ปราสาทเคมบริดจ์
ปราสาทเคมบริดจ์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ Castle Mound ตั้งอยู่ที่ เคมบริดจ์ เคมบริดจ์เชอร ประเทศอังกฤษ ก่อสร้างขึ้นครั้งแรกหลังจาก การรุกรานของชาวนอร์มัน เพื่อควบคุมเส้นทางเดินทางสำคัญที่มุ่งสู่ทางเหนือของอังกฤษ และมีส่วนสำคัญในความขัดแย้งของระบอบ อนาธิปไตย ในสงครามบารอนใน ครั้งแรก และ ครั้งที่สอง หลังจากการขยายราชอาณาจักรของ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ปราสาทก็ไม่ได้ถูกใช้งานและทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็วในปลายยุคกลาง สิ่งก่อสร้างจากหินถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างอาคารของสถาบันการศึกษาโดยรอบ ปราสาทเคมบริดจ์ได้รับการบูรณะในระหว่างสงครามกลางเมืองของอังกฤษ แต่ก็ได้ทรุดโทรมลงอีกครั้ง ทั้งยังถูกใช้เป็นที่คุมขัง ในช่วงแรก ที่คุมขังในปราสาทได้ถูกรื้อถอนในปี 1842 และได้สร้างที่คุมขังใหม่ในกำแพงชั้นนอกของปราสาท ต่อมาที่คุมขังดังกล่าวได้ถูกรื้อถอนไปในปี 1932 และแทนที่ด้วยศาลากลางมณฑลสมัยใหม่ และคงเหลือ เนินดิน และกำแพงดินบางส่วน สถานที่ดังกล่าวเปิดให้สาธารณชนเข้าชมทุกวันและยังได้ชมทัศนียภาพของอาคารทางประวัติศาสตร์ของเมือง
ประวัติศาสตร์
[แก้]ศตวรรษที่ 11
[แก้]ปราสาทเคมบริดจ์เป็นหนึ่งในสามปราสาทที่สร้างข้ามผ่านทิศตะวันออกของอังกฤษในปลาย 1068 โดย กษัตริย์วิลเลี่ยม หลังจากการนำทัพขึ้นเหนือเพื่อยึดครอง ยอร์ค[1][nb 1] เคมบริดจ์ หรือที่ทราบกันภายหลังว่า Grantabridge เป็นเส้นทางเดินรบเก่าในสมัยโรมันจากลอนดอนถึงยอร์ค ซึ่งเป็นทั้งจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญและเป็นจุดเสี่ยงในการก่อกบฏ[3] การก่อสร้างในเริ่มแรกวบคุมการก่อสร้างโดยผู้ว่าการPicot ผู้ซึ่งต่อมาได้สร้าง ศาสนสถาน ใกล้กับปราสาท[4] ปราสาทถูกสร้างบนรูปแบบ เนินดินล้อมรอบด้วยกำแพงชั้นนอก และยังคงเมืองเดิมไว้ ซึ่งทำให้ต้องรื้อบ้านเรือนรวม 27 หลังในการสร้างปราสาท[4]
ศตวรรษที่ 12 -13
[แก้]ปราสาทหลังนี้ได้ถูกก่อสร้างโดยกษัตริย์นอร์มันและคงอยู่จนถึงช่วงสงครามกลางเมือง โดยประเทศได้ถูกปกครองโดย ระบอบอนาธิปไตย ในปี ค.ศ. 1139 .[5] ปราสาทหลังนี้เป็นฉนวนอันสำคัญที่เป็นข้อพิพาทระหว่างจักรพรรดินีมาทิลดา กับ กษัตริย์สตีเฟน ในขณะนั้น ภายหลังในปี 1143 จีออฟฟรีย์ เอด แมนเดอวิลล์ ผู้สนับสนุนจักรพรรดินีได้บุกโจมตีเมืองเคมบริดจ์ และปราสาทหลังนี้ได้ถูกยึดครองชั่วคราวในครั้งนั้นด้วย.[5] กษัตริย์สตีเฟนบุกโจมตีกลับ และบังคับให้ จีออฟฟรีย์ถอยร่นไปใน Fens และยึดครองปราสาทเคมบริดจ์กลับคืน [6] ยังคงไม่มีเกราะปราการเพื่อป้องกันตัวปราสาทไว้ แต่อย่างไรก็ตามกษัตริย์สตีเฟนได้สร้างป้อมปราการขึ้นที่เบอร์เวล เพื่อให้เป็นการป้องกันเพิ่มเติม [7] จีออฟฟรีย์ได้เสียชีวิตในขณะที่พยายามโจมตีปราสาทเบอร์เวลในปีต่อมาส่งผลให้ปราสาทเคมบริดจ์ได้คงอยู่รอดปลอดภัยตั้งแต่นั้นมา[7]
ภายใต้การปกครองของ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 ท่านได้ทรงรักษาปราสาทแห่งนี้เป็นอย่างดี โดยได้มีการซ่อมแซมปราสาทนี้เล็กน้อยเพื่อให้ปราสาทได้คงสภาพเดิม.[8] จากนั้นได้มีการก่อตั้งระบบรักษาความปลอดภัย ขึ้น ซึ่งการป้องกันนี้จะเกิดขึ้นจากเนื้อที่รอบๆ ปราสาทที่ได้ยกให้ผู้ปกครองมณฑลท้องถิ่นเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ในเงื่อนไขที่ว่าพวกเขาจะต้องเป็นผู้ปกป้องและคุ้มครองปราสาทด้วย โดยแรกเริ่มพื้นที่ปราสาทแห่งนี้เป็นศาลและเป็นที่เก็บเอกสารของผู้ปกครองมณฑล[9] กษัตริย์ จอน์ห ได้ทำการขยายพื้นที่ปราสาทแห่งนี้อีกในปีถัดมา ก่อน สงครามบารอนครั้งที่ 1 ได้เริ่มขึ้นในช่วงค.ศ. 1215 ถึง 1217 เพียงแต่การก่อสร้างครั้งนี้ได้เน้นเพิ่มเติมห้องโถงใหม่ และพระที่นั่งในงบประมาณ 200 ปอนด์ [10][nb 2] ในช่วงสงคราม กลุ่มขุนนางที่ต่อต้านซึ่งได้รับการสนันสนุนจาก เจ้าชายหลุยส์แห่งฝรั่งเศส ได้ครอบครองพื้นที่ทางฝั่งตะวันออกของประเทศอังกฤษ จึงเป็นเหตุให้ปราสาทเคมบริดจ์ได้ถูกเปลี่ยนมือไปในปีค.ศ. 1216 [12] ปราสาทแห่งนี้ได้กลับคืนสู่การครอบครองโดยราชวงศ์หลังจากเสร็จสิ้นสงคราม พระเจ้าเฮนรี่ที่ 3 ได้ทำการซ่อมบำรุงป้อมปราการแบบปกติเท่านั้น เมืองเคมบริดจ์ได้ถูกโจมตีอีกครั้งในช่วง ส่งครามบารอนครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1266 [13] ในครั้งนี้เมืองและปราสาทแห่งนี้ได้ตรึงกำลังได้นานพอสมควรด้วยกองกำลังของพระเจ้าเฮนรี่่ และกษัตริย์ได้เสริมหน้าเมืองด้วยคูน้ำขนาดใหญ่ จนกระทั่งภายหลังได้รู้จักท่านในนามของกษัตริย์คูน้ำ[13]
ปราสาทเคมบริดจ์ยังคงเหลือเพียงแต่ป้อมปราการพื้นฐานจนกระทั่งปี ค.ศ. 1284 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 ได้ตัดสินใจเป็นผู้รับอาสาในการปฏิบัติงานในการสร้างและขยายปราสาทแห่งนี้ [14] ใช้ระยะเวลา 14 ปี และได้ใช้งบประมาณไปอย่างน้อย 2,630 ปอนด์ในการสร้างปราสาทขึ้นมาซึ่งได้ใช้หินในการจัดสร้าง.[14][nb 3] ปราสาทของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด สร้างโดยถูกแยกเป็น 4 ด้าน พร้อมกับหอคอยรูปวงกลมอยู่ในแต่ละมุมพร้อม ประตูทางเข้า-ออก และ ประตูปราสาท.[15] หินก้อนเหลี่ยมที่ สร้าง ปราสาทตั้งอยู่บนก้อนดินแข็ง [15] ผลลัพธ์คือได้"ป้อมปราการหลักที่ทันสมัยที่สุด" ถึงแม้ว่าดูแล้วว่าปราสาทได้สร้างเสร็จเรียบร้อยทีเดียว [15] แต่พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดได้พักอยู่ที่ปราสาทเพียง 2 คืนในปีค.ศ. 1294.[13]
ศตวรรษที่ 14-17
[แก้]ในระหว่างศตวรรษที่ 14ปราสาทได้เริ่มเข้าสู่สภาวะเสื่อมโทรม [13] ตั้งแต่สมัยของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 เป็นต้นมา เงินจำนวนน้อยนิดถูกใช้ไปในการดูแลรักษาทรัพย์สิน [15] และโดยในศตวรรษที่ 15 ปราสาทก็อยู่ในสภาพที่เป็นเหมือนซากปรักหักพัง ห้องโถงและห้องประชุมในปราสาทไม่มีหลังคา และในสมัยของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 6 ได้มีคำสั่งให้ดำเนินการรื้อทำลายปราสาทและใช้หินที่เหลือในการก่อสร้างมหาวิทยาลัย King's College ในปีคริสต์ศักราชที่1441 ทั้งยังได้นำเอาบางส่วนของปราสาทมาช่วยในการสร้างอาคารของโบถส์ Trinity College [16] นอกเหนือจากนี้ในศตวรรษที่ 16 พระราชินีแมรี่ที่ 1 ยังได้นำหินของปราสาทบางส่วนไปสร้างคฤหาสน์ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับ Scawston ในเฟน (Fens) และหินส่วนที่เหลือได้นำไปให้กับมหาวิทยาลัย Emmanuel college และ Magdalene college[17] ในปีคริสต์ศักราชที่1604 มีเพียงประตูรั้วใหญ่ (gatehouse) ซึ่งถูกใช้เป็นที่คุมขังและยังคงสภาพเหมือนเดิมซึ่งแวดล้อมไปด้วยผนังร่วมสมัยที่ถูกทำลายโดยไม่เหลือชิ้นดี [15]
ในปีคริสต์ศักราชที่ 1642 ได้เกิดสงครามกลางเมือง ขึ้นในอังกฤษระหว่างกลุ่มที่ภักดีกับกษัตริย์ ์และกลุ่มที่สนับสนุนระบบรัฐสภา. ปราสาทเคมบริดจ์ถูกยึดครองโดยอำนาจของรัฐสภาในปีแรกของสงครามกลางเมือง[18] Oliver Cromwell มีคำสั่งให้ดำเนินการซ่อมแซมส่วนที่เสียหายอย่างเร่งด่วน และในการนี้ส่งผลให้มีการสร้างปราการดินใหม่ 2 แห่งและ ค่ายทหาร ก่อด้วยอิฐบนพื้นที่กำแพงเดิม[19] ในปีคริสต์ศักราชที่ 1643 ผู้ว่าราชการแห่งเคมบริดจ์ได้แถลง ว่า “ตอนนี้เมืองและปราสาทของเรามีความแข็งแรงมาก...เนื่องจากมีป้อมปราการดินซึ่งสามารถป้องกันข้าศึกได้เป็นอย่างดี” ซึ่งต่อมาในปีคริสต์ศักราชที่ 1647[20] ในระหว่างสงครามนั้นไม่น่าจะเกิดการต่อสู้แล้วรัฐสภาก็ยังได้มีคำสั่งให้คงรักษาป้อมปราการไว้เหมือนเดิมไม่ให้ทำลายโดยให้เกิดความเสียหายไปเองจากการใช้งาน[15]
ศตวรรษที่ 18-19
[แก้]ปราสาทเริ่มทรุดโทรมอย่างรวดเร็วหลังจากแนวกำแพงที่ยังเหลืออยู่และป้อมปราการได้ถูกทำลาย เมื่อปี ค.ศ. 1785 ทำให้เหลือแต่ Gatehouse และ เนินดิน (earth motte)[19] Gatehouse ได้ถูกใช้เป็นห้องขังของเทศมณฑลเมื่อศตวรรษที่ 19 โดยมีการจัดการเพื่อใช้เป็นหาผลประโยชน์ทางธุรกิจ เช่นเดียวกับ ห้องขังอื่นๆ[21] ผู้ดูแลห้องขังแคสเซิลได้รับเงิน จำนวน 200 ปอนด์ต่อปี จากเทศมณฑล ในปี ค.ศ. 1807 (หรือประมาณ 13,100 ปอนด์ในปี ค.ศ. 2009)
เมื่อห้องขังใหม่ของเทศมณฑลถูกสร้างขึ้นมาบนพื้นที่ภายนอกกำแพงเมืองแคสเซิล จึงเป็นจุดสิ้นสุดห้องขัง Castle[22] โดยห้องขังใหม่นี้ถูกสร้างโดย จี บายฟิลด์ ระหว่างปี ค.ศ. 1807 – 1811 ตามแบบสถาปัตยกรรมทันสมัยอาคารทรง 8 เหลี่ยม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากนักปฏิรูปห้องขัง จอห์น ฮาเวิร์ด ต่อมา Gatehouse แคสเซิล ได้ถูกรื้อทำลาย เพื่อสร้างเป็นถนนมุ่งหน้าไปอาคารศาลยุติธรรมแห่งใหม่ประจำมณฑล[23]
ปัจจุบัน
[แก้]ปัจจุบันยังคงเหลือเพียงบางส่วนของปราสาทจากยุคกลางเพียง10 เมตร (33ฟุต) บนเนินสูง ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของเมือง และเหลือเศษซากบางส่วนของกำแพงดินโดยรอบ[24] เปิดให้สาธารณชนเข้าชมฟรีและยังได้ชมทัศนียภาพของอาคารทางประวัติศาสตร์ของเมือง ทั้งเนินดินและกำแพงดินยังเป็นส่วนหนึ่งของบัญชีอนุเสาวรีย์ทางประวัติศาสตร[25] ส่วนนึงของกำแพงชั้นนอกและคุกในศตวรรษที่ 19 ถูกใช้งานเป็นสำนักงานใหญ่ Cambridgeshire County Councilของจังหวัดเคมบริดจ์เชอร์ ที่ Shire Hall ที่ถูกสร้างขึ้นในปี1932[24]
See also
[แก้]Notes
[แก้]- ↑ The other two eastern castles built that year were Lincoln and Huntingdon Castle.[2]
- ↑ It is notoriously difficult to accurately convert medieval financial figures into modern equivalents. For comparison, £200 is around two-thirds of the annual income of a "well-to-do" baron of the period.[11]
- ↑ It is notoriously difficult to accurately convert medieval financial figures into modern equivalents. For comparison, £2,620 is around nine times the annual income of a "well-to-do" baron of the period.[11]
References
[แก้]- ↑ Mackenzie, p.310, Pounds, p.7.
- ↑ Pounds, p.7.
- ↑ Pounds, p.57.
- ↑ 4.0 4.1 Pounds, p.58.
- ↑ 5.0 5.1 Bradbury, p.144.
- ↑ Bradbury, p.145.
- ↑ 7.0 7.1 Bradbury, p.146.
- ↑ Brown, p.171.
- ↑ Pounds, pp.46, 98; Brown, p.71.
- ↑ Mackenzie, p.310; Brown, p.71.
- ↑ 11.0 11.1 Pounds, p.139.
- ↑ Pounds, p.116.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 13.3 Mackenzie, p.310.
- ↑ 14.0 14.1 Brown, p.71.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 15.5 Brown, p.73.
- ↑ Brown, p.73; Mackenzie, p.310.
- ↑ Mackenzie p.310; Brown, p.73.
- ↑ Wedgwood, p.106.
- ↑ 19.0 19.1 Mackenzie, p.311; Brown, p.73.
- ↑ Thompson, p.139.
- ↑ Finn, p.135; 2009 equivalent prices using the Measuring Worth เก็บถาวร 2009-11-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน website, accessed 29 January 2011.
- ↑ Pounds, p.100; The Cambridge Guide, p.212.
- ↑ Mackenzie, p.311; Cambridge Castle, Heritage Gateway, accessed 28 January 2011.
- ↑ 24.0 24.1 Cambridge Castle เก็บถาวร 2007-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Cambridgeshire Country Council, accessed 29 January 2011.
- ↑ Cambridge Castle mound, Ancient Monuments, accessed 13 July 2011; 'Civil War earthworks at the Castle', Ancient Monuments, accessed 13 July 2011.
Bibliography
[แก้]- Anon. (1837) The Cambridge Guide: including historical and architectural notices of the public buildings, and a concise account of the customs and ceremonies of the university. Cambridge: Deighton. OCLC 558127530.
- Bradbury, Jim. (2009) Stephen and Matilda: the Civil War of 1139-53. Stroud, UK: The History Press. ISBN 978-0-7509-3793-1.
- Brown, Reginald Allen. (1989) Castles From The Air. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-32932-3.
- Finn, Margot C. (2003) The Character of Credit: Personal Debt in English Culture, 1740-1914. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-82342-5.
- Mackenzie, James D. (1896) The Castles of England: Their Story and Structure, Vol II. New York: Macmillan.
- Pounds, Norman John Greville. (1990) The Medieval Castle in England and Wales: a social and political history. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-45828-3.
- Thompson, M. W. (1994) The Decline of the Castle. Leicester, UK: Harveys Books. ISBN 1-85422-608-8.
- Wedgwood, C. V. (1970) The King's War: 1641–1647. London: Fontana. OCLC 58038493.