ปรัชญาเวียดนาม
ปรัชญาเวียดนาม ประกอบไปด้วยปรัชญาขงจื่อดั้งเดิม ศาสนาท้องถิ่นของเวียดนาม และปรัชญายุคหลังซึ่งได้รับอิทธิพลจากปรัชญาฝรั่งเศส ลัทธิมากซ์ ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก และอื่น ๆ
ลัทธิขงจื่อในเวียดนาม
[แก้]ลัทธิขงจื่อเข้ามาในเวียดนามและได้รับการสนับสนุนในสมัยบั๊กเถือก (สมัยภายใต้การปกครองของจีน) ทั้งสี่ครั้ง เริ่มจากการการครอบครองเวียดนามครั้งแรกของจีนเมื่อ 111 ปีก่อนคริสต์ศักราช [1] ซึ่งยังเป็นจุดเริ่มต้นของลัทธิเต๋าและพุทธศาสนาในเวียดนาม ลัทธิขงจื่อได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลซึ่งมีระบบตรวจสอบโดยศาลขงจื่อในเวียดนาม อีกทั้งมีการส่งเสริมระบบครอบครัวและการอบรมสั่งสอนเด็กให้รู้จักกตัญญูต่อบุพการีด้วยการเชื่อฟังผู้ใหญ่ [2]
การศึกษาปรัชญาเวียดนาม
[แก้]งานวิจัยที่เกี่ยวกับปรัชญาเวียดนามส่วนมากดำเนินการโดยนักวิชาการชาวเวียดนามสมัยใหม่[3] ปรัชญาเวียดนามแบบดั้งเดิมได้รับการอธิบายโดยนักเขียนชีวประวัติคนหนึ่งของโฮจิมินห์ (Brocheux, 2007) ในฐานะ "ปรัชญาจีน-เวียดนาม" ซึ่งผสมผสานระหว่างลัทธิขงจื่อ พุทธศาสนา และลัทธิเต๋า [4] นักวิจัยบางคนพบหลักฐานเชิงประจักษ์ของ "การผสมผสาน" นี้และนิยามปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมนี้ว่าเป็น "การเสริมสร้างวัฒนธรรม" นักเขียนชาวคาทอลิกอีกคนหนึ่ง (Vu, 1966) [5] ได้วิเคราะห์ปรัชญาเวียดนามว่าประกอบไปด้วยปรัชญา ตามต่าย (หมายถึง "ธาตุทั้งสาม" อันประกอบด้วยสวรรค์ มนุษย์ และโลก) อภิปรัชญาแบบหยิน-หยาง และปรัชญาเกษตรกรรม [6] เจิ่น วัน ดว่าน ศาสตราจารย์สาขาวิชาปรัชญาประจำมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน (1996) [7] เห็นว่าปรัชญาเวียดนามมีแนวโน้มเป็นมนุษยนิยม แต่ไม่ยึดถือมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (anthropocentric)[8]
นักปรัชญาที่มีชื่อเสียง
[แก้]เล กวี๊ โดน เป็นสัญลักษณ์ของกวี นักปรัชญา และนักวิชาการทางด้านขงจื๊อในเวียดนาม นักปรัชญาขงจื๊อท่านอื่น ได้แก่ จู วัน อาน (ค.ศ. 1292–1370) ขุนนางชาวจีน, เล กว๊าต นักเขียนขงจื๊อที่ต่อต้านพุทธศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 14, หมัก ดิ๋ญ จี (ค.ศ. 1280–1350), เหงียน จ๋าย (ค.ศ. 1380–1442) นักวิชาการขงจื๊อที่มีชื่อเสียงในดั่ยเหวียต และเหงียน เควี้ยน (ค.ศ. 1835–1909) นักปรัชญาชาวเวียดนามยุคใหม่ที่มีชื่อเสียง ได้แก่ กาว ซวน ฮวี (ค.ศ. 1900–1983), เหงียน ซวี กวี๊ (ค.ศ. 1932–), เหงียน ดึ๊ก บิ่ญ (ค.ศ. 1927–), เหงียน ดัง ถุก (ค.ศ. 1909–1999), ฝั่ม กง เถี่ยน (ค.ศ. 1941–2011), เจิ่น วัน เส่า (ค.ศ. 1911–2010), เจิ่น ดื๊ก ถาว นักปรัชญาลัทธิมากซ์สมัยใหม่ (บันทึกไว้ที่ปารีส คริสต์ทศวรรษ 1960) และเลือง คิม ดิ่ญ นักปรัชญาคาทอลิกชาวเวียดนาม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ John R. Jones Guide to Vietnam 1994 - Page 29 "Confucianism. Confucianism entered Vietnam from China during the Bac Thuoc era (111 BC - AD 938) when the country was under the yoke.."
- ↑ Napier, Nancy K.; Vuong, Quan Hoang. What we see, why we worry, why we hope: Vietnam going forward. Boise, ID: Boise State University CCI Press, October 2013.
- ↑ Teaching and research in philosophy: Asia and the Pacific Unesco - 1986 Page 363 "On matters relating to national traditions in philosophy, the Vietnamese philosophers will continue to study the history of national philosophy, to write books on the history of Vietnamese philosophy, to do research on the typical characteristics ..."
- ↑ Pierre Brocheux, Ho Chi Minh: A Biography 2007 - Pages 204,205 “Ho was also steeped in the perennial Sino-Vietnamese philosophy that blended Confucianism (in its plural form incorporating Confucius, Mencius, Xunzi, and Wang Yang Ming)7 with Buddhism and Taoism."
- ↑ Vu Dinh Trac, "Triet ly truyen thong Viet Nam don duong cho Than Hoc Viet Nam," Dinh Huong 11 (1966)
- ↑ Peter C. Phan Vietnamese-American Catholics 2005 Page 27 "Vu Dinh Trac believes that traditional Vietnamese philosophy is constituted by tam tai philosophy, yin-yang metaphysics, and agricultural philosophy. These three strands are illustrated by the various symbols on the upper surface of the Dong ..."
- ↑ "Tu Viet triet toi Viet than," Dinh Huong 11 (1996)
- ↑ Fumitaka Matsuoka, Eleazar S. Fernandez Realizing the America of Our Hearts: Theological Voices of Asian ... 2003 Page 178 "Another important contributor to the retrieval and elaboration of Vietnamese philosophy is Tran Van Doan, professor of ... For Tran Van Doan, Vietnamese philosophy is humanistic (vi nhan) but not anthropocentric (day nhan) in so far as ...