ข้ามไปเนื้อหา

ปีเยิร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปีเยิร์ก
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดปีเยิร์ก กืดมึนด์สตอตตีร์
เกิด21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 (59 ปี)
ที่เกิดเรคยาวิก ไอซ์แลนด์
แนวเพลงอินเทลลิเจนท์แด๊นซ์มิวสิก
อัลเทอร์เนทีฟร็อก[1][2]
อีเลกโทรนิกา
ทริปฮ็อป
อาว็อง-การ์ด[3]
ดนตรีทดลอง[4][5]
ออลเทอร์นาทิฟแดนซ์[6][7]
ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์[7]
ทริปฮอป[8]
แจ๊ส[9]
โพสต์พังก์
อาชีพนักร้อง นักแต่งเพลง นักแสดง โปรดิวเซอร์ดนตรี นักสังคม
เครื่องดนตรีร้องนำ , เปียโน , คียบอร์ด , ขลุ่ย , ฮาบ , แคริเน็ต , ฮาโมนิค
ช่วงปีค.ศ. 1977 — ปัจจุบัน
ค่ายเพลงOne Little Indian Records , Elektra Records , Atlantic Records , Polydor Records , Warner Bros Records, Nonesuch Records , Megaforce Records , Universal Records , RED Distribution

ปีเยิร์ก กืดมึนด์สตอตตีร์ เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1965 รู้จักกันในนาม ปีเยิร์ก (ไอซ์แลนด์: Björk) เป็นนักร้องชาวไอซ์แลนด์ , นักแต่งเพลง , นักดนตรี , โปรดิวเซอร์ และบางครั้งก็เป็นนักแสดง เธอเป็นที่รู้จักจากการเป็นนักร้องนำวงแนว ออลเทอร์นาทิฟ เดอะชูการ์คิวส์ , หลังปล่อยซิงเกิล Birthday ในปี 1987 ซึ่งติดชาร์จเพลงอินดี้ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร[10] และเป็นที่ชื่นชอบในหมู่นักวิจารณ์เพลง[11] ปีเยิร์กเริ่มผลงานเดี่ยวในปี 1993 , อัลบั้มเดี่ยว Debut เป็นผลงานแนวเพลง ดนตรีอิเล็คทรอนิกส์ , เฮาส์ (แนวดนตรี) , แจ๊ส , ทริปฮอป และเป็นหนึ่งในอัลบั้มแรกที่ที่ทำให้แนวเพลงอิเล็คทรอนิกส์อยู่ในกระแสหลัก[12][13] ในการครบรอบสามสิบปีที่ในวงการดนตรีของเธอ , ปีเยิร์กได้พัฒนารูปแบบดนตรีโดยเอาลักษณะของการเต้น , ร็อค , ทริปฮอป , แจ๊ส , ดนตรีคลาสสิก , ดนตรีทดลอง และ อาว็อง-การ์ด[14]

ปีเยิร์กมี 30 ซิงเกิลที่ได้ท็อป 40 ในป็อปชาร์จทั่วโลก ซิงเกิลเพลงของปีเยริ์คติดลำดับ 22 ท็อปใน 40 ฮิตในสหราชอาณาจักร อย่างชาร์จซิงเกิลในสหราชอาณาจักรโดยติดเป็นเวลา 10 สัปดาห์ "It's Oh So Quiet", "Army of Me", และ "Hyperballad"[15] ยิ่งไปกว่านั้น, "Big Time Sensuality", "Hyperballad" และ "I Miss You" ยังติดอันดับในชาร์จเพลงแดนซ์ในอเมริกา ค่ายเพลงปีเยิร์ก One Little Indian รายงานว่าเธอขายไปได้มากกว่า 15 ล้านแผ่นในปี 2003[16] ปัจจุบันยอดขายของปีเยิร์กอยู่ในระหว่าง 20 ถึง 40 ล้านแผ่น[17][18]

ปีเยิร์กได้รางวัล บริตอะวอดส์ สี่ครั้ง , เอ็มทีวี วิดิโอ มิวสิคอะวอดส์สี่ครั้ง , โมโจ อวอร์ดส์หนึ่งครั้ง , ยูเคมิวสิควิดิโออวอร์ดส สามครั้ง , ไอซแลนด์ มิวสิค อวอร์ดส 21 ครั้ง และในปี 2010 , เดอะ โพลาร์ มิวสิค ไพรซ์ จาก รอยัลสวีเดนอาคเดมีออฟซอง บอกลักษณะแนวเพลงของปีเยิร์กว่า เป็นแนวเพลงที่แหวกแนว และการจัดการที่ละเอียด พร้อมโดยเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของเธอ[19][20] เธอยังได้รับเสนอชื่อแกรมมี่อะวอร์ดสถึง 13 ครั้ง นอกจากนี้ยังเสนอชื่อรางวัลออสการ์ 1 ครั้ง และเสนอชื่อสองครั้งใน รางวัลลูกโลกทองคำ เธอเข้าชิงรางวัลนักแสดงหญิงยอดเยี่ยมในเทศกาลภาพยนตร์ 2000 Cannes Flim Festival จากการแสดงของเธอใน จังหวะชีวิต ลิขิตด้วยเพลง (อังกฤษ: Dancer in the Dark)[21] อัลบั้มของเธอในปี 2011 Biophilia เป็นอัลบั้มชุดแรกที่มีการปล่อยลงในแอปพลิเคชันแบบสัมผัสได้และในปี 2014 แอพดังกล่าวยังเป็นแอพแรกๆที่ถูกนำเข้าใน พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ [22]


ผลงาน

[แก้]

ผลงานอัลบั้ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Simpson, Dave (8 January 2015). "Björk, KUKL and Purrkur Pillnikk – the anarcho-punk roots of Iceland's music scene". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 16 April 2015.
  2. Stephen Cook. "The Sugarcubes - Stick Around for Joy". AllMusic. สืบค้นเมื่อ 25 April 2015.
  3. Alex Ross (26 March 2014). "How Björk broke the sound barrier". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 16 April 2015.
  4. Cragg, Michael (26 March 2014). "10 of the best: Björk". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 16 April 2015.
  5. Roberts, Randall (22 January 2015). "Review: On 'Vulnicura,' Bjork is heavy and at her most personal". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 16 April 2015.
  6. Pytlik, Mark (2003). Bjork: Wow and Flutter. ECW Press. p. 197. ISBN 1550225561.
  7. 7.0 7.1 Allen, Liam (28 July 2011). "Bjork on Biophilia and her debt to UK dance music". BBC. สืบค้นเมื่อ 16 April 2015.
  8. Dylan S. "Bjork - Post". SputnikMusic. สืบค้นเมื่อ 25 April 2015.
  9. Joslyn Layne. "Björk / Gudmundar Ingólfsson Trio". AllMusic. สืบค้นเมื่อ 25 April 2015.
  10. The Sugarcubes#Singles
  11. "Pazz & Jop 1988: Critics Poll". Robert Christgau. 28 February 1989. สืบค้นเมื่อ 5 March 2015.
  12. "Debut Turns 20". Stereogum. สืบค้นเมื่อ 23 September 2014.
  13. "Bjork's 'Debut' Turns 20: Backtracking « Music News, Reviews, and Gossip on Idolator.com". สืบค้นเมื่อ 23 September 2014.[ลิงก์เสีย]
  14. Down time: Bjork[ลิงก์เสีย] The Sunday Times[, Robert Sandall, 23 March 2008
  15. Roberts, David. Guinness Book of British Hit Singles & Albums. Guinness World Records Ltd 17th edition (2004), p. 60 ISBN 0-85112-199-3
  16. Inside Björk DVD documentary (2003). Documentary spanning Björk's musical career.
  17. Damaschke, Sabine. "Björk's music as art". DW.de. Deutsche Welle. สืบค้นเมื่อ 25 April 2015.
  18. Assante, Ernesto (21 February 2015). "Canto dopo l'amore". La Repubblica. Gruppo Editoriale L'Espresso Spa. สืบค้นเมื่อ 25 April 2015.
  19. List of awards and nominations received by Björk#Icelandic Music Awards
  20. "Björk". Swedish Royal Academy of Music. สืบค้นเมื่อ 4 January 2011.
  21. "Festival de Cannes: Dancer in the Dark". festival-cannes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-20. สืบค้นเมื่อ 11 October 2009.
  22. Ben Beaumont-Thomas. "Bjork's Biophilia becomes first app in New York's Museum of Modern Art". the Guardian. สืบค้นเมื่อ 23 September 2014.