ปรัชญาสถาปัตยกรรม
ปรัชญาสถาปัตยกรรม เป็นปรัชญาศิลปะสาขาหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับคุณค่าทางสุนทรียะของสถาปัตยกรรม ความหมายและความสัมพันธ์กับพัฒนาการของวัฒนธรรม
ประวัติศาสตร์
[แก้]สมัยโบราณ
[แก้]เพลโตได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ซึ่งมีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรมอย่างมาก เช่น สถาปัตยกรรมแบบ 'อุดมคตินิยม' และแบบ 'เพลโตใหม่' [1] อาจถือว่าเป็นรูปทรงเรขาคณิตแบบคลาสสิคในสาขาของจักรวาลวิทยา นักคิดที่ได้รับความนิยมในยุคแรก คือ พีทากอรัส (Pythagoras) ในประวัติศาสตร์ยุคแรก นักปรัชญาแยกสถาปัตยกรรม ('technion') ออกจากสิ่งก่อสร้าง ('demiorgos') โดยอ้างถึงลักษณะทางจิตในอดีต และต่อมากลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือสิ่งทางธรรมชาติ ที่เป็นเพียงการเสียดสีสังคมซึ่งช่างฝีมือชื่อดังสามารถกลายเป็นตัวแทนของเทพทางศาสนาได้ การแสดงผลงานแบบรูปแบบนิยมกับแบบเพลโตยังคงเป็นลักษณะสำคัญในการแยกแยะรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบหนึ่งออกจากอีกรูปแบบหนึ่ง และทำให้เกิดความแตกต่างของปรัชญาของรูปแบบ
ปรัชญาสถาปัตยกรรมมีวิวัฒนาการมาจากปรัชญาศิลปะ ซึ่งเริ่มปรากฏในหนังสือเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 เนื่องจากสมัยก่อนต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและวิศวกรรม สถาปัตยกรรมจึงถูกมองว่าเป็นศาสตร์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับศิลปะหรือไม่ได้อยู่ในขอบเขตของสุนทรียศาสตร์แบบคลาสสิกที่มีพื้นที่จำกัด ตามการวิจารณ์ของนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงโด่งดัง อย่างอิมมานูเอล ค้านท์ และ Alexander Gottlieb Baumgarten ที่ยึดมั่นในอุดมคติของ "ศิลปะบริสุทธิ์” [2] ซึ่งเป็นศิลปะที่ไม่ใช่ผลงานในเชิงประโยชน์ใช้สอยอย่างสถาปัตยกรรม
สมัยใหม่
[แก้]ดังที่มิเชล ฟูโกต์ นักปรัชญาสกุลหลังสมัยใหม่ได้กล่าวไว้ สถาปัตยกรรมสามารถกำหนดชีวิตทางสังคมได้ ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการทำความเข้าใจคุณค่าและวัฒนธรรมของบุคคล ในหนังสือ " Discipline and Punish " ฟูโกต์ได้วิเคราะห์วัฒนธรรมร่วมสมัยผ่านโครงการสถาปัตยกรรมของ Panopticon นักโทษเรือนจำคนใหม่โดยเฉพาะ เจเรมี เบนธัม ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการนี้้ได้สร้างสภาพแวดล้อมที่โปร่งใสเป็นพิเศษสำหรับนักโทษ ซึ่งทุกคนจะต้องอยู่ภายใต้การเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าโครงการนี้จะไม่บรรลุผล แต่ความคิดของเบนธัมกลับมีอิทธิพลต่ออุดมการณ์ของนักโทษเป็นอย่างมาก รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงแนวทางในการลงโทษทางสังคม ขณะเดียวกันประเด็นนี้ ฟูโกต์กลับบรรลุเป้าหมายอื่น นั่นคือ การใช้สถาปัตยกรรมเป็นเครื่องมือในการศึกษาวัฒนธรรมซึ่งแสดงให้เห็นถึงนัยยะของประเด็นปรัชญานี้
อย่างไรก็ตามปรัชญาสถาปัตยกรรมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของปรัชญาศิลปะจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากไม่มีศิลปะแบบอาวองการ์ดซึ่งเป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านสุนทรียศาสตร์ ศิลปะที่ตั้งอยู่ในเงื่อนไขของการผลิตซ้ำของรูปภาพเชิงจักรกลส่งผลให้ต้องมองหาวิธีการใหม่ ๆ ในช่วงเวลาเดียวกันรูปแบบสถาปัตยกรรมของกลุ่มโครงสร้างนิยมและ กลุ่มประโยชน์ใช้สอยนิยม (Functionalism) พยายามหาวิธีที่จะพิสูจน์สุนทรียภาพทางวิศวกรรมแบบใหม่ทั้งหมด ในอีกแง่มุมหนึ่งสถาปัตยกรรมได้รับการพิจารณาว่ามีความแปลกแยกไปจากศิลปะรูปแบบอื่น ๆ (เป็นสัญญาณของความเชื่อมโยงกับความต้องการเชิงปฏิบัติของมนุษย์และสังคม) กลายเป็นข้อได้เปรียบซึ่งเป็นส่วนสำคัญของระบบคุณค่าทางสุนทรียะแบบใหม่ ลัทธิบาศกนิยม (Cubism) และ ลัทธิอนาคตนิยม (Futurism) ได้กำหนดสุนทรียภาพที่เต็มไปด้วยรูปแบบของเครื่องจักร การสังหาร และความโหดเหี้ยม ซึ่งใกล้เคียงกับอุดมคติทางวิศวกรรมแบบเดียวกัน การสร้างสรรค์ทั้งหมดนี้เป็นมากกว่าสภาพแวดล้อมที่อำนวยความสะดวก ทำให้สถานะของสถาปัตยกรรมในศิลปะได้รับการยกระดับขึ้น รวมถึงความเข้าใจต่อศิลปะในตัวมันเอง[ต้องการอ้างอิง]
ปรัชญาสกุลหลังสมัยใหม่
[แก้]สถาปัตยกรรมถือว่ามีบทบาทสำคัญมากขึ้นหลังจากเกิดปรากฎการณ์ของปรัชญาสกุลหลังสมัยใหม่ R. Martin กล่าวว่า "ัมันน่าประหลาดใจว่าปรัชญาสกุลหลังสมัยใหม่เชิงวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อการอ้างอิงถึงสถาปัตยกรรม" [3] นักวิชาการบางคนอ้างว่าปรัชญาสกุลหลังสมัยใหม่ทั้งหมดมาจากแนวปฏิบัติของสถาปัตยกรรมและการปฏิเสธ " รูปแบบทางศิลปะของปรัชญาสมัยใหม่ (นวศิลป์) " ซึ่งเป็นรูปแบบทางสถาปัตยกรรม และสถาปนิกได้บัญญัติศัพท์ในรูปแบบของปรัชญาสกุลหลังสมัยใหม่ ดังนั้น F. Jameson จึงเขียนว่า "มันอยู่ในขอบเขตของสถาปัตยกรรม อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงผลิตผลทางสุนทรียศาสตร์นั้นมองเห็นได้ชัดเจนที่สุดและปัญหาทางทฤษฎีของพวกเขาได้รับการกล่าวขานและนำมาประกอบกันมากที่สุด (... ) ในความเป็นจริงมีการถกเถียงเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมว่าแนวคิดหลังสมัยใหม่ (... ) เริ่มปรากฏขึ้น " [4] ตามที่นักวิจัยได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า "Barthes and Eco ซึ่งใช้คำพูดของพวกเขาจากลัทธิรูปแบบนิยมแบบรัสเซีย (Russian Formalism) มองว่าการทำลายบรรทัดฐานดั้งเดิมเป็นเป้าหมายของสุนทรียศาสตร์ (sc., รหัสความงาม) ศิลปะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีลักษณะเฉพาะในการเป็นตัวบ่งชี้ความหมายของสิ่งต่าง ๆ ในการเล่นกับตัวตนที่ไม่มีที่สิ้นสุดตามแบบแผนเช่นเดียวกับภายในขอบเขตของมัน " [5] สิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักเขียนหลังสมัยใหม่อย่าง โรล็อง บาร์ต (R. Bart) และ อุมแบร์โด เอโก เห็นว่าสถาปัตยกรรมเป็นแหล่งที่มาของนวัตกรรมที่ปฏิวัติวงการศิลปะ
เอฟ. เจมสัน (F. Jameson) เชื่อว่ามีความสัมพันธ์กันพิเศษระหว่างสถาปัตยกรรมอเมริกันกับปรัชญาสกุลหลังสมัยใหม่ โดยเขาคิดว่า การกำเนิดของสถาปัตยกรรมแห่งชาติเกิดขึ้นพร้อมกันกับการบัญญัติคำศัพท์หรือความเป็นจริงของปรัชญาหลังสมัยใหม่ [6] อย่างไรก็ตามนักวิจัยบางคนไม่เห็นด้วยกับ "ต้นกำเนิดทางสถาปัตยกรรม" ของปรัชญาสกุลหลังสมัยใหม่ของเขา Andreas Huyssen จึงเสนอว่ากรอบความคิดของปรัชญาสกุลหลังสมัยใหม่ได้รับการกำหนดไว้ในการเคลื่อนไหวบางอย่างของวรรณกรรม อย่างไรก็ตามนักวิจัยคนนี้ยังตั้งข้อสังเกตถึงบทบาทพิเศษของสถาปัตยกรรมในการพัฒนาแนวคิดปรัชญาสกุลหลังสมัยใหม่ มาร์ตินอธิบายว่า "Huyssen ให้เครดิตกับสถาปัตยกรรมด้วยการช่วยเผยแพร่คำจำกัดความของปรัชญาหลังสมัยใหม่ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากวรรณกรรมไปสู่ขอบเขตทางด้านสุนทรียศาสตร์ที่ขยายออกไปในช่วงทศวรรษ 1970" [3] ลีโอตาร์ด (Lyotard) เชื่อว่าสถาปนิกหลังสมัยใหม่ไม่มีอะไรเหมือนกันกับแนวคิดของปรัชญาสกุลหลังสมัยใหม่อย่างแท้จริง และดังที่ Lyotard กล่าวไว้ในบทความ เรื่อง "Answering the Question: What Is Postmodernism?" (ตอบคำถาม: ปรัชญาหลังสมัยใหม่คืออะไร? ) ภายใต้ชื่อของปรัชญาหลังสมัยใหม่ สถาปนิกกำลังกำจัดโครงการ Bauhaus โดยการทิ้งหนูทดลองด้วยอ่างอาบน้ำแห่งลัทธิฟังก์ชันนิสม์" [7]
จุดเด่นของปรัชญาสถาปัตยกรรมสังเกตได้จากโรเบิร์ต เวนทูรี (Robert Venturi) ผู้ซึ่งเป็นสถาปนิกที่เขียนหนังสือซึ่งทำให้มีบทบาทไม่น้อยในการพัฒนาแนวคิดปรัชญาหลังสมัยใหม่มากกว่าการทดลองรูปแบบของสถาปัตยกรรม R. Venturi เป็นคนแรกที่ดึงดูดความสนใจของสถาปนิกสู่ศิลปะแบบป๊อปอาร์ต เขาปฏิเสธสถาปัตยกรรมแบบสมัยใหม่ Venturi ได้กำหนดระบบทางวัฒนธรรมแบบใหม่ขึ้น โดย Venturi ได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นระหว่างรูปแบบทางสถาปัตยกรรมกับอารยธรรม [8]
วิตเกนสไตน์กับปรัชญาสถาปัตยกรรม
[แก้]บ้านของวิทเกนไตน์ ถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่สำคัญที่สุดของความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญาและสถาปัตยกรรม บ้านหลังนี้สร้างขึ้นโดย ลุทวิก วิทเกนสไตน์ (Ludwig Wittgenstein) ผู้ซึ่งเป็นนักปรัชญาชื่อดังชาวออสเตรีย ซึ่งเป็นหัวข้อของการวิจัยอย่างละเอียดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางโวหาร บุคลิกภาพของวิทเกนสไตน์และปรัชญาของเขา [9] [10] [11] [12]
อ้างอิง
[แก้]
- ↑ Hendrix, John Shannon (1999). "Neoplatonic Philosophy and Roman Baroque Architecture". The European Studies Journal. University of Northern Iowa. 16 (1): 31–60.
- ↑ Harries K. (Winter 1987). "Philosophy and the Task of Architecture". Journal of Architectural Education. 40 (2): 29. doi:10.2307/1424928.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Martin R. "Architecture's Image Problem. Have We Ever Been Postmodern." Grey Room, No. 22 (Winter, 2006), p. 7.
- ↑ Jameson F. Postmodernism, or, The Cultural Logic of Late Capitalism. 2003. p. 2.
- ↑ Donougho M. The Language of Architecture // Journal of Aesthetic Education, Vol. 21, No. 3 (Autumn, 1987), p. 65.
- ↑ Jameson F. Postmodernism, or, The Cultural Logic of Late Capitalism. 2003. p. 97.
- ↑ Lyotard J.-F. Answering the Question: What Is Postmodernism? // Lyotard J.-F. The Posmodern Condition: A Report on Knowledge. 1984. p. 71.
- ↑ Martin R. Architecture's Image Problem. Have We Ever Been Postmodern // Grey Room, No. 22 (Winter, 2006), pp. 9-11.
- ↑ Himmelfarb G. "Jeremy Bentham’s Haunted House." Victorian Minds. (Knopf, 1968).
- ↑ Tilghman B.R. "Ludwig Wittgenstein, Architect." Journal of Aesthetics and Art Criticism. Vol. 53 (Fall)., Wijdeveld P. Ludwig Wittgenstein, Architect. (MIT Press, 1994).
- ↑ Wilson S.J. "The Play of Use and the Use of Play: an Interpretation of Wittgenstein’s Comments on Architecture." Architectural Review. 180.1073 (July 1986).
- ↑ Macarthur, David (2014). "Working on Oneself in Philosophy and Architecture: A Perfectionist Reading of the Wittgenstein House". Architectural Theory Review. 19 (2): 124–140. doi:10.1080/13264826.2014.951869.]
อ่านเพิ่มเติม
[แก้]วรรณกรรม
[แก้]- Brodsky-Lacour C. Lines of Thought: Discourse, Architectonics, and the Origin of Modern Philosophy. (Durham: Duke University Press, 1996).
- Capon D.S. Architectural Theory: The Vitruvian Fallacy. (New York: Wiley, 1999).
- Donougho M. "The Language of Architecture." Journal of Aesthetic Education, Vol. 21, No. 3 (Autumn, 1987), pp. 53–67.
- Fisher S. "Analytic Philosophy of Architecture: A Course".
- Fisher S. "Philosophy of Architecture", Edward N. Zalta (ed.), Stanford Encyclopedia of Philosophy (Fall 2015 Edition).
- Goldblatt D. "The Frequency of Architectural Acts: Diversity and Quantity in Architecture." Journal of Aesthetics and Art Criticism. Vol. 46.
- Graham G. "Art and Architecture." British Journal of Aesthetics. Vol. 29 (1989).
- Guyer P. "Kant and the Philosophy of Architecture." The Journal of Aesthetics and Art Criticism. Special Issue: the Aesthetics of Architecture. Vol. 69. pp. 7–19.
- Haldane J.J. "Aesthetic Naturalism and the Decline of Architecture." International Journal of Moral and Social Studies. Vol. 2-3 (1987, 1988).
- Harries K. Philosophy and the Task of Architecture // Journal of Architectural Education, Vol. 40, No. 2, (Winter,1987), pp. 29–30.
- Hershberger R.G. Architecture and Meaning // Journal of Aesthetic Education, Vol. 4, No. 4, Special Issue: The Environment and the Aesthetic Quality of Life (Oct., 1970), pp. 37–55.
- Kunze D. Architecture as Reading. Virtuality, Secrecy, Monstrosity // Journal of Architectural Education (1984), Vol. 41, No. 4 (Summer, 1988), pp. 28–37.
- Leddy T. "Kant's Aesthetics: Tattoos, Architecture, and Gender-Bending".
- Macarthur, D. “Pragmatism as a Philosophy of Architecture.” Footprint: Delft Architecture Theory Journal. Special Issue: Analytic Philosophy and Architecture. Issue 20 (2017): 105–120.
- Martin R. Architecture's Image Problem. Have We Ever Been Postmodern // Grey Room, No. 22 (Winter, 2006), pp. 6–29.
- Masiero R., Ugo V. Epistemological Remarks on Architecture // Epistemologia. Vol. 14 (1991).
- O'Hear A. Historicism and Architectural Knowledge // Philosophy. Vol. 68 (1993).
- Porphyrios D. Selected Aspects of Architecture and Philosophy in 18th Century Theory // International Architect 1 4 (1981).
- Rykwert J. The First Modems: the Architects of the Eighteenth Century (Cambridge: MIT Press, 1980).
- Scruton, Roger The Aesthetics of Architecture, Princeton University Press; First Edition (1979)
- Smith Chr. Architecture in the Culture of Early Humanism: Ethics, Aesthetics, and Eloquence, 1400-1470 (New York: Oxford University Press, 1992).
- Suppes P. Rules of Proportion in Architecture // Midwest Studies in Philosophy. Vol. 16 (1991).
- Weiss A.S. Mirrors of Infinity: The French Formal Garden and 17th Century Metaphysics (Princeton: Princeton Architectural Press, 1995).
- Whyte W. How Do Buildings Mean. Some Issues of Interpretation in the History of Architecture // History and Theory, Vol. 45, No. 2 (May 2006), pp. 153–177.
- Winters E. Technological Progress and Architectural Response // British Journal of Aesthetics. Vol. 31 (1991).
- Wood R.E. Architecture: The Confluence of Art, Technology, Politics, and Nature // American Catholic Philosophical Quarterly. Vol. 70 (1996).
การวิเคราะห์เชิงปรัชญาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมของวิตเกนสไตน์
[แก้]- Himmelfarb G. "Jeremy Bentham's Haunted House." Victorian Minds. (Knopf, 1968).
- Macarthur, D. “Working on Oneself in Philosophy and Architecture: A Perfectionist Reading of the Wittgenstein House.” Architectural Theory Review, vol. 19, no. 2 (2014): 124–140.
- Tilghman B.R. "Ludwig Wittgenstein, Architect." Journal of Aesthetics and Art Criticism. Vol. 53 (Fall).
- Wijdeveld P. Ludwig Wittgenstein, Architect. (MIT Press, 1994).
- Wilson S.J. "The Play of Use and the Use of Play: an Interpretation of Wittgenstein's Comments on Architecture." Architectural Review. 180.1073 (July 1986).
เชื่อมโยงภายนอก
[แก้]- Philosophy of Architecture article in the Internet Encyclopedia of Philosophy