ปรีชา บุญมี
หน้าตา
ปรีชา บุญมี | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี |
ปรีชา บุญมี (เกิด 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี 2 สมัย
ประวัติ
[แก้]ปรีชา บุญมี เกิดเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 เป็นบุตรของนายแดง กับนางชิ้วเฮง บุญมี[1] สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
การทำงาน
[แก้]ปรีชา เป็นเจ้าของกิจการโรงไม้ ธุรกิจก่อสร้าง และโรงเรียน ในอำเภอโคกโพธิ์[2]
งานการเมือง
[แก้]ปรีชา เข้าสู่วงการการเมืองในระดับท้องถิ่นในปี พ.ศ. 2518 แทนบิดาซึ่งถูกลอบสังหาร ด้วยการเป็นสมาชิกสภาจังหวัดปัตตานี ก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และได้รับเลือกตั้งครั้งแรกใน พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกติดต่อกัน รวม 2 ครั้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 เขาได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคประชาชน[3]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ปรีชา บุญมี ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคประชาชน (พ.ศ. 2531) → พรรคเอกภาพ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[4]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ โครงการสำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่น กรณีศึกษา : จังหวัดปัตตานี. บูฆอรี ยีหมะ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2549
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
หมวดหมู่:
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2488
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอโคกโพธิ์
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- นักธุรกิจจากจังหวัดปัตตานี
- นักการเมืองจากจังหวัดปัตตานี
- ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดปัตตานี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองพรรคประชาชน (พ.ศ. 2531)
- นักการเมืองพรรคเอกภาพ
- นักการเมืองพรรคความหวังใหม่
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.