ข้ามไปเนื้อหา

ปิแอร์ ฟรานเชสโค มัซซุคเคลลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปิแอร์ ฟรานเชสโค มัซซุคเคลลี

ปิแอร์ ฟรานเชสโค มัซซุคเคลลี หรือ อิลโมรัซโซเน (อังกฤษ: Pier Francesco Mazzucchelli(ออกเสียง), หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า อิตาลี: il Morazzone) (ค.ศ. 1573 - ค.ศ. 1626[1]) เป็นจิตรกรและประติมากรชาวอิตาลีของยุคบาโรกตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 17 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการสร้างศิลปะคริสต์ศาสนา

ประวัติ

[แก้]

มัซซุคเคลลีผู้เกิดที่โมรัซโซเนไม่ไกลจากเวเรเซในลอมบาร์ดีในประเทศอิตาลีเป็นบุตรของช่างหิน เมื่อไม่นานหลังจากที่เกิดมัซซุคเคลลีก็ถูกย้ายไปอยู่ที่กรุงโรม ในโรมมัซซุคเคลลีได้รับอิทธิพลจากเวนทูรา ซาลิมเบนี และ จูเซปเป เซซารี และเริ่มสร้างงานศิลปะแนวแมนเนอริสม์ มัซซุคเคลลีเขียนจิตรกรรมบนผ้าใบและจิตรกรรมฝาผนังชิ้นแรก “การชื่นชมของแมไจ” และ “การเยือนเอลิซาเบธ” ที่วัดซานซิลเวสโตรคาปิเตในปี ค.ศ. 1596

มัซซุคเคลลีกลับมายังมิลานในปี ค.ศ. 1597 ในลอมบาร์ดีมัซซุคเคลลีเขียนจิตรกรรมฝาผนังภายในชาเปลโรซาริโอในวัดซานวิตโตเรที่เวเรเซในปี ค.ศ. 1599 และสร้างงานศิลปะสื่อผสมที่ภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งพีดมอนต์และลอมบาร์ดี เริ่มด้วยการตกแต่งชาเปล “การเดินขึ้นคาวารี” (ค.ศ. 1602-ค.ศ. 1606) ที่ภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งวาราลโล ที่มัซซุคเคลลีได้รับอิทธิพลจากโกเดนซิโอ เฟอร์รารี และเริ่มพัฒนางานที่เพิ่มความเป็นนาฏกรรมมากขึ้น ระหว่างปี ค.ศ. 1608 ถึงปี ค.ศ. 1609 มัซซุคเคลลีก็สร้างงานภายในชาเปล “พระเยซูถูกเฆี่ยน” ที่ภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งวาเรเซเสร็จ ก่อนที่จะกลับมายังวาราลโลเพื่อสร้างชาเปล “พระเยซูปางทรมาน” (Ecce Homo) (ค.ศ. 1610-ค.ศ. 1613) และชาเปลสุดท้ายของชุด “Porziuncola” (ค.ศ. 1616-ค.ศ. 1620) ที่ภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งออร์ตา งานจิตรกรรมฝาผนังอื่นที่เขียนก็ได้แก่ “Cappella della Buona Morte” (ชาเปลมรณะวิจิตร) ที่ซานโกเดนซิโอที่โนวารา และภาพประกาศกภายในมหาวิหารปิอาเชนซา ที่มาเขียนต่อจนเสร็จโดยจิตรกรโบโลนยาเกอร์ชิโนหลังจากที่มัซซุคเคลลีเสียชีวิตไปแล้ว

นอกจากนั้นแล้วมัซซุคเคลลีก็ยังสร้างฉากแท่นบูชาสำหรับคริสต์ศาสนสถานอีกหลายแห่งและภาพเขียนบนผ้าใบสำหรับงานสะสมส่วนบุคคล มัซซุคเคลลีร่วมสร้างงานกับจูลีโอ เชซาเร โพรคาชินี และ จิโอวานนี บาติสตา เครสพีในการเขียน “ภาพชุดนักบุญคาร์โล โบร์โรเมโอ” (Quadroni di San Carlo) ให้แก่มหาวิหารมิลาน ในบรรดาลูกศิษย์และผู้ได้รับอิทธิพลของมัซซุคเคลลีก็ได้แก่ฟรานเชสโค คาอิโร, จิโอวานนี สเตฟาโน ดาเนดี และ โจเซฟโฟ ดาเนดี, อิซิโดโร บิอังคิ, จิโอวานนี เพาโล เรชชิ และ จิโอวานนี บัตติสตา เรชชิ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Herbermann, Charles, บ.ก. (1913). "Pietro Francesco Mazzuchelli" . สารานุกรมคาทอลิก. New York: Robert Appleton Company.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ปิแอร์ ฟรานเชสโค มัซซุคเคลลี

ระเบียงภาพ

[แก้]