ปลาตะเพียนอินเดีย
หน้าตา
ปลาตะเพียนอินเดีย | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Cypriniformes |
วงศ์: | Cyprinidae |
สกุล: | Dawkinsia |
สปีชีส์: | D. filamentosa |
ชื่อทวินาม | |
Dawkinsia filamentosa (Valenciennes, 1844) | |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
ปลาตะเพียนอินเดีย หรือ ปลาตะเพียนจุด (อังกฤษ: Blackspot barb, Filamented barb, Mahecola barb; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dawkinsia filamentosa) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)
มีลำตัวเรียวยาวแบนข้าง พื้นลำตัวมีสีเหลืองอมชมพู ครีบหลัง ครีบอกและครีบหางมีสีแดงจาง ๆ ขอบหางด้านล่างและด้านบนมีสีดำ ที่โคนครีบหางมีจุดสีดำขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน ปลาตัวผู้มีรูปร่างเพรียวบางกว่าตัวเมีย และมีครีบต่าง ๆ พริ้วยาวแลดูสวยงามกว่ามาก
มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 13-15 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง กินอาหาร จำพวกสัตว์น้ำและแมลงขนาดเล็ก มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 4 ปี พบกระจายพันธุ์ในพื้นที่น้ำจืดและน้ำกร่อยในอินเดียตอนใต้ เช่น รัฐเกรละ, ทมิฬนาดู และกรณาฏกะ
เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม[3]
อ้างอิง
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ Dawkinsia filamentosa