ปีเตอร์ ดรักเกอร์
ปีเตอร์ ดรักเกอร์ | |
---|---|
เกิด | ปีเตอร์ เฟอร์ดินานด์ ดรักเกอร์ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 คาสกราเบน กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย |
เสียชีวิต | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 (95 ปี) แคลร์มองต์ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ |
สัญชาติ | สหรัฐ |
การศึกษา | สาขากฎหมายระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยแฟรงเฟิร์ต |
อาชีพ | นักเขียน, ศาสตราจารย์ และที่ปรึกษาทางการจัดการ |
คู่สมรส | ดอร์ริส สชมิทซ์ |
ปีเตอร์ เฟอร์ดินานด์ ดรักเกอร์ (อังกฤษ: Peter Ferdinand Drucker) เป็นทั้งนักเขียน ที่ปรึกษาด้านการจัดการ และเป็นผู้บรรยายด้าน "นักนิเวศสังคม"[1] หนังสือของเขาเป็นแนวทางและแหล่งค้นคว้าด้านมนุษย์ที่จัดตั้งธุรกิจ, องค์กร, รัฐบาล และหน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อสังคม[2] งานเขียนของเขาได้ทำนายถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในช่วงปลายศตวรรษที่ยี่สิบ รวมทั้งความเป็นเอกชน และการกระจายอำนาจ, ความรุ่งโรจน์ของญี่ปุ่นที่จะเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในยุคนั้น, ความเห็นทางการตลาดที่สำคัญ ความเร่งด่วนของสังคมข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต[3] ใน ค.ศ. 1959 ดรักเกอร์ได้ให้ความสำคัญต่อ "การเรียนรู้ของคนงาน" และช่วงปลายชีวิต เขาได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึง "ความรู้ด้านการผลิตผลงาน" อันเป็นขอบเขตของความรู้ด้านการจัดการด้วยเช่นกัน โดยแนวคิดต่าง ๆ ของเขายังไม่ล้าสมัยและเป็นประโยชน์ต่อนักธุรกิจมายาวนานหลายทศวรรษ[4]
ชีวประวัติและปรัชญา
[แก้]ปีเตอร์ ดรักเกอร์ เป็นบุตรของทนายความซึ่งมีชื่อว่า อดอล์ฟ และมารดาชื่อ แคโรรีน ดรักเกอร์เกิดที่ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1909 ดรักเกอร์ย้ายไปหางานทำที่ฮัมบวร์คแล้วเริ่มฝึกทำงานที่บริษัทค้าฝ้าย แล้วเป็นนักเขียนข่าวให้กับหนังสือพิมพ์ Der Österreichische Volkswirt (ออสเตรีย อิโคโนมิสต์) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยแฟรงก์เฟิร์ต ผลงานของเขาสร้างความประทับใจต่อโจเซฟซึ่งเป็นเพื่อนของพ่อเขาเอง เกี่ยวกับเรื่องแนวคิดของผู้ประกอบการ[5] ดรักเกอร์ยังมีอิทธิพลต่อแนวคิดที่มีความแตกต่างไปจาก จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ ผู้ซึ่งได้บรรยายที่เคมบริดจ์ เมื่อ ค.ศ. 1934 ว่า "ผมเพิ่งเข้าใจว่านักเรียนเศรษฐศาสตร์ของเคนส์ล้วนปราดเปรื่องในห้องเรียนซึ่งสนใจเกี่ยวกับความนิยมด้านสินค้า" ในขณะที่ดรักเกอร์เขียนเอาไว้ว่า "ผมสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้คน"[6]
ถัดจากนั้นอีก 70 ปี งานเขียนของดรักเกอร์ได้กลายเป็นเครื่องหมายโดยมุ่งเน้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ซึ่งตรงข้ามกับแนวคิดที่มีอยู่ทั่วไป หนังสือของเขาได้สอดแทรกบทเรียนที่เกี่ยวกับเรื่องของการทำอย่างไรองค์กรถึงจะสามารถสร้างคนที่ดีที่สุดขึ้นมาได้ และคนงานจะสามารถตระหนักถึงสภาพชุมชนได้อย่างไร รวมทั้งจะเป็นที่ยอมรับในการจัดตั้งสังคมสมัยใหม่โดยรอบได้อย่างไร[7]
ขณะที่เขายังหนุ่ม ก็ได้เขียนผลงานขึ้นมาสองชิ้น — โดยเล่มหนึ่งกล่าวถึงนักปรัชญาชาวเยอรมันซึ่งมีชื่อว่า เฟดเดอริช จูเลียส สตาห์ล กับเรื่อง "คำถามของชาวยิวในเยอรมัน" (The Jewish Question in Germany) — ซึ่งได้ถูกสั่งเผาและระงับการจัดพิมพ์โดยฝ่ายนาซี[3] ปี ค.ศ. 1993 ได้เดินทางออกจากเยอรมันไปยังอังกฤษ ในกรุงลอนดอน เขาได้ทำงานในบริษัทประกัน หลังจากนั้นเขาได้เป็นผู้นำนักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญในธนาคารอย่างเป็นการส่วนตัว เขายังได้ติดต่อกับ ดอริส ชมิตซ์ ผู้ซึ่งเป็นคนรู้จักจากมหาวิทยาลัยแฟรงก์เฟิร์ตอีกครั้ง ทั้งคู่ได้แต่งงานกันใน ค.ศ. 1934 (ทั้งนี้ รายชื่อในใบรับรองระบุชื่อของเขาว่า ปีเตอร์ จอร์จ ดรักเกอร์ [8]) และสองสามีภรรยาก็ได้ย้ายมาอยู่ที่สหรัฐ โดยเขาได้มาเป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย รวมถึงเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจ (ดรักเกอร์ไม่ยอมรับกับคำว่า "กูรู" ซึ่งคนทั่วไปยอมรับในตัวเขา โดยเขายังกล่าวย้ำอีกด้วยว่า "ผมพูดมาหลายปีแล้ว เราจะใช้คำว่า "กูรู" ก็คงเสมือนกับว่าเราเป็น "นักต้มตุ๋น" จนอาจต้องถูกพาดหัวข่าวที่ยาวมาก") [9]
ในปี ค.ศ. 1943 ดรักเกอร์โอนสัญชาติเป็นพลเมืองสหรัฐ เป็นผู้สอนที่วิทยาลัยเบนนิงตัน ช่วงปี ค.ศ. 1942 ถึง 1949 หลังจากนั้น เขาได้เป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ช่วงปี ค.ศ. 1950 ถึง 1971 ดรักเกอร์เดินทางสู่แคลิฟอร์เนียในปี ค.ศ. 1971 ซึ่งได้พัฒนาหลักสูตรเอ็มบีเอด้านการบริหาร สำหรับฝึกอาชีพที่ มหาวิทยาลัยแคลมอนต์ เกรดูเอท (หลังจากนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ โรงเรียนแคลมอนต์ เกรดูเอท) ช่วงปี ค.ศ. 1971 จนถึงช่วงที่เขาเสียชีวิต เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษด้านสังคมศาสตร์ กับ การจัดการ ที่มหาวิทยาลัยแคลมอนต์ เกรดูเอท และได้ตั้งชื่อมหาวิทยาลัยขึ้นมาว่า "ปีเตอร์ เอฟ. ดรักเกอร์ เกรดูเอทสคูล ออฟ เมเนจเมนท์" (หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนมาเป็นชื่อในที่รู้จักกันว่า "ปีเตอร์ เอฟ. ดรักเกอร์ แอนด์ มาซาโตชิ อิโต้ เกรดูเอทสคูล ออฟ เมเนจเมนท์") เพื่อเป็นการให้เกียรติ เมื่อปี ค.ศ. 1987 เขาสอนในชั้นเรียนครั้งสุดท้ายเมื่อปีค.ศ. 2002 ในขณะที่มีอายุได้ 92 ปี
การทำงาน
[แก้]อาชีพของเขาในฐานะนักคิดทางธุรกิจได้หยุดพักลงในค.ศ. 1942 เมื่อช่วงที่เขาได้เริ่มงานเขียนด้านสังคมและการเมืองซึ่งทำให้เขามีส่วนร่วมในการทำงานภายใน เจนเนอรัล มอเตอร์ (GM) ซึ่งเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของโลกในสมัยนั้น จากประสบการณ์ในยุโรปได้สร้างความตะลึงใจต่อผู้บริหาร เขาได้แบ่งความประทับใจนี้ต่อโดนัลด์สัน บราวด์ ซึ่งอยู่เบื้องหลังการบริหารควบคุมของจีเอ็ม ในค.ศ. 1943 เขาได้รับการเชื้อเชิญจากบราวน์ให้เขาร่วมปฏิบัติการที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็น "การตรวจสอบทางการเมือง": การวิเคราะห์ทางสังคมศาสตร์สองปีของบริษัท ดรักเกอร์ได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการกระประชุมทุกครั้ง, สัมภาษณ์ลูกจ้าง และวิเคราะห์ถึงการผลิตตลอดจนมีส่วนในการสินใจผลิตเชิงปฏิบัติ
หนังสือเกี่ยวกับผลลัพธ์ คอนเซ็ปท์ ออฟ เดอะ คอร์ปอเรชั่น ก็ยังเป็นที่นิยมในองค์กรจีเอ็มนี้ด้วย ซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างหลายส่วนและนำมาซึ่งหลายหัวข้อ, การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำงาน และหนังสือเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามทางจีเอ็มรู้สึกตื่นเต้นอย่างมากกับสินค้าตัวสุดท้าย ดรักเกอร์ให้นึกถึงยักษ์ผู้มีอำนาจที่ต้องการนโยบายบนตำแหน่งสร้างความสัมพันธ์ต่อลูกค้า, ความสัมพันธ์ของผู้กระจายหน้าที่, ความสัมพันธ์ต่อลูกจ้าง และอื่น ๆ ภายในบริษัท ดรักเกอร์ได้เสนอแนะถึงสิ่งที่มากกว่าการพิจารณา ประธานจีเอ็มคนสำคัญ อัลเฟรด สโลน รู้สึกสับสนกับหนังสือ "จะเป็นการปฏิบัติอย่างง่าย ๆ ถ้ามันไม่มีอยู่" โดยดรักเกอร์ได้เรียกในภายหลังว่า "ไม่เคยกล่าวถึงมันและไม่เคยมีการรับรองการได้กล่าวถึงในทัศนะของเขา"[10]
ดรักเกอร์ได้สอนคณะผู้บริหารว่าเป็น "ศิลปะแห่งเสรีนิยม" และเขาได้ทำให้รู้สึกว่าข้อมูลการจัดการของเขาเกิดจากการบูรณาการบทเรียนจากประวัติศาสตร์, สังคมวิทยา, จิตวิทยา, ปรัชญา, ศาสนาและวัฒนธรรม เข้าไว้ด้วยกัน[11] เขายังเชื่ออีกด้วยว่าความแข็งแกร่งนั้นมาจากทุกส่วนของสถาบัน อันประกอบด้วย ภาคเอกชน, มีความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งหมด "ความจริงคือ," ดรักเกอร์ได้เขียนไว้ในปี ค.ศ. 1973 การจัดการ: ถือเป็นศาสตร์ที่ต้องใช้ความพยายามอย่างหนัก, มีความรับผิดชอบ, และต้องฝึกฝน, "ซึ่งในสังคมสมัยใหม่นั้นจะไม่มีกลุ่มผู้นำอื่นเว้นแต่ผู้จัดการ ถ้าผู้จัดการสถาบันหลักและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจ ไม่สามารถทำหน้าที่โดยรวมให้ดีได้ ก็จะไม่มีใครสามารถที่จะทำให้ดีได้อีกเลย"[12]
ดรักเกอร์สนใจในผลของการเติบโตของผู้คนซึ่งทำงานด้วยใจมากกว่าการทำงานด้วยมือ เขาได้ก่อให้เกิดความสนใจโดยชี้ประเด็นถึงลูกจ้างบางคนผู้ซึ่งรู้เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ที่แน่นอนมากกว่าเจ้านายของพวกเขาหรือผู้ร่วมงาน และยังได้ร่วมมือกับองค์กรขนาดใหญ่อื่น ๆ ด้วย ถ้าจะกล่าวให้เข้าใจอย่างง่าย ๆ ก็คือเป็นการยกย่องถึงความก้าวหน้าของมนุษย์เรานั่นเอง ดรักเกอร์ได้วิเคราะห์และอธิบายถึงการทำอย่างไรจึงจะเกิดการเปลี่ยนความคิดร่วมกันเกี่ยวกับการขับเคลื่อนองค์กรได้
งานเขียนของเขาได้เข้าถึงมากยิ่งขึ้นในโลกธุรกิจที่กำลังเติบโตในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ยี่สิบ โดยในเวลานั้น บริษัทขนาดใหญ่ได้พัฒนาประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมการผลิตขั้นพื้นฐานกับกระบวนการการจัดการของผลิตผลมวลชน ผู้บริหารหลายรายได้สอนให้คนงานของพวกเขาได้รู้ถึงการขับเคลื่อนในบริษัท และดรักเกอร์ได้นำมันมาอยู่บนความเชื่อของพวกเขาเหล่านั้น ด้วยเกรงว่าองค์กรจะล้าสมัย แต่เขาก็ยังแสดงความเห็นใจ เขาได้คาดว่าผู้อ่านของเขาคงจะเป็นผู้ฉลาด, มีเหตุผล, ทำงานหนักและเข้ากับคนได้ ถ้าองค์กรมีความพยายาม เขาเชื่อว่ามันคงเป็นเรื่องปกติเพราะเป็นแนวคิดที่อาจล้าสมัย, ทั้งความคิดแคบ ๆ เกี่ยวกับปัญหา หรือความขัดแย้งภายใน
กระทั่งเขาได้เป็นผู้ให้คำปรึกษา ดรักเกอร์ได้ทำงานกับหลาย ๆ บริษัท ซึ่งได้แก่ เจนเนอรอล อิเล็คทริก, โคคา-โคล่า, ซิตี้คอร์ป, ไอบีเอ็ม และอินเทล เขาได้ให้คำปรึกษาแก่ผู้นำธุรกิจที่เรารู้จักกันดี ตั้งแต่ แจ็ค เวลช์ จากจีอี, เอ.จี.แลฟลี่ย์ จาก พรอกเตอร์แอนด์แกมเบิล, แอนดี้ กรูฟ จากอินเทล, จอห์น เบกแมน จากเอ็ดเวิร์ด โจนส์, โชอิจิโร่ โทโยดะ ประธานผู้ทรงเกียรติแห่งโตโยต้า มอเตอร์ กับมาซาโตชิ อิโต้ ประธานผู้ทรงเกียรติแห่ง อิโต้-โยคาโด้ กรุ๊ป ซึ่งเป็นองค์กรขายตรงที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลก[13] แม้ว่าเขาจะได้ช่วยสร้างคความสำเร็จให้กับผู้บริหารองค์กร เขาได้ทำให้เกิดความกลัวเมื่อ อันดับฟอร์จูน 500 ซีอีโอ ได้ทำให้ค่าเฉลี่ยคนงานเกิดภาวะลอยตัวซึ่งมีอัตราเกินกว่า 100 ช่วงเวลา เขาได้ให้เหตุผลในปี 1984 โดยพยายามระบุว่าการชดเชยควรจะลดอัตราลงให้เหลือไม่เกิน 20 ช่วงเวลา โดยการจัดลำดับและการทำแฟ้มบันทึก — โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่ลูกจ้างได้ถูกเลิกจ้างงานนับพันคน "มันคือสิ่งที่ไม่อาจยกโทษให้ทั้งทางศีลธรรมและทางสังคม," ดรักเกอร์ได้เขียนเอาไว้ "และเราจะชดใช้อย่างหนักสำหรับมัน"[3]
ดรักเกอร์ได้ให้คำปรึกษาสำหรับตัวแทนรัฐบาลหลายแห่งทั้งจากสหรัฐ, แคนาดา และญี่ปุ่น เขาได้ทำงานในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรและได้ช่วยให้องค์กรเหล่านั้นประสบผลสำเร็จ บ่อยครั้งที่ให้คำปรึกษาระดับอาชีพ ท่ามกลางหน่วยกลุ่มสังคม เขายังได้พิจารณาถึงองค์กรที่มีชื่อว่า Salvation Army, the Girl Scouts of the USA, C.A.R.E., กาชาดอเมริกัน, และ Navajo Nation (ซึ่งเป็นคณะกรรมการของชนเผ่าอินเดียนแดง) ด้วยเช่นกัน[14]
โดยแท้จริงแล้ว ดรักเกอร์ ได้คาดการณ์ล่วงหน้าถึงการเติบโตของหน่วยสังคมในสหรัฐ ซึ่งดำเนินต่อไป ด้วยการอาสาโดยไม่หวังผลกำไร ประชาชนต่างค้นหาถึงการบรรลุเป้าหมาย ซึ่งเขาเป็นต้นตำรับในการคิดโดยมีเงื่อนไขว่าต้องมีการวางตำแหน่งในงานของพวกเขา แต่นั่นก็เป็นการยากที่จะหาแหล่งทดสอบจากสนามแข่งจริง "ความเป็นพลเมือง และการคิดว่าหน่วยสังคมจะไม่สามารถรักษาความผิดปกติที่มีอยู่ได้ทุกอาการ ทั้งงที่มีอยู่ในเบื้องหลังของนายทุน กับเบื้องหลังของการปกครอง แต่บางทีสิ่งที่ต้องมาก่อนการแก้ปัญหากลับผิดปกติไปด้วย" ดรักเกอร์เขียนเอาไว้ "มันได้ช่วยฟื้นฟูหน้าที่ความรับผิดชอบที่มีอยู่ในตัวเมือง ซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพลเมือง กับความภาคภูมิใจที่เป็นเครื่องหมายแห่งสังคม"[15]
งานเขียน
[แก้]ปีเตอร์ ดรักเกอร์ มีงานเขียนที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นจำนวนมาก และได้รับการแปลมาแล้วกว่า 30 ภาษาทั่วโลก โดยมีงานเขียนสองเรื่องเป็นนิยาย และอีกหนึ่งเรื่องเป็นอัตชีวประวัติ นอกจากนี้ มีบทความหลายชิ้นที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในนิตยสารชั้นนำอย่าง ฮาวาร์ด บิสิเนส รีวิว, ดิ แอตแลนติค มันธ์ลี่ และ ดิ อีโคโนมิสต์ ด้วยเช่นกัน และเขายังได้มีส่วนร่วมเป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในช่วงวัยเก้าสิบต่างหากด้วย ดรักเกอร์ดรักเกอร์ถึงแก่กรรม ที่ เคลมอนต์ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 สิริอายุได้ 95 ปี
แนวคิดพื้นฐาน
[แก้]แนวคิดในการบริหารจัดการหลายประการมาจากงานเขียนของดรักเกอร์แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น: การกระจายอำนาจและการทำให้เข้าใจง่าย ดรักเกอร์ได้ลดคำสั่งกับรูปแบบการควบคุม และกล่าวว่าบริษัทที่มีการทำงานที่ดีที่สุดก็ต่อเมื่อมีการกระจายอำนาจ ตามแนวคิดของดรักเกอร์คือ บริษัทมักจะมีแนวโน้มที่จะผลิตสินค้ามากเกินไป รวมทั้งมีการจ้างพนักงานที่ไม่จำเป็น และมักขยายสู่ภาคเศรษฐกิจที่ควรหลีกเลี่ยง[16], ความสงสัยลึกซึ้งของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค ดรักเกอร์ได้โต้แย้งว่าเศรษฐศาสตร์ที่จัดสอนภายในโรงเรียนทั้งหมดไม่สามารถอธิบายถึงลักษณะสำคัญของเศรษฐกิจสมัยใหม่ได้แต่อย่างใด[17], จากการแสดงความเคารพต่อคนงาน ดรักเกอร์เชื่อว่าพนักงานทั้งหลายต่างเป็นทรัพย์สิน และไม่ได้เป็นหนี้สิน เขาสอนให้รู้ว่าความรู้ของคนงานเป็นส่วนประกอบสำคัญของเศรษฐกิจสมัยใหม่ ใจความสำคัญของแนวปรัชญานี้เป็นมุมมองว่าผู้คนต่างเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์กร และหน้าที่ของผู้จัดการก็คือการเตรียมการและให้ความเป็นเสรีต่อบุคลากรในการดำเนินการ[18]
ความเชื่อในสิ่งที่เขาเรียกว่า "อาการป่วยของรัฐบาล" ดรักเกอร์ไม่ได้มีความลำเอียงต่อรัฐบาล โดยอ้างว่ารัฐบาลอาจไม่สามารถหรือไม่เต็มใจให้บริการใหม่ต่อสิ่งที่ผู้คนมีความจำเป็นหรือต้องการได้ แต่เขาก็เชื่อว่าอาการนี้มิใช่ของรัฐบาลโดยเนื้อแท้ ซึ่งมีอยู่ในบทความ The Sickness of Government (อาการป่วยของรัฐบาล) ในหนังสือ The Age of Discontinuity โดยเป็นพื้นฐานของ New Public Management ซึ่งเป็นทฤษฎีในการรัฐประศาสน์ที่เป็นระเบียบวินัยครอบคลุมในช่วงยุค 1980 กับ 1990 [19], แนวคิดเกี่ยวกับการละทิ้งต่อแผนการ โดยทั้งภาคธุรกิจและรัฐบาลมักมีแนวโน้มที่จะยึดติดกับความสำเร็จในวันวาน มากกว่าที่จะเห็นถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ในระยะยาว[20], ความเชื่อของดรักเกอร์ ว่าการดำเนินการโดยปราศจากความคิด ย่อมเป็นสาเหตุของความล้มเหลวทุกประการ[21]
สิ่งจำเป็นสำหรับชุมชน สำหรับในช่วงแรกเริ่มอาชีพของดรักเกอร์ เขาได้ทำนายถึง "จุดจบของมนุษย์เศรษฐกิจ" และสนับสนุนการสร้าง "ชุมชนโรงงาน" เมื่อบุคคลของสังคมมีความจำเป็นและต้องการที่จะพบเห็น ซึ่งต่อมาภายหลังเขาก็ได้รู้ว่าลักษณะชุมชนโรงงานมิได้มีลักษณะเป็นตัวตน และในช่วงยุค 1980 เขาได้ชี้ให้เห็นว่าในภาคของอาสาสมัครไม่แสวงหาผลกำไรเป็นกุญแจในการช่วยเหลือด้านสุขภาพสังคม ที่ผู้พบเห็นจะบังเกิดความภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน[22]
เขายังให้แนวคิดด้านความจำเป็นในการบริหารธุรกิจ โดยให้ความสำคัญต่อหลายความต้องการและเป้าหมาย มากกว่าการอยู่ใต้คำบังคับบัญชาเพียงอย่างเดียว[23] แนวคิดนี้เป็นการบริหารจัดการที่มีรูปแบบวัตถุประสงค์จากประเด็นสำคัญของเขาในปี ค.ศ. 1954 ซึ่งปรากฏในหนังสือ The Practice of Management (การปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร) [24], ในด้านความรับผิดชอบหลักของบริษัท คือการให้บริการต่อลูกค้า โดยที่กำไรไม่ใช่เป้าหมายหลัก หากแต่เป็นเงื่อนไขสำหรับการดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องของบริษัท[25], องค์กรควรมีวิธีการที่เหมาะสมในการดำเนินการธุรกิจทุกกระบวนการ[26] และมีความเชื่อในแนวคิดที่ว่าบริษัทยอดเยี่ยมควรจะมีอยู่ในการสร้างสรรค์สิ่งที่มีคุณค่าสูงสุดของมนุษย์[27]
รางวัลเกียรติคุณ
[แก้]- 9 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 ได้รับรางวัล Presidential Medal of Freedom จากประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช[27]
- ได้รับเกียรติจากรัฐบาลญี่ปุ่น และออสเตรีย ให้เป็นประธาน มูลนิธิปีเตอร์ เอฟ. ดรักเกอร์ เพื่อการบริหารจัดการโดยไม่แสวงหาผลกำไร
- สถาบัน Leader to Leader Institute ได้มอบรางวัล ผู้มีเกียรติสูงสุดแห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก, ตามคำกล่าวอ้างของประธานแห่ง NYU
- ได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัย 25 แห่งทั่วโลก ทั้งจากสหรัฐ, เบลเยียม, สาธารณรัฐเช็ก, อังกฤษ, สเปน และสวิตเซอร์แลนด์[28][29]
บทวิเคราะห์
[แก้]วอลสตรีทเจอนัล ได้วิเคราะห์ถึงงานบรรยายของเขาหลายรายการในปีค.ศ. 1987 และได้รายงานว่าเขาได้พลาดไปจากความจริงในบางครั้ง ดรักเกอร์ได้ออกจากความน่าจะเป็น ตัวอย่างเช่น เมื่อเขาพูดให้กับผู้เข้ารับฟังคำบรรยายให้กับเจ้าหน้าที่กลุ่มบริษัทมิตสึอิที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษ (คำให้การของดรักเกอร์: "ผมใช้เรื่องราวเพื่อสร้างประเด็น ไม่ใช่เพื่อเขียนประวัติศาสตร์) และขณะที่เขาเริ่มรู้ล่วงหน้า เขาก็ไม่ค่อยได้ทำนายออกมาอย่างถูกต้องเท่าใดนัก โดยเขาได้คาดการณ์ แล้วยกตัวอย่าง ถึงด้านศูนย์กลางการเงินของประเทศว่าจะเคลื่อนย้ายจากนิวยอร์กมายังวอชิงตัน[30]
การรักษาใจความสำคัญของดรักเกอร์—“การบริหารจัดการโดยอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง”—คือข้อบกพร่องและไม่เคยทดสอบถึงประสิทธิผลที่แท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักวิจารณ์กล่าวว่าระบบนั้นยากแก่การทำให้เกิดผล และบริษัทเหล่านั้นได้ควบคุมการเน้นย้ำขึ้นอยู่บ่อย ๆ โดยต่อต้านถึงความคิดสร้างสรรค์แบบเด็ก ๆ ถึงการพบเป้าหมายของพวกเขาเหล่านั้น[31]
ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์
[แก้]- Friedrich Julius Stahl: konservative Staatslehre und geschichtliche Entwicklung (1932)
- The End of Economic Man: The Origins of Totalitarianism (1939) [32]
- The Future of Industrial Man (1942)
- Concept of the Corporation (1945) (A study of General Motors)
- The New Society (1950)
- The Practice of Management (1954)
- America's Next 20 Years (1957)
- Landmarks of Tomorrow: A Report on the New 'Post-Modern' World (1959)
- Power and Democracy in America (1961)
- Managing for Results: Economic Tasks and Risk-Taking Decisions (1964)
- The Effective Executive (1966)
- The Age of Discontinuity (1968)
- Technology, Management and Society (1970)
- Men, Ideas and Politics (1971)
- Management: Tasks, Responsibilities and Practices (1973)
- "Managing Oneself" (1999)
- The Unseen Revolution: How Pension Fund Socialism Came to America (1976)
- An Introductory View of Management (1977)
- Adventures of a Bystander (1979) (อัตชีวประวัติ)
- Song of the Brush: Japanese Paintings from the Sanso Collection (1979)
- Managing in Turbulent Times (1980)
- Toward the Next Economics and Other Essays (1981)
- The Changing World of the Executive (1982)
- The Last of All Possible Worlds (1982)
- The Temptation to Do Good (1984)
- Innovation and Entrepreneurship: Practice and Principles (1985)
- The Discipline of Innovation, Harvard Business Review, 1985
- The Frontiers of Management (1986)
- The New Realities (1989)
- Managing the Non-Profit Organization: Practices and Principles (1990)
- Managing for the Future: The 1990s and Beyond (1992)
- The Post-Capitalist Society (1993)
- The Ecological Vision: Reflections on the American Condition (1993)
- The Theory of the Business, Harvard Business Review, September-October 1994
- Managing in a Time of Great Change (1995)
- Drucker on Asia: A Dialogue Between Peter Drucker and Isao Nakauchi (1997)
- Peter Drucker on the Profession of Management (1998)
- Management Challenges for the 21st century (1999)
- Managing Oneself, Harvard Business Review, March-April 1999
- The Essential Drucker: The Best of Sixty Years of Peter Drucker's Essential Writings on Management (2001)
- Leading in a Time of Change: What it Will Take to Lead Tomorrow (2001; with Peter Senge)
- The Effective Executive Revised (2002)
- They're Not Employees, They're People, Harvard Business Review, February 2002
- Managing in the Next Society (2002)
- A Functioning Society (2003)
- The Daily Drucker: 366 Days of Insight and Motivation for Getting the Right Things Done (2004)
- What Makes An Effective Executive, Harvard Business Review, June 2004.
- The Effective Executive in Action (2005)
- Classic Drucker (2006)
มรดกสืบทอด
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Drucker, Peter F., “Reflections of a Social Ecologist,” Society, May/June 1992
- ↑ "About Peter Drucker". Drucker Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2008.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "The Man Who Invented Management". BusinessWeek. สืบค้นเมื่อ 2005-11-28.
- ↑ Drucker, Peter F., Concept of the Corporation, Preface to the 1983 edition, p. xvii, (1983).
- ↑ Beatty, Jack, The World According to Peter Drucker, p. 163, (1998)
- ↑ Drucker, Peter F., The Ecological Vision, p. 75-76, (1993).
- ↑ "Drucker Institute - The Drucker Legacy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-23. สืบค้นเมื่อ 2010-03-03.
- ↑ The Drucker Institute Archives, Claremont, California. Box 39, Folder 11
- ↑ “Peter Drucker, the man who changed the world,” Business Review Weekly, 15 September 1997, p. 49.
- ↑ Drucker, Peter F., Adventures of a Bystander, p. 288, (1979)
- ↑ "Drucker Institute - About Peter Drucker - Additional Sources - Other Pieces About Drucker". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-02. สืบค้นเมื่อ 2010-03-06.
- ↑ Drucker, Peter F., Management: Tasks, Responsibilities, Practices, p. 325, (1973)
- ↑ Drucker Institute
- ↑ Drucker, Peter F., Managing the Nonprofit Organization (1994)
- ↑ Drucker, Peter F., Post-Capitalist Society, p. 177, (1993)
- ↑ On replacing command and control by Peter F. Drucker
- ↑ What was peter drucker theory? - WebAnswers.com[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Your Workplace is a Human Community". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-25. สืบค้นเมื่อ 2011-02-03.
- ↑ Educational Governance and the New Public Management
- ↑ Peter F. Drucker: Business Sage
- ↑ "Planning a successful lesson" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-06-12. สืบค้นเมื่อ 2010-02-27.
- ↑ Management Visionary Peter Drucker Dies
- ↑ Peter Drucker – Father of management
- ↑ Management by Objectives - SMART
- ↑ "Peter Drucker Centennial – his wisdom and perspectives". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-19. สืบค้นเมื่อ 2011-02-04.
- ↑ "Applying Peter Drucker's Management Principles". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-16. สืบค้นเมื่อ 2011-02-04.
- ↑ 27.0 27.1 "About Peter F. Drucker". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-02. สืบค้นเมื่อ 2011-02-04.
- ↑ PETER F. DRUCKER AWARDED HONORARY DOCTORATE
- ↑ Thought Leader: Peter Drucker - biography
- ↑ “Peter Drucker, Leading Management Guru, Dies at 95," Bloomberg, Nov. 11, 2005
- ↑ Krueger, Dale, "Strategic Management and Management by Objectives", Small Business Advancement National Center, 1994
- ↑ Google Booksearch Preview
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ปีเตอร์ ดรักเกอร์
- วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ ปีเตอร์ ดรักเกอร์
- ข้อมูลการออกสื่อ บน ซี-สแปน
- Peter-drucker.com เก็บถาวร 2011-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Drucker Institute
- Leader to Leader Institute เก็บถาวร 2010-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Definitive Drucker: Final Advice from the Father of Modern Management
- How Peter Drucker Managed Himself over the Decades
- Thought Leaders Forum: Peter F. Drucker เก็บถาวร 2007-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Business World According to Peter F. Drucker เก็บถาวร 2014-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Peter F. Drucker and Masatoshi Ito Graduate School of Management
- Peter F. Drucker: A Biography in Progress เก็บถาวร 2005-11-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Drucker Workshop (ภาษาญี่ปุ่น)
- Peter F. Drucker, a Pioneer in Social and Management Theory, Is Dead at 95 (The New York Times, November 12, 2005)
- The Man Who Invented Management (BusinessWeek)
- Peter Drucker on Thinkers 50 เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Peter Drucker on managementdenker.com
- Special report on Peter Drucker (The Economist, November 19, 2005)
- The icon-speaks: An interview with Peter Drucker - Interview เก็บถาวร 2007-12-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Career moves for ages 20 to 70
- Peter Drucker's at it Again! What He REALLY Thinks about Libraries and Librarians เก็บถาวร 2008-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Current Commentary on AI and Positive Change: Peter Drucker's Advice for Us on the New Ai Project: Business as an Agent of World Benefit เก็บถาวร 2005-12-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- More links[ลิงก์เสีย]
- WikiPractice regroups by themes extracts of Peter Drucker's books เก็บถาวร 2008-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- "Leader to Leader: Complete Text Articles". Leader to Leader Institute. 23 September 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-04. สืบค้นเมื่อ 2009-12-16.
- Managing Knowledge Means Managing Oneself by Peter F. Drucker เก็บถาวร 2007-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The New Pluralism by Peter F. Drucker เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Civilizing the City by Peter F. Drucker เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Shape of Things to Come: An Interview with Peter F. Drucker by Peter F. Drucker เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Drucker, P. F. 2006. "What Executives Should Remember". Harvard Business Review, 84 (2) : 144 ? 152.
- Drucker Archives เก็บถาวร 2008-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน in the Claremont Colleges Digital Library
- Drucker Society - First Global Peter Drucker Forum (Vienna) - November 19-20th 2009