ข้ามไปเนื้อหา

ปลาทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปลาทอง
ปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติ
ปลาทองสายพันธุ์เกล็ดแก้ว สายพันธุ์ที่ถูกผสมขึ้นมาโดยคนไทยเอง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
อันดับ: ปลาตะเพียน
วงศ์: วงศ์ปลาตะเพียน
วงศ์ย่อย: Cyprininae
สกุล: สกุลปลาทอง

(Linnaeus, 1758)[2][3]
สปีชีส์: Carassius auratus
ชื่อทวินาม
Carassius auratus
(Linnaeus, 1758)[2][3]
ชื่อพ้อง
รายการชื่อพ้อง
    • Carassius discolor (Basilewsky, 1855)
    • Carassius burgeri (Temminck & Schlegel, 1846)
    • Carassius coeruleus (Basilewsky, 1855)
    • Carassius encobia (Bonaparte, 1845)
    • Carassius grandoculis (Temminck & Schlegel, 1846)
    • Carassius pekinensis (Basilewsky, 1855)
    • Cyprinus auratus (Linnaeus, 1758)
    • Cyprinus gibelioides (Cantor, 1842)
    • Cyprinus mauritianus (Bennett, 1832)
    • Cyprinus chinensis (Gronow, 1854)
    • Cyprinus maillardi (Guichenot)
    • Cyprinus nigrescens (Günther, 1868)
    • Cyprinus thoracatus (Valenciennes 1842)
    • Neocarassius ventricosus (Castelnau, 1872)

ปลาทอง หรือ ปลาเงินปลาทอง (อังกฤษ: goldfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Carassius auratus) เป็นปลาน้ำจืด อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น เดิมใช้บริโภค ต่อมาถูกพัฒนาสายพันธุ์มาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี[4] จนกลายเป็นปลาสวยงามในปัจจุบัน ปลาทองที่ปล่อยตามธรรมชาติกลายเป็นสัตว์รุกรานในพื้นที่อเมริกาเหนือและออสเตรเลีย[5][6]

ประวัติความเป็นมาและลักษณะ

[แก้]

เชื่อว่าปลาทองเป็นปลาสวยงามชนิดแรกที่มนุษย์เลี้ยง จากหลักฐานที่ปรากฏไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีมาแล้ว เป็นรูปสลักปลาทองหลากหลายสีว่ายรวมกันอยู่ในบ่อที่ประเทศจีน ถือเป็นประเทศแรกที่เลี้ยงปลาทอง[4] โดยปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิมในภาษาญี่ปุ่นเรียก "ฟุนะ" (鮒; フナ)[7] และชาวญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาสายพันธุ์ปลาทองให้มีความสวยงามและหลากหลายมาจนปัจจุบัน[4] เมืองแรก คือ ซะไก ในจังหวัดโอซะกะ ในราวปี ค.ศ. 1502-1503 แต่กลายมาเป็นที่นิยมเมื่อเวลาต่อมาอีกราว 100 ปี ถึงขนาดมีร้านขายปลาทองเปิดกันเป็นจำนวนมาก

ปลาทองมีรูปร่างอ้วน ป้อม มีเกล็ดแบบบางเรียบ ครีบอกกลมแบน ครีบหางเป็นรูปพัด เป็นปลากินพืช และแมลงน้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เป็นปลาที่ตะกละสามารถกินอาหารได้ตลอดทั้งวัน ตัวผู้เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นตามครีบอกและใบหน้า ปลาตัวท้องช่องท้องจะอูมเป่งออก วางไข่ตามพืชน้ำ ไข่ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 วัน

ปลาทองมีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง สีทอง สีส้ม สีเทา สีดำและสีขาว หรือหลายสีในตัวเดียว ในธรรมชาติชอบอาศัยตามหนองน้ำและลำคลองที่ติดกับแม่น้ำ มีอายุขัย 20-30 ปี ต่อมาถูกนำไปเลี้ยงในทวีปยุโรปเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17[8] และถูกนำไปเผยแพร่ในทวีปอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 สำหรับในประเทศไทย เชื่อว่าปลาทองเข้าในสมัยอยุธยาตอนกลางเพื่อเป็นของบรรณาการในราชสำนักราว ๆ ค.ศ. 1370-1489[4]

ปัจจุบันประเทศจีน, ฮ่องกง, สิงคโปร์ และญี่ปุ่น เป็นศูนย์กลางการส่งออกปลาทองที่ใหญ่ที่สุด[4] สำหรับในประเทศไทย การเลี้ยงปลาทองในฐานะปลาสวยงามในยุคปัจจุบัน เริ่มขึ้นหลังปี ค.ศ. 1960 ซึ่งความนิยมจะเริ่มขึ้นจากพื้นที่กรุงเทพมหานครก่อนจะขยายไปตามจังหวัดต่าง ๆ จนปัจจุบันมีฟาร์มปลาทองมากมาย มีปลาหลากหลายสายพันธุ์ ทั้งเกรดสูงที่มีราคาแพง และเกรดธรรมดาทั่วไป

สายพันธุ์ปลาทอง

[แก้]

มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาทองมีไม่ต่ำกว่า 100 สายพันธุ์ ซึ่งบางสายพันธุ์จนถึงปัจจุบันก็ได้หายสาบสูญไปตามกาลเวลาก็มี โดยสายพันธุ์แรกที่มีการเลี้ยงคือ ฮิฟุนะ ซึ่งมีรูปร่างเหมือนปลาทองดั้งเดิมในธรรมชาติ แต่ว่ามีสีทอง ต่อมาก็ถูกพัฒนาจนกลายเป็นปลาทองที่มีหาง 3 แฉก เรียกว่า วากิ้น และจากวาคิ้นก็ถูกพัฒนาจนกลายมาเป็นปลาทองหาง 4 แฉก คือ จิกิ้น จนในที่สุดก็กลายมาเป็นริวกิ้นในที่สุด

นอกจากนี้แล้วสายพันธุ์ที่เรียกว่า มารุโกะ ก็เป็นบรรพบุรุษของปลาทองสายพันธุ์หัวสิงห์ต่าง ๆ และสายพันธุ์เดเมกิ้น ก็เป็นบรรพบุรุษของปลาทองสายพันธุ์ตาโปนต่าง ๆ

ปลาทองสามารถแบ่งออกตามลักษณะลำตัวได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1.กลุ่มที่มีลำตัวแบนยาว

มีลำตัวแบนข้าง และมีครีบหางเดี่ยว ยกเว้นวากิ้นซึ่งมีครีบหางคู่ ปลาในกลุ่มนี้มักจะว่ายน้ำได้รวดเร็ว ปราดเปรียว ทนทานต่อโรคต่าง ๆ และเจริญเติบโตได้เร็วกว่า ปลาทองที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ฟุนะ, ฮิบุนะ, โคเมท, ชูบุงกิ้น, วากิ้น, วาโตไน เป็นต้น

2.กลุ่มที่มีลำตัวกลมหรือรูปไข่

ถือเป็นกลุ่มที่มีจำนวนสายพันธุ์หลากหลายมากที่สุด ซึ่งเป็นกลุ่มที่ว่ายน้ำได้ไม่ดี อาจจะว่ายหัวตก มีลักษณะสำคัญที่ครีบ หัวและนัยน์ตาที่แตกต่างหลากหลายกัน โดยแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีครีบหลัง ได้แก่ ริวกิ้น, ออรันดา, เกล็ดแก้ว, ลักเล่ห์ แพนด้า, เดเมกิ้น, โทะซะกิน เป็นต้น กับ กลุ่มที่ไม่มีครีบหลัง ได้แก่ สิงห์จีน, สิงห์ญี่ปุ่น, สิงห์ดำตามิด, รันชู, ลูกโป่ง, ตากลับ เป็นต้น[4]

การเลี้ยงตามความเชื่อ

[แก้]

นอกจากนี้แล้ว การเลี้ยงปลาทองยังอยู่ในความเชื่อของชาวจีนอีกด้วยว่าก่อให้เกิดโชคลาภ โดยว่ากันตามหลักฮวงจุ้ยว่ากันด้วยเรื่องจำนวนของปลาที่เลี้ยง, สีของปลา และตำแหน่งการวางตู้ปลาหรือบ่อเลี้ยงด้วย ซึ่งแตกต่างออกไปตามลักษณะของบ้านและเจ้าของ โดยมากจะมักเลี้ยงเป็นจำนวน 9 ตัว เป็นปลาสีแดง 1 ตัว ร่วมกับปลาสีอื่น ๆ และปลาสีดำ 1 ตัว และยังเชื่ออีกด้วยว่าปลาทองสามารถรับเคราะห์แทนผู้เป็นเจ้าของได้[9]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Huckstorf, V.; Freyhof, J. (2013). "Carassius auratus". IUCN Red List of Threatened Species. 2013: e.T166083A1110472. doi:10.2305/IUCN.UK.2013-1.RLTS.T166083A1110472.en. สืบค้นเมื่อ 13 November 2021.
  2. "USGS-NAS, Non-indigenous Aquatic Species". สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
  3. "Carassius auratus (Linnaeus, 1758)". Fishbase. สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 กระทิงไฟ, ปลาทอง ของเก่า ที่ไม่ตกเทรนด์ นิตยสาร Aquarium Biz หน้า 46-51 ปีที่ 2 ฉบับที่ 16: ตุลาคม 2011
  5. Helmore, Edward (12 July 2021). "Goldfish dumped in lakes grow to monstrous size, threatening ecosystems". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2021.
  6. Lynch, Jacqueline (2024-04-23). "Ozfish volunteers trap dumped pet goldfish from Vasse River amid concerns about water quality". ABC News. สืบค้นเมื่อ 2024-04-27.
  7. ZENSE OFFICIAL (May 19, 2012). "5 มหานิยม ปลาสวยงามยอดนิยม ปี 2555 OA190555 02-04". 5 มหานิยม.
  8. "ปลาทอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-13. สืบค้นเมื่อ 2008-04-14. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  9. "กระจกหกด้าน: มัจฉาเสริมโชค". ช่อง 7. 15 September 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 15 September 2014. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]