ปิซังกะแต
ปิซังกะแต | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Monocots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Commelinids |
อันดับ: | Zingiberales |
วงศ์: | Musaceae |
สกุล: | Musa |
สปีชีส์: | M. gracilis |
ชื่อทวินาม | |
Musa gracilis Holttum[1] |
ปิซังกะแต[2] หรือ กล้วยม่วง[3] เป็นกล้วยป่าในสกุล Musa มีถิ่นกำเนิดในมาเลเซียตะวันตก[1] แถบรัฐตรังกานู จอร์โฮ และมัลลัคคา ในไทยพบตามชายแดนไทย-มาเลเซีย[3] ปิซังกะแตมีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือ ปีซังเวก ปีซังโอนิก[2] และกล้วยศรีนรา[4]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]ปิซังกะแตเป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5-2 ม. มีเหง้าแตกหน่อได้ ลำต้นเทียมเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-10 ซม. มีปื้นสีม่วงทั่วไป ใบรูปใบหอก กว้าง 25-35 ซม. ยาว 90–150 ซม. ก้านใบยาว 30-70 ซม. ขอบใบเรียบ เส้นแขนงใบขนานกันตามขวาง แผ่นใบด้านล่างมีนวล เส้นกลางใบเป็นร่อง ดอกออกเป็นช่อหรือเรียกว่าหัวปลี ออกที่ปลายลำต้น ช่อตั้งตรง สูงได้ประมาณ 1 ม. มีขนหนาแน่น ใบกระดับรูปขอบขนาน สีม่วงอมชมพู ติดทน ยาวได้ประมาณ 15 ซม. ช่อดอกย่อยมีดอกย่อยเรียงเป็นแถว ดอกแพศเมียออกตามใบประดับที่โคนช่อ เรียงเป็นกระจุก 3-8 แถว แถวละ 2-4 ดอก ดอกเพศผู้ออกที่ใบประดับตอนปลายช่อ กลีบรวมเป็นหลอดติดกัน แยกถึงโคนด้านหนึ่ง ปลายเป็น 5 แฉก ตื้นๆ เกสรเพศผู้ 5 อัน ก้านเกสรสั้น อับเรณูรูปแถบ สีส้ม ผลตรง สีเขียว ยาวได้ประมาณ 10 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 ซม. มี 3-4 เหลี่ยม โคนและปลายมน ก้านผลยาว 1-2 ซม. ผลอ่อนมีขนกระจาย เมล็ดกลมหรือแบนรี[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Musa gracilis", World Checklist of Selected Plant Families, Royal Botanic Gardens, Kew, สืบค้นเมื่อ 2013-01-18[ลิงก์เสีย]
- ↑ 2.0 2.1 เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
- ↑ 3.0 3.1 3.2 กล้วยม่วง เก็บถาวร 2014-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สารานุกรมพืชในประเทศไทย สำนักงานหอพรรณไม้
- ↑ กล้วยศรีนรา[ลิงก์เสีย] ศูนย์รวมสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)