ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศอัฟกานิสถาน
ก่อนเกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ป่าไม้ใบหญ้าถูกทำลายเนื่องจากการเล็มหญ้าและการทำฟาร์มมานานหลายศตวรรษ ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามการขยายตัวของจำนวนประชากร ในอัฟกานิสถาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความกังวลทางเศรษฐกิจไม่ได้ขัดแย้งกัน โดยกว่า 44% ของประชากรมีอาชีพหลักคือการเลี้ยงสัตว์ และการทำฟาร์ม[1] สวัสดิภาพของสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสวัสดิภาพทางเศรษฐกิจของประชาชน ในปี พ.ศ. 2550 องค์การอนามัยโลกเผยแพร่รายงานที่จัดอันดับให้อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจากอันตรายที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดในบรรดาประเทศทั่วโลก[2]
การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
[แก้]การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในอัฟกานิสถาน อุณหภูมิในประเทศเพิ่มขึ้น 1.8°C ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 ทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้างต่อประเทศอัฟกานิสถาน จนกระทั่งเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ (เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ) จนเกิดความขัดแย้ง เพราะการพึ่งพาการเกษตรที่มากเกินไป ทำให้เกิดความยากลำบากต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง
ประกอบกับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นไม่บ่อยมากนัก ภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ เช่น น้ำท่วม น้ำท่วมฉับพลัน หิมะถล่ม และหิมะตกหนักโดยเฉลี่ยส่งผลกระทบต่อผู้คน 200,000 คนทุกปี ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต ความเป็นอยู่ และทรัพย์สินจำนวนมหาศาล[3]
แม้ว่าประเทศนี้จะมีส่วนที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนเพียงเล็กน้อยในเรื่องการปล่อยแก๊สเรือนกระจก แต่ภัยแล้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศนั้น กลับส่งผลกระทบต่ออัฟกานิสถานเป็นอย่างมาก
เนื่องจากปัจจัยทางการเมือง ภูมิศาสตร์ และสังคมที่รวมกัน อัฟกานิสถานจึงเป็นหนึ่งในประเทศที่เปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศมากที่สุดในโลก[4]
การตัดไม้ทำลายป่า
[แก้]การตัดหรือโค่นต้นไม้เป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศอัฟกานิสถาน[5][6] เนื่องจากป่าไม้ในอัฟกานิสถานมีเพียงประมาณ 2.1% (หรือ 1,350,000 เฮกตาร์) ของพื้นที่ทั้งประเทศอัฟกานิสถานเท่านั้นที่เป็นป่า (ตามรายงานในปี พ.ศ. 2553)[7] อย่างไรก็ตามในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเริ่มมีการปลูกต้นไม้ในเขตเมืองทั่วประเทศอัฟกานิสถานมากขึ้น[8][9][10][11] แม้แต่ผู้นำทางจิตวิญญาณของกลุ่มตอลิบานก็สนับสนุนให้ปลูกต้นไม้เพิ่ม[12][13] อัฟกานิสถานมีดัชนีความสมบูรณ์ของภูมิทัศน์ป่าไม้ 8.85/10 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 15 ของโลกจาก 172 ประเทศ[14]
ในอดีตชาวอัฟกันมีการพึ่งพาป่าไม้ในการใช้เป็นฟืน และรายได้ที่เกิดจากการส่งออกถั่วพิสตาชิโอและอัลมอนด์ ซึ่งเติบโตในป่าตามธรรมชาติในภาคกลางและภาคเหนือของประเทศ ซึ่งต่อมาในจังหวัดบาดกิส และ จังหวัดตาคาร์ สูญเสียพื้นที่ป่าพิสตาชิโอไปมากกว่า 50% จากกลุ่มพันธมิตรอย่าง Northern Alliance ที่ทำการถางป่าออกเนื่องจากอาจเป็นที่หลบซ่อนสำหรับการซุ่มโจมตีจากกลุ่มตาลีบัน นอกจากนี้ยังมีการใช้พื้นที่ป่าเป็นทุ่งสำหรับการเลี้ยงสัตว์และการเก็บถั่วเพื่อการส่งออก ดูเหมือนจะทำให้ต้นไม้ในป่าแห่งนี้เติบโตใหม่ได้ยากยิ่งขึ้น[15]
อัฟกานิสถานสูญเสียพื้นที่ป่าไปเกือบครึ่ง[16][17][18] ในป่าทึบทางตะวันออกของ จังหวัดนันการ์ฮาร์, จังหวัดโกนาร์, จังหวัดนูเรสถาน และจังหวัดอื่น ๆ จากการเก็บเกี่ยวไม้โดยพวกมาเฟียค้าไม้ แม้ว่าการตัดไม้จะผิดกฎหมาย แต่ผลกำไรจากการส่งออกไม้ไปยังปากีสถานที่อยู่ใกล้เคียงนั้นสูงมาก[19][20] เหตุผลก็คือรัฐบาลปากีสถานมีการปกป้องป่าไม้อย่างแน่นหนา พวกมาเฟียค้าไม้จึงย้ายไปทำการตัดต้นไม้ในอัฟกานิสถานแทน ท่อนซุงนี้ไม่เพียงแต่จะถูกส่งไปยังเมืองเปชาวาร์เท่านั้น แต่ยังส่งไปยังอิสลามาบัด ราวัลปินดี และละฮอร์ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ราคาแพง อย่างไรก็ตามรัฐบาลอัฟกานิสถานก็ได้จัดตั้งเจ้าหน้าที่อุทยานพิเศษเพื่อติดตามและหยุดกิจกรรมเหล่านี้[5][21]
เมื่อป่าที่คอยปกคลุมพื้นดินมีจำนวนที่ลดลง ดินก็จะให้ผลผลิตทางการเกษตรน้อยลงเรื่อย ๆ ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในชนบท และจากภัยพิบัติน้ำท่วมได้ทำการชะล้างพื้นที่เกษตรกรรมและทำลายบ้านเรือน การสูญเสียพืชพรรณยังก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมสูงขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นอันตรายต่อประชาชนเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดการพังทลายของดินและลดปริมาณพื้นที่สำหรับทำการเกษตรอีกด้วย เพื่อลดการทำลายล้างนี้ MAIL พยายามทำให้อัฟกานิสถานกลับมาเขียวขจีอีกครั้งด้วยการปลูกต้นไม้หลายล้านต้นทุกฤดูใบไม้ผลิ โดยเฉพาะในวันที่ 10 มีนาคม ซึ่งเป็นวันปลูกต้นไม้แห่งชาติของประเทศ[22][23][24][25][26][27][28]
สัตว์ป่า
[แก้]การล่าสัตว์เป็นสิ่งผิดกฎหมายในอัฟกานิสถาน เนื่องจากสัตว์ป่าส่วนใหญ่ของประเทศกำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์[29] ในปี พ.ศ. 2557 มีการลักลอบนำนกราว 5,000 ตัวออกจากอัฟกานิสถาน ซึ่งรวมถึงนกเหยี่ยว เหยี่ยว และห่าน[30] ในปี พ.ศ. 2549 อัฟกานิสถานและสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าได้เริ่มโครงการระยะเวลา 3 ปีเพื่อปกป้องสัตว์ป่าและแหล่งที่อยู่อาศัยในอุทยานแห่งชาติแบนเดแอมีร์ และอุทยานแห่งชาติ Wakhan[31]
รายชื่อสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์
[แก้]- หมีดำเอเชีย (Ursus thibetanus)
- เหยี่ยว[32][33]
- อีแร้งฮูบาระ (Chlamydotis undulata)[34]
- แกะมาร์โคโปโล (Ovis ammon polii)
- Markhor (Capra falconeri)
- ไซบีเรียนเครน (Grus leucogeranus)
- เสือดาวหิมะ (Uncia uncia)[35]
- Urial (Ovis orientalis)
- แพะป่า (Capra aegagrus)[29]
รายชื่อสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง
[แก้]- Corn crake (Crex crex)
- อินทรีจักรวรรดิตะวันออก (Aquilla heliaca)
- อินทรีลายจุด (Aquilla clanga)
- นกชวาน้อย (Falco naumanni)
- เป็ดลายหินอ่อน (Marmaronetta angustirostris)
- Pallas's fish eagle (Haliaeetus leucoryphus)
- Sociable lapwing (Vanellus gregaria)
- เป็ดหัวขาว (Oxyura leucocephala)
- นกพิราบตาเหลือง (Columba hodgsonii)
ไม่ค่อยมีใครรู้เกี่ยวกับสถานะของซาลาแมนเดอร์ Batrachuperus mustersi ซึ่งพบได้เฉพาะในเทือกเขาฮินดูกูช
การจัดการน้ำ
[แก้]น้ำจืดส่วนใหญ่ของอัฟกานิสถานไหลตามแม่น้ำที่ไหลเชี่ยวไปยังประเทศเพื่อนบ้าน[36][37] สิ่งนี้เป็นประโยชน์ต่อธรรมชาติของประเทศเหล่านั้น แต่ไม่ใช่อัฟกานิสถาน[38][39][40][41][42] ภัยคุกคามหลักต่อการจัดหาน้ำของอัฟกานิสถานคือภัยแล้ง ซึ่งสร้างปัญหาการขาดแคลนน้ำของชาวอัฟกานิสถานหลายล้านคนในอดีต[43][44] วิกฤตการณ์ทางการเกษตรที่เกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2544 ได้ขับเคลื่อนครอบครัวหลายพันครอบครัวจากชนบทสู่เมือง[45] เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง ได้มีการเจาะบ่อน้ำลึกเพื่อการชลประทาน ซึ่งช่วยลดระดับน้ำใต้ดิน ระบายน้ำใต้ดินเพิ่มเติม ซึ่งต้องอาศัยน้ำฝนมาทดแทน[24]
จากข้อมูลของยูนิเซฟ มีเพียงประมาณ 67% ของประชากรอัฟกานิสถานเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้[46] จำนวนนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต[47] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงคาบูลหลังจากเขื่อน Shah wa Arus และ Shahtoot เสร็จสิ้น โดยประเทศหลักที่ช่วยให้อัฟกานิสถานจัดการทรัพยากรน้ำได้ดีขึ้นคืออินเดียและเยอรมัน[37][48][49]
ระหว่างปี พ.ศ. 2541 ถึง พ.ศ. 2546 พื้นที่ชุ่มน้ำ Sistan ประมาณ 99% แห้งแล้ง เป็นผลจากความแห้งแล้งอย่างต่อเนื่องและขาดการจัดการน้ำที่ดี[50] พื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญสำหรับสำหรับการเพาะพันธุ์นกน้ำที่อพยพมา รวมทั้งนกดัลเมเชียน เพลิแคนและนกเป็ดน้ำลายหินอ่อน ได้ให้น้ำเพื่อการชลประทานทางการเกษตรมาเป็นเวลาอย่างน้อย 5,000 ปี พวกมันถูกเลี้ยงโดยแม่น้ำ Helmand และ Farah ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 98% ในปีที่แห้งแล้งระหว่างปี พ.ศ. 2544 – 2546 เช่นเดียวกับในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ การสูญเสียพืชพรรณธรรมชาติส่งผลให้เกิดการพังทลายของดิน ทำให้พายุทรายพัดถล่มหมู่บ้านมากถึง 100 แห่งภายในปี พ.ศ. 2546[15]
อ่างเก็บน้ำและเขื่อนที่สำคัญบางแห่งมีดังต่อไปนี้:
- อุทยานแห่งชาติแบนเดแอมีร์ (จังหวัดบามียัน)
- Dahla Dam (จังหวัดกันดะฮาร์)
- Darunta Dam (จังหวัดนันการ์ฮาร์)
- Kajaki Dam (จังหวัดเฮลมันด์)
- Kamal Khan Dam (จังหวัดนิมรุซ)
- Naghlu Dam (จังหวัดคาบูล)
- Qargha Reservoir (จังหวัดคาบูล)
- Salma Dam (Afghan-India Friendship Dam) (จังหวัดเฮราต)
- Sardeh Dam between (จังหวัดกัซนี และจังหวัดปักติกา)
มลพิษ
[แก้]ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 พลเมืองอัฟกานิสถานกว่า 5 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในปากีสถานและอิหร่านได้เดินทางกลับไปยังอัฟกานิสถาน หลายคนตั้งรกรากอยู่ในเมืองใหญ่ โดยเฉพาะในกรุงคาบูล กันดะฮาร์ เฮราต มะซารีซารีฟ และจาลาลาบัด
มลพิษทางอากาศ
[แก้]มลพิษทางอากาศในเมืองใหญ่ของอัฟกานิสถานกำลังเป็นปัญหาร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน[51] ชาวกรุงคาบูลต้องทนทุกข์ทรมานจากมลพิษทางอากาศมากที่สุด[52] ชาวคาบูลกว่า 2,000 คนเสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศในแต่ละปี[53] ยานพาหนะจำนวนมากในเมืองเป็นสาเหตุหลักของการเกิดมลพิษเหล่านี้[54]
ในระดับประเทศ มีคนประมาณ 5,000 คนเสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศ[55][56][57] โดยมีแหล่งข่าวบางแห่งระบุจำนวนผู้เสียชีวิตที่สูงกว่ามากในอดีต[58] และยานพาหนะยังถูกตำหนิว่าเป็นต้นเหตุของมลพิษทางอากาศในเมืองอื่น ๆ เช่นกัน[59]
ของเสียและอุตสาหกรรม
[แก้]อัฟกานิสถานขาดระบบบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมมาเป็นเวลานาน[60][61] ในปี พ.ศ. 2545 โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติพบว่าการขาดระบบการจัดการขยะทำให้เกิดสภาพที่เป็นอันตรายในพื้นที่เมืองหลายแห่ง[15] ในเขต 5 และ 6 ของกรุงคาบูล ขยะในครัวเรือนและทางการแพทย์ถูกทิ้งบนถนน ของเสียจากมนุษย์ถูกบรรจุอยู่ในท่อระบายน้ำเปิด ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำคาบูลและปนเปื้อนในน้ำดื่มของเมือง
มีการใช้พื้นที่ทิ้งขยะในเมืองแทนการฝังกลบที่มีการจัดการในกรุงคาบูล กันดะฮาร์ และเฮราต โดยมักไม่มีการปกป้องแม่น้ำและแหล่งน้ำใต้ดินในบริเวณใกล้เคียง ขยะทางการแพทย์จากโรงพยาบาลบางครั้งถูกกำจัดในที่ทิ้งขยะร่วมกับขยะอื่น ๆ ของเมือง ทำให้น้ำและอากาศปนเปื้อนด้วยแบคทีเรียและไวรัส
การขาดการจัดการสิ่งปฏิกูลไม่ใช่เรื่องเฉพาะในกรุงคาบูล ในเขตชานเมืองท่อระบายน้ำแบบเปิดเป็นเรื่องปกติ แต่สำหรับการบำบัดน้ำเสียนั้นไม่ใช่ น้ำประปาในเมืองส่วนใหญ่ปนเปื้อนเชื้อ Escherichia coli และแบคทีเรียอื่น ๆ
โรงกลั่นน้ำมัน เป็นอีกแหล่งหนึ่งของการปนเปื้อนในน้ำที่ เฮราต และ มะซารีซารีฟ การรั่วไหลของน้ำมันดิบ ซึ่งไม่มีการควบคุมและมีไฮโดรคาร์บอนในระดับที่ไม่ปลอดภัยมีไหลลงสู่แหล่งน้ำในที่อยู่อาศัยของประชาชน
การทิ้งกากนิวเคลียร์โดยปากีสถาน
[แก้]ในปี 2551 รัฐบาลอัฟกานิสถานระบุว่ากำลังสอบสวนข้อกล่าวหาว่าปากีสถานทิ้งกากนิวเคลียร์ บริเวณทางตอนใต้ของอัฟกานิสถานระหว่างการปกครองของตอลิบานในช่วงปลายทศวรรษ 1990[62]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Afghanistan: Labor force - by occupation". World Factbook. CIA. 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-01. สืบค้นเมื่อ 2021-02-26.
- ↑ "New country-by-country data show in detail the impact of environmental factors on health". World Health Organization. 2007-06-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 16, 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-06-15.
- ↑ "Overlapping vulnerabilities: The impacts of climate change on humanitarian needs" (PDF). Norwegian Red Cross. 2019. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-18. สืบค้นเมื่อ 2022-01-18 – โดยทาง Relief Web.
- ↑ "ADB's Focus on Climate Change and Disaster Risk Management". Asian Development Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2022. สืบค้นเมื่อ 3 October 2022.
- ↑ 5.0 5.1 "3 men arrested for cutting down trees in Nangarhar forest". Pajhwok Afghan News. 9 January 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.
- ↑ "Unit established in Kunduz to prevent illegal tree felling". Pajhwok Afghan News. 29 November 2022. สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.
- ↑ "Afghanistan Forest Information and Data". Mongabay. 2010. สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.
- ↑ "Government to Plant 'Millions' of Trees Across Afghanistan". TOLOnews. March 10, 2021. สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.
- ↑ "National tree plantation campaign begins: MAIL". Pajhwok Afghan News. March 10, 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.
- ↑ "Nangarhar kicks off spring tree plantation drive". Pajhwok Afghan News. February 4, 2019. สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.
- ↑ "Changing the Afghan landscape, one tree at a time". United Nations Environment Programme. May 4, 2018. สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.
- ↑ "Taliban leader urges Afghans to plant more trees". BBC News. February 26, 2017. สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.
- ↑ "Taliban Leaders Wants Afghans to Plant More Trees". Voice of America. February 26, 2017. สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.
- ↑ "Anthropogenic modification of forests means only 40% of remaining forests have high ecosystem integrity - Supplementary Material". Nature Communications. 11 (1): 5978. 2020. doi:10.1038/s41467-020-19493-3. ISSN 2041-1723. PMC 7723057. PMID 33293507.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 "Post-Conflict Environmental Assessment: Afghanistan" (PDF). United Nations Environment Programme. 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2007-06-15.
- ↑ "'We're in crisis': The high price of deforestation in Afghanistan". Al Jazeera. July 4, 2019. สืบค้นเมื่อ 2021-02-25.
- ↑ "Deforestation in Afghanistan Multiplies Climate and Security Threats". September 14, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-21. สืบค้นเมื่อ 2021-02-25.
- ↑ "Made worse by tree loss, flooding forces migration in Afghanistan". Reuters. September 8, 2020. สืบค้นเมื่อ 2021-02-25.
- ↑ "Afghanistan's Forests A Casualty Of Timber Smuggling". NPR. March 18, 2013. สืบค้นเมื่อ 2021-02-25.
- ↑ "Afghanistan's Forests Are Turning a Profit for the Islamic State". Foreign Policy. July 15, 2020. สืบค้นเมื่อ 2021-02-25.
- ↑ "Govt to Create "Green Unit Force" to Protect Forests". TOLOnews. December 5, 2021. สืบค้นเมื่อ 2022-08-09.
- ↑ "Government to Plant 'Millions' of Trees Across Afghanistan". TOLOnews. March 10, 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.
- ↑ "National tree plantation campaign begins: MAIL". Pajhwok Afghan News. March 10, 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.
- ↑ 24.0 24.1 "Afghanistan Hires Lockdown Jobless to Boost Kabul's Water and Trees". KCET. June 15, 2020. สืบค้นเมื่อ 2021-03-11.
- ↑ "Changing the Afghan landscape, one tree at a time". United Nations Environment Programme (UNEP). May 4, 2018. สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.
- ↑ "Afghan Tree Planter Cultivates His Dream". Bashir Ahmad Ghezali; Farangis Najibullah. Radio Free Europe/Radio Liberty (RFE/RL). May 27, 2014. สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.
- ↑ "Tree-planting in Afghanistan to be discussed in San Anselmo event". marinij.com. October 3, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 6, 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-12-03.
- ↑ "Citizens Plant 1.2 Million Trees in Eastern Afghanistan". United States Agency for International Development. April 15, 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 7, 2013. สืบค้นเมื่อ 2012-12-03.
- ↑ 29.0 29.1 "Hunting of Rare Animals, Birds Worries Farah Residents". Ariana News. January 31, 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.
- ↑ "Arabs hunt rare birds in Farah". Ariana News. January 8, 2015. สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.
- ↑ "Afghanistan To Protect Wildlife And Wild Lands". Science Daily. 2006-06-28. สืบค้นเมื่อ 2007-06-16.
- ↑ "Pakistani Authorities Seize 74 Smuggled Falcons". TOLOnews. October 18, 2020. สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.
- ↑ "Falcon smuggling attempt thwarted in Karachi". Pajhwok Afghan News. October 18, 2020. สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.
- ↑ "More than 300 houbara bustards released from Afghan breeding facility". Ariana News. February 10, 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.
- ↑ "Snow leopard kills dozens of sheep in northern Afghanistan". Ariana News. December 31, 2021. สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.
- ↑ "Afghanistan and Pakistan's Looming Water Conflict". The Diplomat. December 15, 2018. สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.
Afghanistan has abundant water resources. It produces 80 billion cubic meters of water a year, pumping 60 billion cubic meters of it to the neighbors — particularly Pakistan.
- ↑ 37.0 37.1 "Iran Criticism of Afghan Dam Projects Draws Rebuke From Kabul Officials". Voice of America (VOA). July 5, 2017. สืบค้นเมื่อ 2021-03-11.
- ↑ "Afghanistan commits to Iran's water rights but faces its own shortages: Mansoor". Ariana News. July 23, 2022. สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.
- ↑ "Afghanistan's Rivers Could Be India's Next Weapon Against Pakistan". Foreign Policy. November 13, 2018. สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.
- ↑ "Afghanistan and Iran: From water treaty to water dispute". The Interpreter. October 14, 2020. สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.
- ↑ "A Pak-Afghan water treaty?". The News International. July 9, 2018. สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.
- ↑ Ranjan, Amit; Chatterjee, Drorima (December 27, 2020). "Cutting across the Durand: Water dispute between Pakistan and Afghanistan on river Kabul". World Water Policy. 6 (2): 246–258. doi:10.1002/wwp2.12033. S2CID 234658030. สืบค้นเมื่อ 2021-03-10.
- ↑ "Over 3M Afghan Children Expected to Face Acute Malnutrition in 2023: WFP". Ariana News. January 27, 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.
- ↑ "Afghanistan falls six places to 109th in Global Hunger Index". Ariana News. October 15, 2022. สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.
- ↑ "Drought Map, Understanding Afghanistan: Land in Crisis". National Geographic. 2001-11-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-11. สืบค้นเมื่อ 2007-06-15.
- ↑ "WASH: Water, sanitation and hygiene". UNICEF. สืบค้นเมื่อ 2021-03-11.
- ↑ "Awareness-raising about clean water". KfW. February 13, 2020. สืบค้นเมื่อ 2021-03-11.
- ↑ "India to complete dam for safe drinking water in Kabul". The Hindu. November 25, 2020. สืบค้นเมื่อ 2021-03-11.
- ↑ "Awareness-raising about clean water". Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit (GIZ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-29. สืบค้นเมื่อ 2021-03-11.
- ↑ Alex Kirby (2003-02-07). "Afghan wetlands 'almost dried out'". BBC. สืบค้นเมื่อ 2007-06-15.
- ↑ "Concerns Mount Over Increase of Air Pollution in Kabul". TOLOnews. December 6, 2022. สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.
- ↑ "NEPA Finds '4,500' Kinds of Air Pollutants in Kabul". TOLOnews. January 12, 2021. สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.
- ↑ "More than 2,000 people die each year due to air pollution in Kabul". Ariana News. October 16, 2022. สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.
- ↑ "Kabul air pollution reduces as vehicles decrease: Residents". Pajhwok Afghan News. November 19, 2022. สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.
- ↑ "Air pollution killed almost 5,000 people in Afghanistan in 2020, health ministry says". German Press Agency. Daily Sabah. January 13, 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-03-11.
- ↑ "Air Pollution Claimed Almost 5,000 Lives In Afghanistan Last Year". Radio Free Europe/Radio Liberty. January 13, 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-03-11.
- ↑ "Afghanistan - Environmental health". WHO. สืบค้นเมื่อ 2021-03-11.
- ↑ Sadat, Sayed Khodaberdi (February 1, 2020). "Afghanistan:Air pollution more dangerous than civil war". Anadolu Agency. สืบค้นเมื่อ 2021-03-11.
- ↑ "Growing air pollution in Jalalabad City raises eyebrows". Pajhwok Afghan News. December 26, 2022. สืบค้นเมื่อ 2023-02-10.
- ↑ "Sewage from US Embassy, NATO headquarters dumped into Kabul River due to aging infrastructure". Stars and Stripes (newspaper). September 12, 2020. สืบค้นเมื่อ 2021-03-11.
- ↑ "Afghanistan: Managing wastewater to help improve living conditions" (PDF). International Committee of the Red Cross. February 14, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-03-11.
- ↑ Vennard, Martin (1 April 2008). "Pakistan 'dumped nuclear waste'". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2012-07-23.