ปรีชา ผ่องเจริญกุล
ปรีชา ผ่องเจริญกุล | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 27 มีนาคม พ.ศ. 2495 |
พรรคการเมือง | สามัคคีธรรม (2535–2539) ประชาธิปัตย์ (2550–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | วรนันท์ ผ่องเจริญกุล[1] |
ปรีชา ผ่องเจริญกุล เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคสามัคคีธรรม[2] และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (อลงกรณ์ พลบุตร) ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ[3]อดีตนักกิจกรรมสมัย 14 ตุลา[1] เป็นบุคคล ควบคุมรถบัญชาการ[4] ฝ่ายนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลา
ประวัติ
[แก้]นายปรีชา เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2495 เป็นบุตรของนายจู๋ กับนางสุภา ผ่องเจริญกุล มีน้องสาว 2 คน สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย ระดับปริญญาตรีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ปริญญาโทสาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา
นายปรีชา สมรสกับนางวรนันท์ ผ่องเจริญกุล มีบุตรชาย 2 คน คือ นายชานนท์ ผ่องเจริญกุล และนายชนะ ผ่องเจริญกุล
การทำงาน
[แก้]นายปรีชา เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคสามัคคีธรรม[5] ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 หรือการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535/1 ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[6][7] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับ 3 ผู้สมัครจากพรรคพลังประชาชน
นายปรีชา เคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ปองพล อดิเรกสาร)[8] ต่อมาในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (อลงกรณ์ พลบุตร)
นอกจากงานการเมือง ปรีชายังเคยเป็นไวยาวัจกรวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหารด้วย[9]
สภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ปรีชา ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "แม่ค้าหยกจากเชียงใหม่ "วรนันท์ ผ่องเจริญกุล"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-19. สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
- ↑ มอบใบรับรองมาตรฐานอัญมณ๊ เก็บถาวร 2013-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก เชียงใหม่นิวส์
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-06-19. สืบค้นเมื่อ 2017-03-16.
- ↑ นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. 2551[ลิงก์เสีย]
- ↑ ปชป.เปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 เชียงใหม่ ยัน“กิ่งกาญจน์”ย้ายพรรคไม่กระทบ
- ↑ รายชื่อผู้สมัคร ส.ส. เขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่[ลิงก์เสีย]
- ↑ คำสั่งกระทรวงการต่างประเทศ ที่ ๔๑๔/๒๕๓๕ เรื่อง แต่งตั้งเลขานุการรัฐมนตรีและผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- ↑ "สิ้นโควิด 19 วัดโลกโมฬีจะสร้างอาชีพให้คนยากไร้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-02. สืบค้นเมื่อ 2021-04-19.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2495
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักธุรกิจจากจังหวัดเชียงใหม่
- นักการเมืองจากจังหวัดเชียงใหม่
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- นักการเมืองพรรคสามัคคีธรรม
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
- บุคคลจากคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 14 ตุลา
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์