ประพันธ์ อัมพุช
ประพันธ์ อัมพุช | |
---|---|
รองหัวหน้าพรรคสันติชน | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2518 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 เมษายน พ.ศ. 2465 อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 21 เมษายน พ.ศ. 2536 (71 ปี) |
คู่สมรส | กิ่งทอง อัมพุช |
ประพันธ์ อัมพุช (12 เมษายน พ.ศ. 2465 – 21 เมษายน พ.ศ. 2536) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย 2 สมัย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา อดีตรองหัวหน้าพรรคสันติชน และเป็นผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดพะเยา
ประวัติ
[แก้]ประพันธ์ อัมพุช เกิดเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2465 ที่ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรของนายเมืองใจ กับนางบุง อัมพุช มีน้อง 4 คน นายประพันธ์สมรสกับนางกิ่งทอง อัมพุช มีบุตร 3 คน
ประพันธ์ จบการศึกษาชั้นประถมจากโรงเรียนบ้านถ้ำประชานุเคราะห์ จบมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนเทศบาล 1 อำเภอเมืองพะเยา ต่อมาเข้าเรียนต่อจนจบประกาศนียบัตรวิชาชีพครู จากโรงเรียนฝึกหัดครู จังหวัดเชียงใหม่ และโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จากนั้นในปี พ.ศ. 2485 เข้ารับราชการครูที่โรงเรียนบ้านถ้ำประชานุเคราะห์
ประพันธ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2536
การเมือง
[แก้]ประพันธ์ อัมพุช ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงรายครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคสันติชน ในปี พ.ศ. 2518 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรค[1] ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย เขต 2 (พื้นที่อำเภอแม่สรวย, อำเภอเวียงป่าเป้า, อำเภอพาน, อำเภอแม่ใจ, อำเภอพะเยา, อำเภอดอกคำใต้ และ กิ่งอำเภอป่าแดด) และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 เป็น 1 ใน 8 ส.ส.ของพรรคสันติชน[2]
ประพันธ์ อัมพุช เป็นนักการเมืองที่ผลักดันการจัดตั้งจังหวัดพะเยา โดยการเสนอแยกออกจากจังหวัดเชียงราย เมื่อปี พ.ศ. 2518
ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 พะเยายกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด และได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดเป็นครั้งแรก (ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522) เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา ในนามพรรคชาติไทย
ประพันธ์ อัมพุช ได้รับการยกย่องโดยการสร้างอนุสาวรีย์ขึ้น ณ ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[4]
- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงพรรคการเมือง
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2020-06-16.
- ↑ พิธีเปิดอนุสาวรีย์อดีตส.ส.ประพันธ์ อัมพุธ และลานวัฒนธรรม
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙๓๐, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๐๙, ๒๑ เมษายน ๒๕๒๓
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2465
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2536
- บุคคลจากอำเภอเมืองพะเยา
- ครูชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดพะเยา
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรคสันติชน
- นักการเมืองพรรคกิจสังคม
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
- บุคคลจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ช.