ข้ามไปเนื้อหา

อันดับปลาหลังเขียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปลาหลังเขียว)
อันดับปลาหลังเขียว
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ก่อนครีเตเชียส-ปัจจุบัน
ปลาซาร์ดีน (Sardina pilchardus) จัดอยู่ในวงศ์ Clupeidae พบในชายฝั่งและปากแม่น้ำของทวีปยุโรปตอนเหนือ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Clupeiformes
Bleeker, 1959
วงศ์
6 วงศ์ (ดูในเนื้อหา)

อันดับปลาหลังเขียว (อันดับ: Clupeiformes) เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Clupeiformes

เป็นปลาที่มีถุงลมมีท่อนิวเมติกเชื่อมต่อไปยังลำไส้ เส้นข้างลำตัวมักขาด แต่มีเกล็ดและครีบเช่นปลาในอันดับอื่น ๆ โดยมากแล้วมักจะมีลำตัวสีเงิน และมีส่วนหลังสีเขียว อันเป็นที่มาของชื่อ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยมากแล้วจะกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร โดยผ่านซี่กรองเหงือก และไม่มีฟัน แต่ก็มีบางชนิดหรือบางวงศ์ที่กินเนื้อเป็นอาหารและมีฟัน เช่นกัน

พบทั้งหมด 6 วงศ์ ประมาณ 300 ชนิด ซึ่งปลาในอันดับนี้จะมีชื่อที่เป็นที่รู้จักกันในภาษาไทยเรียกรวม ๆ กันว่า "ปลาหลังเขียว", "ปลาตะลุมพุก", "ปลามงโกรย", "ปลากะตัก", "ปลาไส้ตัน", "ปลาทราย", "ปลากล้วย" เป็นต้น ในขณะที่ภาษาอังกฤษจะเรียกว่า "Herring", "Sardine", "Anchovy" หรือ " Shad" เป็นต้น พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล เป็นปลาที่มีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากจะถูกจับนำมาบริโภคในฐานะปลาเศรษฐกิจและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ปลากระป๋องหรือน้ำปลา[1] เป็นต้น[2]

โดยคำว่า Clupeiformes นั้นมาจากภาษาละติน "clupea" หมายถึง "ปลาซาร์ดีน" กับคำว่า "forma" หมายถึง "แหลมคม"

วงศ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ["การทำน้ำปลาจากปลากะตัก (ไทย)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-14. สืบค้นเมื่อ 2012-02-24. การทำน้ำปลาจากปลากะตัก (ไทย)]
  2. Nelson, Gareth (1998). Paxton, J.R. & Eschmeyer, W.N. (บ.ก.). Encyclopedia of Fishes. San Diego: Academic Press. pp. 91–95. ISBN 0-12-547665-5.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  3. จาก ITIS.gov (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]