ข้ามไปเนื้อหา

ประโยค (ภาษา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประโยค หมายถึงหน่วยหนึ่งของภาษา ที่มีความสมบูรณ์โดยเป็นการแทนความหมายของสภาพ จะประกอบด้วยสองส่วนเป็นอย่างน้อย คือภาคประธานและภาคแสดง การประกอบจะประกอบคำซึ่งมีสองคำหลักทำหน้าที่เป็นคำนามในภาคประธาน และคำกริยาในภาคแสดง โดยมากจะยึดหลักที่ว่า ประโยคสมบูรณ์ จะต้องประกอบด้วยกริยาแท้อย่างน้อยหนึ่งตัว เช่น ฝนตกหนัก ฉันไปทำงาน เป็นต้น

ประเภทของประโยค

[แก้]

ประโยคเพื่อการสื่อสาร

[แก้]
  • ประโยคบอกเล่า เป็นประโยคที่ใช้บรรยาย ให้ผู้อื่นเข้าใจในสารโดยไม่มีจุดประสงค์อื่น เช่น ดวงอาทิตย์มักขึ้นทางทิศตะวันออก หรือ English is fun.
  • ประโยคคำถาม เป็นประโยคที่ให้ผู้รับสาร ส่งสารตอบกลับมาอันเกี่ยวเนื่องกับประโยค โดยการตั้งคำถาม มักประกอบด้วย ปุจจฉาสรรพนาม หรือ การใช้ Question Tag เช่น ใครเป็นผู้ประดิษฐ์หลอดไฟ หรือ Is today very hot? Today is very hot, isn't it?
  • ประโยคปฏิเสธ อาจนับเป็นประโยคบอกเล่าชนิดหนึ่ง โดยผู้ส่งสารมักจะเน้นในการปฏิเสธมากกว่า โดยเติมคำว่า ไม่ เช่น วิกิพีเดียไม่ ต้องการการก่อกวน หรือ You cannot blank an article without a discussion.เป็นต้น
  • ประโยคขอร้อง เป็นประโยคที่ต้องการให้ผู้รับสาร เต็มใจทำตาม มักมีการเติมคำขอร้อง เช่น กรุณารักษามารยาทในหน้าพูดคุย หรือ Please donate! เป็นต้น (ประโยคขอร้อง อาจเรียกได้อีกว่า ประโยคชักชวน)
  • ประโยคคำสั่ง เป็นประโยคที่ต้องการสื่อให้ผู้รับสาร ทำตาม (โดยไม่เน้นถึงความคิดของผู้รับสาร) เช่น นั่งลงเดี๋ยวนี้! Go away!
  • ประโยคอุทาน เป็นประโยคที่มีจุดประสงค์พิเศษเหนือกว่าประโยคบอกเล่าโดยต้องการให้ผู้รับสารเข้าใจถึง อารมณ์ของประโยคด้วย หรือแสดงอารมณ์ ความรู้สึกโดยตรง เช่น อากาศช่างร้อนเสียนี่กระไร How hot it is!

ใช้รูปแบบการสร้างประโยคเป็นเกณฑ์

[แก้]
  • ประโยคความเดียว (เอกรรถประโยค) หมายถึง ประโยคที่มีภาคประธานและภาคแสดงเพียงอย่างละหนึ่งอัน ไม่สามารถแยกออกเป็นสองประโยคย่อยได้ เช่น วิกิพีเดียเป็นสารานุกรมเสรี, ฝนตกบางพื้นที่, ไฟดับเร็ว, น้ำไหลริน
  • ประโยคความรวม (อเนกรรถประโยค) หมายถึง ประโยคที่ประกอบด้วยประโยคความเดียวตั้งแต่สองประโยคขึ้นไป โดยมีสันธานเป็นตัวเชื่อม เช่น ถึงเขาจะมีอิทธิพลมาก แต่ผมก็ไม่กลัว, ตำรวจและทหารช่วยกันจับผู้ก่อการร้ายที่ชายแดน
  • ประโยคความซ้อน (สังกรประโยค) หมายถึง ประโยคที่ประกอบตั้งแต่สองประโยคย่อยขึ้นไป ซึ่งประโยคหนึ่งทำหน้าที่ขยายประโยคหนึ่ง ทำให้มีลำดับความสำคัญ (priority) ไม่เท่ากัน เช่น คนร้ายที่ฉกทองเมื่อวานนี้โดนจับไปแล้ว, เธออดอาหารเพื่อลดความอ้วน

ประโยคความซ้อนแบ่งออกเป็น 3 ชนิด

  1. นามานุประโยค
  2. คุณานุประโยค
  3. วิเศษณานุประโยค

ใช้รูปแบบการเรียงคำในประโยคเป็นเกณฑ์

[แก้]

โดยพิจาณา ณ ประโยคความเดียว หรือประโยคย่อยใด ๆ จะเห็นว่ามีรูปแบบการเรียงคำให้เป็นประโยค แตกต่างกันดังนี้

  • ประโยคกรรตุ เป็นประโยคที่มีประธานขึ้นก่อน เช่น รถวิ่งเข้าชนเสาไฟฟ้า
  • ประโยคกรรม หรือ กรรมการก เป็นประโยคที่มีกรรมขึ้นก่อน เช่น เสาไฟฟ้าโค่นรถวิ่งเข้าชน
  • ประโยคกริยา เป็นประโยคที่มีกริยาขึ้นก่อน เช่น มีกระท่อมหลังหนึ่งอยู่ในป่าใหญ่
  • ประโยคการิต เป็นประโยคที่มีกรรมรับ กรรมรอง เช่น แม่ใช้ให้นิดไปซื้อของ

คำบอกท่าทางของแต่ละประโยค

[แก้]

มักจะเป็นคำลงท้าย เช่น ล่ะ นะ สิ ตัวอย่างประโยค เช่น

  • คุณอยู่กับผมนะ
  • คุณไปไหนมาล่ะ
  • หนูไม่ชอบอะไรล่ะ
  • เรียกเขามาหน่อยสิ

การใช้คำในประโยคให้ถูกเหตุการณ์ (บุคคล)

[แก้]

ในการใช้ประโยคต้องใช้คำให้ถูกและเหมาะสมต่อบุคคล เช่น (ยกตัวอย่างที่ผิด)

* คุณครูสมชายครับ อาจารย์ใหญ่ให้ตามครูไปพบท่านเดี๋ยวนี้เลยครับ

คำที่เป็นตัวหนา ที่ถูกต้องต้องเป็น เรียนเชิญคุณครู จะได้ความใหม่ว่า "คุณครูสมชายครับ อาจารย์ใหญ่ให้เรียนเชิญคุณครูไปพบท่านเดี๋ยวนี้เลยครับ"