ข้ามไปเนื้อหา

ปริศนาความทรงจำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปริศนาความทรงจำ
ภาพปกบลู-เรย์แผ่นที่ 1 ประกอบด้วยตัวละครหลัก (จากซ้ายไปขวา)
จิตันดะ เอรุ, ฟุคุเบะ ซาโตชิ, โอเรกิ โฮตาโรและอิบาระ มายากะ
氷菓
(Hyōka)
แนวลึกลับ
นวนิยาย
เขียนโดยโฮโนบุ โยเนซาวะ
สำนักพิมพ์ญี่ปุ่น สำนักพิมพ์คาโดกาวะ
ไทย เอ็นเธอร์บุ๊คส์
ในเครือคาโดกาวะ สนีกเกอร์ บุงโกะ
กลุ่มเป้าหมายผู้ชาย
วางจำหน่ายพฤศจิกายน พ.ศ. 2544
มังงะ
เขียนโดยทาร์ก โอนะ
สำนักพิมพ์ญี่ปุ่น สำนักพิมพ์คาโดกาวะ
ไทย เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
นิตยสารโชเน็งเอซ
กลุ่มเป้าหมายโชเน็ง
วางจำหน่ายตั้งแต่26 มกราคม พ.ศ. 2555 – ปัจจุบัน
จำนวนเล่มญี่ปุ่น 14
ไทย 9
อนิเมะโทรทัศน์
กำกับโดยยาซูฮิโระ ทาเกโมโตะ
เขียนบทโดยโชจิ กาโต
ดนตรีโดยโคเฮ ทานากะ
สตูดิโอเกียวโตแอนิเมชัน
เครือข่ายCTC, TV Saitama, TVQ, tvk, KBS, Sun TV, GBS, Tokyo MX, MTV, BS11
ฉาย 22 เมษายน พ.ศ. 2555 16 กันยายน พ.ศ. 2555
ตอน22 + โอวีเอ (รายชื่อตอน)

ปริศนาความทรงจำ (ญี่ปุ่น: 氷菓โรมาจิHyōka; มีความหมายตรงตัวว่า ของหวานเย็น เปรียบเปรยถึง ไอศกรีม) เป็นนวนิยายแนวลึกลับ แต่งโดย โฮโนบุ โยเนซาวะ (ญี่ปุ่น: 米澤 穂信โรมาจิYonezawa Honobu) เป็นหนังสือเล่มแรกในชุด นักสืบแห่งชมรมวรรณกรรมคลาสสิก (ญี่ปุ่น: 古典部โรมาจิKoten-buทับศัพท์: Classic Literature Club) โดยวางจำหน่ายระหว่างปี พ.ศ. 2544 ถึง พ.ศ. 2553 จำนวน 5 เล่ม ดัดแปลงเป็นมังงะวาดโดย ทาร์ก โอนะ ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร โชเน็งเอซ รายเดือน ของสำนักพิมพ์คาโดกาวะ ตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555 และอนิเมะผลิตโดย เกียวโตแอนิเมชัน กำกับโดยยาซูฮิโระ ทาเกโมโตะ เริ่มออกอากาศระหว่างวันที่ 22 เมษายน ถึง 16 กันยายน พ.ศ. 2555 จำนวน 22 ตอน[1][2] ฉบับไลฟ์แอคชั่นกำกับโดย มาริ อาซาโตะ นำแสดงโดย เค็นโตะ ยามาซากิ และ อลิซ ฮิโรเซะ ถูกปล่อยตัวเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2560

เนื้อเรื่อง

[แก้]

โอเรกิ โฮทาโร่ จากโรงเรียนมัธยมปลายคามิยามะ จำต้องเข้าร่วมชมรมวรรณกรรมคลาสสิกตามคำขอร้องของพี่สาวเพื่อไม่ให้ชมรมนั้นถูกยุบ และเมื่อเข้าร่วมชมรม เขาได้พบกับจิทันดะ เอรุ ฟุคุเบะ ซาโตชิ และอิบาระ มายากะ และด้วยความขี้สงสัยเป็นอันมากของจิทันดะ เอรุ ทำให้นักอนุรักษ์พลังงานชีวิตอย่างเขาต้องมาคอยแก้ปัญหาเพื่อให้เธอพึงพอใจอยู่เสมอ เนื้อเรื่องเกิดขึ้นที่เมืองคามิยามะ ซึ่งเป็นเมืองที่สมมุติขึ้น โดยตั้งอยู่ที่จังหวัดกิฟุ ซึ่งที่นี่ก็เป็นบ้านเกิดของผู้แต่งด้วย

ตัวละคร

[แก้]

ชมรมวรรณกรรมคลาสสิก

[แก้]
โอเรกิ โฮทาโร่
(ญี่ปุ่น: 折木 奉太郎โรมาจิOreki Hōtarō)
ให้เสียงโดย : ญี่ปุ่น ยูอิจิ นากามูระ, ไทย กริน อักษรดี
ชายหนุ่มนักอนุรักษ์พลังงานผู้ยึดถือคติ "เรื่องไหนไม่จำเป็นก็ไม่ทำ เรื่องไหนจำเป็นก็ทำให้เสร็จโดยเร็วที่สุด" ง่ายๆคือขี้เกียจ เขาเข้าชมรมวรรณกรรมคลาสิกที่โรงเรียนจากคขอร้องของพี่สาวคือโอเรกิ โทโมเอะ และทำให้เขาได้มาพบกับเอรุผู้ที่ไม่ยอมให้เรื่องที่เธอสงสัยผ่านเธอไป และมักจะขอร้องให้เขาคลี่คลายความสงสัยของเธอเป็นประจำ โดยโฮทาโร่ถูกเอรุล้มล้างกฎการอนุรักษ์พลังงานของตน และมีความรู้สึกกับเอรุมากกว่าความเป็นเพื่อน ฮั่นแน่~~
จิทันดะ เอรุ
(ญี่ปุ่น: 千反田 えるโรมาจิChitanda Eru)
ให้เสียงโดย : ญี่ปุ่น ซาโตมิ ซาโต, ไทย พนาวรรณ ศรีวะโลสกุล
หญิงสาวสุดสวยที่อยู่ในชมรมวรรณกรรมคลาสสิกจากหนึ่งในสี่ตระกูลใหญ่แห่งเมืองคามิยามะ เธอเป็นประธานชมรมโดยปริยายเนื่องจากเธอเป็นสมาชิกคนสุดท้ายของชมรม เธอชอบเข้าไปพัวพันกับเรื่องลึกลับเพราะความสงสัยของเธอ เธอมักจะร้องขอด้วยคำว่า "ฉันอดสงสัยไม่ได้จริง ๆ ค่ะ" (ญี่ปุ่น: 私、気になります。) ต่อ โฮทาโร่เสมอ ๆ เธอนั้นมีท่าทีรู้สึกดีกับโฮทาโร่
ฟุคุเบะ ซาโตชิ
(ญี่ปุ่น: 福部 里志โรมาจิ Fukube Satoshi)
ให้เสียงโดย : ญี่ปุ่น ไดซูเกะ ซากางูจิ, ไทย ภัคภูมิ ลิ้มมานะสภาพร
เด็กหนุ่ม ม.ปลายปี 1 ร่าเริงผู้มีแต่รอยยิ้ม เขาเป็นเพื่อนสนิทของโฮทาโร่ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมต้นและเข้าชมรมวรรณกรรมคลาสสิกตามโฮทาโร่ด้วย นอกจากนี้ยังเข้าร่วมชมรมเย็บปักถักร้อย อีกทั้งยังเป็นกรรมการนักเรียนฝ่ายธุรการอีกด้วย เขามีหน่วยความจำที่ยอดเยี่ยมเหมือนหลักการทำงานของฐานข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์แต่ไม่ค่อยตัดสินใจอะไรด้วยตัวเองเนื่องจากเขายึดถือคติประจำใจที่ว่า "ฐานข้อมูลให้ข้อสรุปไม่ได้" มีความรู้สึกชอบมายากะจริงแต่ด้วยเหตุผลส่วนตัวจึงเลี่ยงที่จะให้คำตอบกับมายากะ และเขายอมตกลงคบกับมายากะก่อนขึ้นชั้นปี 2 ไม่นานนัก
อิบาระ มายากะ
(ญี่ปุ่น: 伊原 摩耶花โรมาจิIbara Mayaka)
ให้เสียงโดย : ญี่ปุ่น อาอิ คายาโนะ, ไทย ธันวา ภักดีอำนาจ
เด็กสาว ม.ปลาย ปี 1 เธอมีรูปร่างเล็ก เธอกับโฮทาโร่รู้จักกันตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นประถม ภายนอกดูน่ารัก แต่แท้จริงแล้วเป็นคนปากคอเราะร้าย เธอเป็นคนจริงจัง มักเข้มงวดกับตัวเองและคนอื่นอยู่เสมอ เธอชอบซาโตชิ จึงเข้าชมรมวรรณกรรมคลาสสิก แต่เขามักหลบหรือเลี่ยงที่จะพบกับเธอ

โรงเรียนมัธยมปลายคามิยามะ

[แก้]

นักเรียนชั้นปี 2-F

[แก้]
อิริสึ ฟุยุมิ
(ญี่ปุ่น: 入須 冬実โรมาจิIrisu Fuyumi)
ให้เสียงโดย : ญี่ปุ่น ยูกานะ
รุ่นพี่ชั้นปี 2 เธอรู้จักกับจิทันดะเนื่องจากตระกูลของเธอกับตระกูลของจิทันดะมีโอกาสได้พบเจอกันบ่อยครั้ง เธอเป็นคนที่มีอิทธิพลต่อคนรอบข้างมากและชำนาญในการใช้งานคนให้เหมาะสมกับหน้าที่ ซาโตชิตั้งฉายาให้เธอว่า "จักรพรรดินี" เธอมีบทบาทสำคัญในการแต่งเติมบทภาพยนตร์ของชั้นปี 2-F ที่กำลังจะฉายในงานวัฒนธรรมของโรงเรียนโดยร้องขอให้สมาชิกชมรมวรรณกรรมคลาสสิก (โดยเฉพาะโฮทาโร่) ช่วยคิดตอนจบของภาพยนตร์ให้
ซาวากิงุจิ มิซากิ
(ญี่ปุ่น: 沢木口 美崎โรมาจิSawakiguchi Misaki)
ให้เสียงโดย : ญี่ปุ่น มาริยะ อิเซะ

สมาชิกฝ่ายประชาสัมพันธ์ในการจัดทำภาพยนตร์ของชั้นปี 2-F และสมาชิกชมรมดาราศาสตร์ มีบุคลิกค่อนข้างประหลาด

ฮาบะ โทโมฮิโระ
(ญี่ปุ่น: 羽場 智博โรมาจิHaba Tomohiro)
ให้เสียงโดย : ญี่ปุ่น อัตสึชิ อาเบะ

สมาชิกฝ่ายอุปกรณ์ในการจัดทำภาพยนตร์ของชั้นปี 2-F

นากาโจ จุนยะ
(ญี่ปุ่น: 中城 順哉โรมาจิNakajō Junya)
ให้เสียงโดย : ญี่ปุ่น ทากายูกิ คนโด

สมาชิกฝ่ายถ่ายทำในการจัดทำภาพยนตร์ของชั้นปี 2-F

คุราโกะ เอบะ
(ญี่ปุ่น: 江波 倉子โรมาจิKurako Eba)
ให้เสียงโดย : ญี่ปุ่น อาโออิ ยูกิ

ชมรมวิจัยการ์ตูน

[แก้]
ยุอาสะ โชโกะ
(ญี่ปุ่น: 湯浅 尚子โรมาจิYuasa Shōko)
ให้เสียงโดย : ญี่ปุ่น นาโอมิ ชินโดะ

ประธานชมรมวิจัยการ์ตูน

โคจิ อายาโกะ
(ญี่ปุ่น: 河内 亜也子โรมาจิKōchi Ayako)
ให้เสียงโดย : ญี่ปุ่น มัตสึมิ อาซาโนะ

สมาชิกชมรมวิจัยการ์ตูน ค่อนข้างมีอิทธิพลต่อสมาชิกในชมรม สมาชิกชมรมฝ่ายที่เข้ากับอายาโกะไม่ถูกกับมายากะ

อาจารย์และนักเรียนอื่น ๆ

[แก้]
อิโตอิงาวะ โยโกะ
(ญี่ปุ่น: 糸魚川 養子โรมาจิItoigawa Yōko)
ให้เสียงโดย : ญี่ปุ่น มามิ โคยามะ
อาจารย์บรรณารักษ์และอดีตประธานชมรมวรรณกรรมคลาสสิกรุ่นถัดจากเซกิทานิ จุน เป็นหนึ่งในผู้ร่วมเหตุการณ์ที่ทำให้จุนถูกให้ออกจากโรงเรียนมัธยมปลายคามิยามะ
โตไงโตะ มาซาชิ
(ญี่ปุ่น: 遠垣内 将司โรมาจิTōgaito Masashi)
ให้เสียงโดย : ญี่ปุ่น เรียวตาโร โอกิอายุ
รุ่นพี่ปี 3 ประธานชมรมหนังสือพิมพ์ติดผนัง
จูมนจิ คาโฮะ
(ญี่ปุ่น: 十文字 かほโรมาจิJūmonji Kaho)
ให้เสียงโดย : ญี่ปุ่น ซาโอริ ฮายามิ
เด็กสาวรุ่นเดียวกับจิทันดะและเป็นเพื่อนสนิทกับจิทันดะ เธอมาจากตระกูลจูมนจิแห่งศาลเจ้าอาเรคุสึซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งในตระกูลใหญ่ทั้งสี่ในเมืองคามิยามะ เธอเป็นมิโกะอยู่ที่ศาลเจ้าอาเรคุสึและยังเป็นสมาชิกเพียงหนึ่งเดียวของชมรมวิจัยการทำนาย บุคลิกท่าทางคงแก่เรียนและดูเป็นผู้ใหญ่
ทานาเบะ จิโร่
(ญี่ปุ่น: 田名辺 治朗โรมาจิTanabe Jirō)
ให้เสียงโดย : ญี่ปุ่น จุง ฟูกูยามะ
ประธานกรรมการนักเรียนฝ่ายธุรการ และหนึ่งในผู้เขียนการ์ตูน "ตกเย็นเป็นศพ"
คุงายามะ มุเนโยชิ
(ญี่ปุ่น: 陸山 宗芳โรมาจิKugayama Muneyoshi)
ให้เสียงโดย : ญี่ปุ่น โมริกาวะ โทชิยูกิ
ประธานกรรมการนักเรียน และหนึ่งในผู้เขียนการ์ตูน "ร่างไร้วิญญานยามเย็น"
โอฮินาตะ โทโมโกะ
(ญี่ปุ่น: 大日向 友子โรมาจิŌhinata Tomoko)
นักเรียนหญิงรุ่นน้องซึ่งเป็นสมาชิกใหม่ในชมรมวรรณกรรมคลาสสิกหลังจากที่โฮทาโร่และเพื่อน ๆ ขึ้นชั้นปี 2 แล้ว เธอเป็นคนคุยสนุกสนานและมีอัธยาศัยดีมาก เข้ากับรุ่นพี่ในชมรมได้ดี แต่ด้วยเหตุผลบางอย่างทำให้เธอตัดสินใจลาออกจากชมรม เรื่องราวของเธอนั้นปรากฏอยู่ในเล่มที่ 5 ซึ่งไม่ได้สร้างเป็นอนิเมะ

ตัวละครอื่น ๆ

[แก้]
โอเรกิ โทโมเอะ
(ญี่ปุ่น: 折木 供恵โรมาจิOreki Tomoe)
ให้เสียงโดย : ญี่ปุ่น ซัตสึกิ ยูกิโนะ
พี่สาวของโฮทาโร่และอดีตสมาชิกชมรมวรรณกรรมคลาสสิก นิสัยตรงกันข้ามกับน้องชายอย่างสุดโต่ง เธอชื่นชอบการเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นอย่างมากและยังสนใจเรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ เธอได้ขอร้องให้น้องชายผู้ซึ่งกำลังจะขึ้นชั้น ม.ปลายเข้าชมรมวรรณกรรมคลาสสิกเพื่อไม่ให้ชมรมถูกยุบ แม้ว่าเธอจะปรากฏตัวในเรื่องอยู่หลายครั้ง แต่ใบหน้าของเธอไม่เคยปรากฏสมบูรณ์ให้เห็นเลย
เซกิทานิ จุน
(ญี่ปุ่น: 関谷 純โรมาจิSekitani Jun)
ลุง (ฝ่ายแม่) ของจิทันดะและอดีตประธานชมรมวรรณกรรมคลาสสิกที่ถูกให้ออกจากโรงเรียนมัธยมปลายคามิยามะเนื่องจากเหตุวุ่นวายในขณะนั้น เป็นผู้ที่ตั้งชื่อหนังสือรวมบทความของชมรมนี้ว่า "เฮียวกะ" (ญี่ปุ่น: 氷菓โรมาจิHyōka) จุนหายสาบสูญระหว่างเดินทางในประเทศอินเดีย
เซนนะ ริเอะ
(ญี่ปุ่น: 善名 梨絵โรมาจิZenna Rie)
ให้เสียงโดย : ญี่ปุ่น อากิ โทโยซากิ
ลูกพี่ลูกน้องของมายากะและพี่สาวของคาโยะ เป็นเด็กช่างพูดและนิสัยร่าเริง เธอมักจะเขียนชื่อตัวเองบนของใช้ส่วนตัวเพื่อไม่ให้ปนกับของคนอื่นและไม่ให้คนอื่นใช้ร่วมด้วย
เซนนะ คาโยะ
(ญี่ปุ่น: 善名 嘉代โรมาจิZenna Kayo)
ให้เสียงโดย : ญี่ปุ่น ยุย โองูระ
ลูกพี่ลูกน้องของมายากะและน้องสาวของริเอะ เป็นเด็กที่พูดน้อย
อันโจ ฮารุนะ
(ญี่ปุ่น: 安城 春菜โรมาจิAnjō Haruna)

หนึ่งในผู้เขียนการ์ตูน "ตกเย็นเป็นศพ" (ญี่ปุ่น: 夕べには骸にโรมาจิYūbe niwa Mukuro ni) เคยเป็นนักเรียนโรงเรียนมัธยมปลายคามิยามะแต่ย้ายโรงเรียนไปแล้ว

สื่อ

[แก้]

นวนิยาย

[แก้]

หนังสือชุด นักสืบแห่งชมรมวรรณกรรมคลาสสิก (ญี่ปุ่น: 古典部โรมาจิKoten-buทับศัพท์: Classic Literature Club) ได้ตีพิมพ์ออกมาแล้วทั้งหมด 6 เล่มโดยสำนักพิมพ์คาโดกาวะ ในประเทศไทยนั้นสำนักพิมพ์เอ็นเธอร์บุ๊คส์ได้ซื้อลิขสิทธิ์เพื่อแปลจัดจำหน่ายจำนวน 5 เล่ม (ข้อมูล ณ วันที่ 3 ธันวาคม พุทธศักราช 2563)

# ชื่อเล่ม วันที่ออกจำหน่ายต้นฉบับ วันที่ออกจำหน่ายไทย
1ปริศนาความทรงจำ
Hyōka (氷菓)
31 ตุลาคม พ.ศ. 2544
978-4-04-427101-5
978-616-06-0899-7
2บทละครของคนโง่
Gusha no End Roll (愚者のエンドロール)
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2545
978-4-04-427102-2
978-616-06-0989-5
3ลำดับแห่งคุดร์ยัฟกา
Kudoryafuka no Junban (クドリャフカの順番)
30 มิถุนายน พ.ศ. 2548
978-4-04-873618-3
978-616-06-1211-6
4เจ้าหญิงเดินอ้อม
Tōmawari Suru Hina (遠まわりする雛)
3 ตุลาคม พ.ศ. 2550
978-4-04-873811-8
978-616-06-1387-8
5ระยะห่างระหว่างเราสอง
Futari no Kyori no Gaisan (ふたりの距離の概算)
25 มิถุนายน พ.ศ. 2553
978-4-04-874075-3
978-616-06-1531-5
หนังสือในชุดอีกเล่มโดยสำนักพิมพ์คาโดกาวะ ซึ่งเล่มนี้ยังไม่มีการจัดแปลเป็นภาษาไทย
[แก้]
# ชื่อเล่ม วันที่ออกจำหน่ายต้นฉบับ วันที่ออกจำหน่ายไทย
6Last seen bearing
Imasara tsubasa to iware temo (いまさら翼といわれても)
25 มิถุนายน พ.ศ. 2562
978-4-04-108164-8
N/A ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBNT}}: invalid character

อนิเมะ

[แก้]

อนิเมะทั้งหมด 22 ตอน สร้างขึ้นจากนิยายสี่เล่มแรก กำกับโดยยาซูฮิโระ ทาเกโมโตะ ผลิตโดยเกียวโตแอนิเมชัน ออกอากาศที่ญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555 ถึง 16 กันยายน พ.ศ. 2555

รายชื่อตอน

[แก้]
ตอนที่ ชื่อตอน ญี่ปุ่น วันที่ออกอากาศ
1 "ฟื้นชีวิตชมรมวรรณกรรมอันเก่าแก่"
"Dentō Aru Koten-bu no Saisei" (伝統ある古典部の再生) 
22 เมษายน 2555
2 "กิจกรรมชมรมวรรณกรรมที่น่านับถือ"
"Meiyo Aru Koten-bu no Katsudō" (名誉ある古典部の活動) 
29 เมษายน 2555
3 "เหตุผลของผู้สืบทอดชมรมวรรณกรรม"
"Jijō Aru Koten-bu no Matsuei" (事情ある古典部の末裔) 
6 พฤษภาคม 2555
4 "อดีตของชมรมวรรณกรรมอันทรงเกียรติ"
"Eikō Aru Koten-bu no Sekijitsu" (栄光ある古典部の昔日) 
13 พฤษภาคม 2555
5 "ความจริงของชมรมวรรณกรรมที่มีประวัติยาวนาน"
"Rekishi Aru Koten-bu no Shinjitsu" (歴史ある古典部の真実) 
20 พฤษภาคม 2555
6 "การก่อมหาบาป"
"Taizai o Okasu" (大罪を犯す) 
27 พฤษภาคม 2555
7 "มองตัวจริงบ้าง"
"Shōtai Mitari" (正体見たり) 
3 มิถุนายน 2555
8 "ไปดูตัวอย่างหนังกัน!"
"Shishakai ni Ikō!" (試写会に行こう!) 
10 มิถุนายน 2555
9 "คดีฆาตกรรมในหมู่บ้านร้างฟุรุโอกะ"
"Furuoka Haison Satsujin Jiken" (古丘廃村殺人事件) 
17 มิถุนายน 2555
10 "จุดบอดของมนุษย์ทั้งมวล"
"Ban'nin no Shikaku" (万人の死角) 
24 มิถุนายน 2555
11 "เอ็นด์โรลของคนเขลา"
"Gusha no Endorōru" (愚者のエンドロール) 
1 กรกฎาคม 2555
11.5 (OVA) "สิ่งที่สมควรจะมี"
"Motsu beki Mono wa" (持つべきものは) 
8 กรกฎาคม 2555[3]
12 "สิ่งนั้นที่ทับถมกันไม่สิ้นสุด"
"Kagiri-naku Tsumareta Rei no Are" (限りなく積まれた例のあれ) 
8 กรกฎาคม 2555
13 "ร่างไร้วิญญาณยามเย็น"
"Yūbe ni wa Mukuro ni" (夕べには骸に) 
15 กรกฎาคม 2555
14 "วายไฟเยอร์"
"Wairudo Faia" (ワイルド・ファイア) 
22 กรกฎาคม 2555
15 "คดีจูโมจิ"
"Jūmonji Jiken" (十文字事件) 
29 กรกฎาคม 2555
16 "เป้าหมายอย่างสุดท้าย"
"Saigo no Hyōteki" (最後の標的) 
5 สิงหาคม 2555
17 "ลำดับของคุดร์ยัฟกา"
"Kudoryafuka no Junban" (クドリャフカの順番) 
12 สิงหาคม 2555
18 "แดดบนภูเขายังแรงอยู่หรือเปล่า"
"Renpō wa Harete Iru ka" (連峰は晴れているか) 
19 สิงหาคม 2555
19 "คนที่อยู่ในใจนั้น"
"Kokoroatari no Aru Mono wa" (心あたりのある者は) 
26 สิงหาคม 2555
20 "สุขสันต์วันแสนเบื่อ"
"Akimashite Omedetō" (あきましておめでとう) 
2 กันยายน 2555
21 "คดีช็อกโกแลตวันวาเลนไทน์"
"Tezukuri Chokorēto Jiken" (手作りチョコレート事件) 
9 กันยายน 2555
22 "เจ้าหญิงผู้เดินทางอ้อม"
"Tōmawari Suru Hina" (遠まわりする雛) 
16 กันยายน 2555

มังงะ

[แก้]

ดัดแปลงเป็นมังงะชื่อ Hyōka และภาพประกอบโดย Taskohna เริ่มพิมพ์ในเดือนมีนาคม 2555 โดย Shōnen Ace ของ Kadokawa Shoten บททังโกบงบทแรกออกในวันที่ 26 เมษายน 2555[4] และทั้งเก้าเล่มได้ปล่อยตัวเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2558[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Kyoto Animation's Hyoka Mystery TV Series Inspires Manga". Anime News Network. 2011-12-22. สืบค้นเมื่อ 2012-1-21. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "Kyoto Animation Schedules Hyoka for April". Anime News Network. 2012-1-19. สืบค้นเมื่อ 2012-1-21. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. "「氷菓」第11.5話先行配信告知". TVアニメ「氷菓」オフィシャルサイト. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-25. สืบค้นเมื่อ 2013-06-08.
  4. "氷菓 (1)" [เฮียวกะ (1)] (ภาษาญี่ปุ่น). Kadokawa Shoten. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-20. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  5. "氷菓 (2)" [เฮียวกะ (2)] (ภาษาญี่ปุ่น). Kadokawa Shoten. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-24. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]