีมากกว่า 800 สายพันธุ์ในเอเชีย ได้แก่ พันธุ์ 'Gold Nugget' และ 'Mogi' [10] ปี่แป่เติบโตได้ง่ายในสภาพอากาศกึ่งเขตร้อนถึงอบอุ่น ซึ่งส่วนใหญ่มักปลูกเป็นไม้ประดับโดยเฉพาะดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมและผลไม้ที่อร่อย ใบไม้ที่มีพื้นผิวอย่างหนาช่วยเพิ่มรูปลักษณ์แบบพืชเขตร้อนให้กับสวน

จีน และญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตหลักของ ผลปี่แป่ ตามด้วยอิสราเอลและบราซิล[11] และสเปนในยุโรป[12]

ในสภาพอากาศหนาวเย็นจะปลูกเป็นไม้ประดับเท่านั้น เนื่องจากผลไม้จะไม่สุกจนอยู่ในสภาพที่กินได้[13][14]

ในสหรัฐอเมริกา ต้นปี่แป่จะออกดอกเฉพาะในช่วงที่อุณหภูมิในฤดูหนาวไม่ต่ำกว่า 30 ° F (−1 ° C) ในพื้นที่ดังกล่าวต้นไม้จะออกดอกในฤดูใบไม้ร่วงและผลไม้จะสุกในช่วงปลายฤดูหนาว เป็นที่นิยมในภาคตะวันออกและภาคใต้

ในประเทศไทย [6]

การใช้ประโยชน์

[แก้]

ผลมีรสหวานอมเปรี้ยว กินสด ทำแยมหรือเยลลี่ เมล็ดมีรสชาติคล้ายอัลมอนด์ น้ำคั้นจากผลใช้ทำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ในแอฟริกาตะวันออกใช้เนื้อไม้ทำเครื่องดนตรี

ใบมีแทนนิน รสฝาด ใช้แก้อาการท้องเสียและเป็นยาระบาย ผลมีเพกติน มีโพแทสเซียมสูงแต่มีวิตามินซีต่ำ ในตำรายาจีนเรียกผีผาเย่ (ภาษาจีนกลาง) หรือปีแปะเฮียะ (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ใบใช้เป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ[15]

คุณค่าทางอาหาร

[แก้]

ปี่แป่ (E. japonica หรือ โลควอท) มีวิตามินเอ ไฟเบอร์ โพแทสเซียมและแมงกานีสสูง มีโซเดียมและไขมันอิ่มตัวต่ำ [16] เมล็ดและใบอ่อนมีพิษ มีไซยาโนจีนิกไกลโคไซด์ที่จะปล่อยไซยาไนด์ออกมาได้เมื่อถูกย่อย แม้จะมปริมาณต่ำและทำให้มีรสขม

ปี่แป่ดิบ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน197 กิโลจูล (47 กิโลแคลอรี)
12.14 gحلو
ใยอาหาร1.7 g
0.2 g
0.43 g
วิตามิน
วิตามินเอ
(10%)
76 μg
ไทอามีน (บี1)
(2%)
0.019 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(2%)
0.024 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(1%)
0.18 มก.
วิตามินบี6
(8%)
0.1 มก.
โฟเลต (บี9)
(4%)
14 μg
วิตามินซี
(1%)
1 มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(2%)
16 มก.
เหล็ก
(2%)
0.28 มก.
แมกนีเซียม
(4%)
13 มก.
แมงกานีส
(7%)
0.148 มก.
ฟอสฟอรัส
(4%)
27 มก.
โพแทสเซียม
(6%)
266 มก.
โซเดียม
(0%)
1 มก.
สังกะสี
(1%)
0.05 มก.

ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA FoodData Central


อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Plant List: A Working List of All Plant Species". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 13 April 2014.
  2. Lindley, John (1821). "Eriobotrya japonica". Transactions of the Linnean Society of London. 13 (1): 102. https://www.biodiversitylibrary.org/page/754832#page/116/mode/1up
  3. Thunberg, Carl Peter. (1780). Nova Acta Regiae Societatis Scientiarum Upsaliensis 3: 208, Mespilus japonica
  4. Ascherson, Paul Friedrich August & Schweinfurth, Georg August. (1887). Illustration de la Flore d'Égypte 73, Photinia japonica
  5. Davidse, G., M. Sousa Sánchez, S. Knapp & F. Chiang Cabrera. (2014). Saururaceae a Zygophyllaceae. 2(3): ined. In G. Davidse, M. Sousa Sánchez, S. Knapp & F. Chiang Cabrera (eds.) Flora Mesoamericana. Universidad Nacional Autónoma de México, México D.F..
  6. 6.0 6.1 ThaiGreenAgro “ปีแป๋” ปลูกได้และให้ผลผลิตในเมืองไทย[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2563.
  7. http://www.theplantlist.org/tpl/record/tro-27801732
  8. https://en.wikipedia.org/wiki/Nin_Jiom_Pei_Pa_Koa
  9. http://www.plantsoftheworldonline.org/taxon/urn:lsid:ipni.org:names:724793-1
  10. Staub, Jack (2008). 75 Remarkable Fruits For Your Garden. Gibbs Smith. p. 133. ISBN 978-1-4236-0881-3
  11. "LOQUAT Fruit Facts". Crfg.org. Retrieved 19 July 2018. http://www.crfg.org/pubs/ff/loquat.html เก็บถาวร 2012-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  12. "Agroalimentación. El cultivo del Níspero". canales.hoy.es. Retrieved 19 July 2018. http://canales.hoy.es/canalagro/datos/frutas/frutas_tradicionales/nisperos.htm
  13. "RHS Plant Selector Eriobotrya japonica (F) AGM / RHS Gardening". Apps.rhs.org.uk. Retrieved 8 June 2020. https://www.rhs.org.uk/Plants/6735/Eriobotrya-japonica-(F)/Details
  14. "AGM Plants – Ornamental" (PDF). Royal Horticultural Society. July 2017. p. 36. Retrieved 17 February 2018.
  15. ภาสกิจ วัณณาวิบูล. รู้เลือกรู้ใช้ 100 ยาจีน. กทม. ทองเกษม. 2555
  16. Wolfram Alpha entry
  • พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2: ไม้ผลและไม้ผลเคี้ยวมัน. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 221 - 222