ปลากุแล
ปลากุแล ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: อีโอซีนยุคกลาง ถึง ปัจจุบัน | |
---|---|
![]() | |
ปลาหลังเขียว (S. gibbosa) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Clupeiformes |
วงศ์: | Clupeidae |
สกุล: | Sardinella Val. in Cuv. & Val., 1847 |
ชนิด | |
|
ปลากุแล หรือ ปลาหลังเขียว[1] เป็นสกุลของปลาทะเลขนาดเล็กสกุล Sardinella (/ซาร์ดิแน็ลลา/) ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae)
จัดเป็นปลาซาร์ดีนหรือปลาเฮร์ริงอีกจำพวกหนึ่ง มีลักษณะสัณฐานทั่วไปคล้ายกับปลาในสกุล Herklotsichthys คือ ลำตัวแบนข้างมาก สันท้องแหลม เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจำนวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลำตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีน้ำเงินเข้ม บนลำตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดำคล้ำหนึ่งจุด ครีบหลัง และครีบหางสีดำคล้ำอมเหลือง แต่ทว่ามีรูปร่างที่ยาวกว่า[1]
นอกจากนี้แล้ว ปลากุแลยังเป็นปลาที่มีวิวัฒนาการมาจากปลาในสกุล Harengula ที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน โดยมีลักษณะแทบจะแยกกันไม่ออก โดยมีความต่างกันที่เกล็ดเท่านั้น[2]
จัดเป็นปลาผิวน้ำ ที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ลูกปลาขนาดเล็กอาจอยู่รวมใกล้ชายฝั่งทะเล, ปากแม่น้ำ หรือลากูนได้ พบกระจายพันธุ์ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่น ทั้งมหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย, ทะเลเมดิเตอเรเนียน และมหาสมุทรแปซิฟิก[2]
เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ[2] และในธรรมชาติยังเป็นปลาที่เป็นอาหารสำคัญของวาฬบาลีน เช่น วาฬบรูดาอีกด้วย เหมือนปลาในสกุลอื่นในวงศ์เดียวกันหรือใกล้เคียง[3]
การจำแนก
[แก้]- Sardinella albella (Valenciennes, 1847)
- Sardinella atricauda (Günther, 1868)
- Sardinella aurita Valenciennes, 1847
- Sardinella brachysoma Bleeker, 1852 – ปลาหลังเขียวกลม
- Sardinella brasiliensis (Steindachner, 1879)
- Sardinella fijiense (Fowler & Bean, 1923)
- Sardinella fimbriata (Valenciennes, 1847) – ปลาแชลั้ง
- Sardinella gibbosa (Bleeker, 1849) – ปลาหลังเขียว
- Sardinella hualiensis (Chu & Tsai, 1958)
- Sardinella janeiro (Eigenmann, 1894) (เป็นชื่อพ้องของชนิด S. brasiliensis[4])
- Sardinella jonesi Lazarus, 1983
- Sardinella jussieu (Lacépède, 1803)
- Sardinella lemuru Bleeker, 1853
- Sardinella longiceps Valenciennes, 1847
- Sardinella maderensis (Lowe, 1838)
- Sardinella marquesensis Berry & Whitehead, 1968
- Sardinella melanura (Cuvier, 1829)
- Sardinella neglecta Wongratana, 1983
- Sardinella richardsoni Wongratana, 1983
- Sardinella rouxi (Poll, 1953)
- Sardinella sindensis (Day, 1878)
- Sardinella tawilis (Herre, 1927)
- Sardinella zunasi (Bleeker, 1854)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, 2539. 930 หน้า. หน้า 105. ISBN 974-8122-79-4
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Whitehead, P. J. P. (1985). FAO species catalogue. Vol. 7. Clupeoid fishes of the world. An annotated and illustrated catalogue of the herrings, sardines, pilchards, sprats, anchovies and wolfherrings. Part 1 - Chirocentridae, Clupeidae and Pristigasteridae (PDF). Rome: FAO. pp. 90–114. ISBN 92-5-102340-9.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "อาหารของปลาวาฬบรูดา". กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-10. สืบค้นเมื่อ 12 July 2015.
{{cite web}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ 4.0 4.1 "Sardinella". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 12 July 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้] ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Sardinella ที่วิกิสปีชีส์