ปีแยร์ บัลแม็ง
ปีแยร์ บัลแม็ง | |
---|---|
เกิด | 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1914 แซงต์-ฌอง-เดอ-มัวเรียน, จังหวัดซาวัว, ฝรั่งเศส |
เสียชีวิต | 29 มิถุนายน ค.ศ. 1982 ปารีส, ฝรั่งเศส | (68 ปี)
อาชีพ | ดีไซเนอร์ |
มีชื่อเสียงจาก | ผู้ก่อตั้งบัลแม็ง |
Notable credit | Neiman Marcus Fashion Award, 1955; เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์, 1962; เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร, 1963; Drama Desk Award for Outstanding Costume Design winner[1] |
ปีแยร์ บัลแม็ง (ฝรั่งเศส: Pierre Alexandre Claudius Balmain, 18 พฤษภาคม 1914 – 29 มิถุนายน 1982) เป็นดีไซเนอร์ชื่อดังชาวฝรั่งเศสและผู้ก่อตั้ง "บัลแม็ง" แบรนด์แฟชั่นชั้นนำระดับโลกในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นที่รู้จักในด้านความสง่างามและความซับซ้อนของงานออกแบบ เขาเปรียบเทียบศิลปะการตัดเย็บเสื้อผ้าเสมือนเป็น 'สถาปัตยกรรมแห่งการเคลื่อนไหว'[2]
ชีวิตวัยเด็ก
[แก้]บิดาของบัลแม็งซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจขายส่งผ้าม่านเสียชีวิตขณะที่เขาอายุเพียง 7 ขวบ ฟรองซัวส์มารดาของเขาร่วมกับพี่สาวน้องสาวของเธอเปิดร้านบูติกเสื้อผ้าชื่อ กาเลรี ปารีเซียง[1] เขาเข้าเรียนที่ช็องเบรี และเมื่อมีโอกาสไปพักผ่อนกับลุงที่อ็อกซ์-เล-แบนส์ ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เขาได้พบกับสุภาพสตรีชั้นสูงหลายท่าน ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้เขาหลงใหลในความสง่างามและความประณีตของแฟชั่นชั้นสูง[1]
บัลแม็งเริ่มต้นเส้นทางการศึกษาในสาขาสถาปัตยกรรม ณ โรงเรียนวิจิตรศิลป์แห่งชาติ (École des Beaux-Arts) ในปี 1933 พร้อมกันนี้ยังทำงานฟรีแลนซ์ด้านการออกแบบให้กับนักออกแบบชื่อดังอย่างโรแบร์ พิเกต์ ไปด้วย
อาชีพ
[แก้]หลังจากเยี่ยมชมสตูดิโอของเอ็ดเวิร์ด มอลินูซ์ ในปี 1934 บัลแม็งได้รับข้อเสนองาน ทำให้เขาตัดสินใจหยุดเรียนและเข้าทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับมอลินูซ์ต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี[3] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปีแยร์ บัลแม็งได้เข้าทำงานกับลูเซียน เลอลง ซึ่งเป็นที่ที่เขาได้พบกับคริสตีย็อง ดียอร์ ดีไซเนอร์หนุ่มดาวรุ่ง[2][3]
เสียชีวิต
[แก้]ปีแยร์ บัลแม็ง เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับที่โรงพยาบาลอเมริกันในปารีส ขณะอายุ 68 ปี หลังจากเพิ่งวาดภาพร่างคอลเล็กชั่นฤดูใบไม้ร่วงเสร็จสิ้น[4]
แบรนด์บัลแม็ง
[แก้]แบรนด์บัลแม็งเปิดตัวในปี ค.ศ. 1945[3] แบรนด์บัลแม็งโดดเด่นในช่วงแรกด้วยกระโปรงทรงระฆังยาวเอวคอด ซึ่งเป็นสไตล์ที่ได้รับความนิยมหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมีดีไซเนอร์ชื่อดังอย่างดียอร์เป็นผู้ริเริ่มแนวคิด "New Look" ในปี 1947[3] คอลเล็กชั่นแรกของบัลแม็งเปิดตัวในนิตยสารโว้ก ฉบับเดือนพฤศจิกายน และได้รับคำชมจากนักวิจารณ์ว่า เสื้อผ้าของแบรนด์นั้น "สวยงามและน่าอยากใส่"
บัลแม็ง มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่ยอมรับในวงการแฟชั่นระดับโลก จนได้รับเลือกให้เป็นผู้ออกแบบฉลองพระองค์ให้กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 1960[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 staff. "Voguepedia:Pierre Balmain". Vogue. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2014. สืบค้นเมื่อ 27 July 2014.
- ↑ 2.0 2.1 "Balmain". Elle. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2011. สืบค้นเมื่อ 26 March 2011.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "Balmain Biography". stylesequel.com. Style Sequel. สืบค้นเมื่อ 27 July 2014.
- ↑ Morris, Bernadine (30 June 1982). "PIERRE BALMAIN IS DEAD AT 68; DESIGNER OF WOMEN'S CLOTHES". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 30 September 2017.
- ↑ Seaman, Margo; Rhodes, Nelly. "Balman, Pierre". fashionencyclopedia.com. Fashion Encyclopaedia. สืบค้นเมื่อ 27 July 2014.