ประสบการณ์นิยม
ทางด้านปรัชญา ประสบการณ์นิยม หรือ ประจักษนิยม (อังกฤษ: empiricism) เป็นมุมมองทางญาณวิทยา ซึ่งถือว่าความรู้หรือการให้เหตุผลที่แท้จริงมาจาก ประสบการณ์จากการรับสัมผัสและหลักฐานเชิงประจักษ์ เท่านั้นหรือเป็นส่วนใหญ่[1] เป็นหนึ่งในมุมมองที่แข่งขันกันกับอีกหลายมุมมองในญาณวิทยา ร่วมกับเหตุผลนิยมและกังขาคติ นักประสบการณ์นิยมโต้แย้งว่าประสบการณ์นิยมเป็นวิธีการที่เชื่อถือมากกว่าในการค้นหาความจริงมากกว่าการใช้ เหตุผลเชิงตรรกะเพียงอย่างเดียว เพราะมนุษย์มีอคติทางความคิดและข้อจำกัดซึ่งนำไปสู่ข้อผิดพลาดในการตัดสิน[2] ประสบการณ์นิยมเน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของหลักฐานเชิงประสบการณ์ ในการก่อตัวของแนวคิด มากกว่ามโนภาพแต่กำเนิดหรือ ประเพณี[3] นักประสบการณ์นิยมอาจโต้แย้งว่าประเพณี (หรือธรรมเนียมปฏิบัติ) เกิดขึ้นเนื่องมาจากความสัมพันธ์ของประสบการณ์จากการรับสัมผัสก่อนหน้า
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Psillos, Stathis; Curd, Martin (2010). The Routledge Companion to Philosophy of Science (1. publ. in paperback ed.). London: Routledge. pp. 129–38. ISBN 978-0415546133.
- ↑ "Francis Bacon and the Four Idols of the Mind".
- ↑ Baird, Forrest E.; Walter Kaufmann (2008). From Plato to Derrida. Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Prentice Hall. ISBN 978-0-13-158591-1.[ต้องการเลขหน้า]