ประมวล วีรุตมเสน
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ ประมวล วีรุตมเสน[1] เป็นนายแพทย์ชาวไทย จากภาคสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2] ผู้สร้างผลงานเด็กหลอดแก้วรายแรกของประเทศไทย ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์[3]
ประวัติ
[แก้]ศ.นพ.ประมวล วีรุตมเสน เป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ของประเทศไทย โดยเป็นหนึ่งในทีมแพทย์ให้กำเนิดเด็กชายปวรวิทย์ ศรีสหบุรี ซึ่งเป็นเด็กหลอดแก้วรายแรกของไทยขึ้นได้สำเร็จ ณ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2530[1] นอกจากนี้ เขายังเป็นนักวิจัยสรีรวิทยาการเจริญพันธุ์ ตลอดจนเป็นอาจารย์และนักวิชาการ เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการแพทยสภาและเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาสูติ-นรีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน พ.ศ. 2536 – 2539 และเคยเป็นประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยช่วง พ.ศ. 2537 – 2538 รวมถึงเคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2535 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 อุ้มบุญมาเกิด : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์[ลิงก์เสีย]
- ↑ 20 ปีเทคโนโลยี "เด็กหลอดแก้ว" ได้ลูกกลับบ้าน 26%[ลิงก์เสีย]
- ↑ บันทึก 25 กรกฎาคม. บ้านเมือง. ปีที่ 11 (41) ฉบับที่ 3161 (18033). วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555. ISSN 1686-9370. หน้า 24
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๓๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗๖, ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๖
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่ยังไม่ทราบปีที่เกิด
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- ศาสตราจารย์กิตติคุณ
- แพทย์ชาวไทย
- บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- อาจารย์คณะแพทยศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย