ข้ามไปเนื้อหา

ประตูปีศาจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
“ประตูปีศาจ” ที่วัดเซนต์ปีเตอร์และเซนต์พอลที่บรอดเฮ็มพสตันในเดวอนในอังกฤษ
The Saxon-era St Nicholas' Church at Worth, West Sussex, has a Devil's door

ประตูปีศาจ (อังกฤษ: Devil's door) เป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างของคริสต์ศาสนสถานที่เป็นประตูบนผนังด้านเหนือของตัวสิ่งก่อสร้างของสถาปัตยกรรมยุคกลาง และคริสต์ศาสนสถานที่สร้างก่อนหน้านั้นในสหราชอาณาจักร ประตูปีศาจนิยมสร้างกันในสมัยโบราณในมณฑล ซัสเซ็กซ์ที่มีวัดที่มีประตูปีศาจด้วยกันกว่า 40 วัด[1] องค์ประกอบดังว่านี้มีต้นตอมาจากสมัยคริสเตียนยุคแรก เมื่อการสักการะตามวัฒนธรรมก่อนคริสเตียนยังคงนิยมปฏิบัติกันอยู่ และประตูดังกล่าวก็มักจะเป็นเพียงโครงสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์เท่านั้น แต่ก็มีบางครั้งก็จะเป็นทางเข้าจริง[2]

การใช้สอย

[แก้]

ก่อนและระหว่างยุคกลาง ด้านที่หันไปทางด้านเหนือถือว่าเป็นของปีศาจและของผู้นอกศาสนา[2][3] ฉะนั้นวัดจึงมักจะสร้างทางฝั่งเหนือของถนนหรือทางเดิน (track) เพื่อที่จะให้ทางเข้าหลักอยู่ทางตัวอาคารที่หันไปทางใต้[3] นอกจากนั้นในสมัยโบราณการสร้างวัดก็มักจะสร้างกันบนที่ตั้งที่เดิมเป็นสถานที่ที่ใช้ในการสักการะของ เพกันหรืออารยธรรมก่อนคริสเตียน เมื่อสร้างวัดขึ้นแล้วผู้นอกศาสนาก็ยังคงถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และยังคงเข้ามาสักการะอยู่ ฉะนั้นทางวัดจึงสร้างประตูทางทิศเหนือเพื่อให้ผู้ที่มิได้นับถือคริสต์ศาสนาได้เข้ามาทำการสักการะตามประเพณีของตน เพราะความที่มีความเกี่ยวข้องกับ “Devil” ประตูทางด้านเหนือของวัดจึงเรียกว่า “Devil's door”[2]

ต่อมาวัตถุประสงค์ที่นิยมเชื่อกันโดยเฉพาะในซัสเซ็กซ์ก็กล่าวว่าเป็นประตูที่ปีศาจใช้หนีออกจากวัด ความเชื่อโดยทั่วไปในยุคกลางเชื่อว่าปีศาจสิงอยู่ในวิญญาณของเด็กที่ยังไม่ทำพิธีรับศีลจุ่ม ฉะนั้นการทำพิธีรับศีลจุ่มก็เท่ากับเป็นการไล่ปีศาจออกจากร่างของเด็ก และปีศาจก็จะต้องมีทางออกจากวัด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการสร้างประตูทางกำแพงด้านเหนือเพื่อจุดประสงค์ดังว่านี้[1][2] ประตูปีศาจมักจะเป็นประตูที่มีขนาดเล็กกว่าที่จะใช้จริงได้ ฉะนั้นจึงเป็นเพียงโครงสร้างที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์เท่านั้น[1] ประตูเหล่านี้ที่ยังเหลืออยู่มักจะปิดตันด้วยอิฐ ซึ่งกล่าวกันว่าเพื่อกันไม่ให้ปีศาจกลับเข้าวัดอีก[1][2]

ตัวอย่าง

[แก้]

ประตูปีศาจพบทั่วไปในบริเตนแต่จะพบมากที่สุดในซัสเซ็กซ์ เช่นที่วัดเซนต์นิโคลัสที่เวิร์ธ[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Collins 2007, p. 52.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Piccardi & Masse 2007, p. 291.
  3. 3.0 3.1 Coppin 2006, p. 138.
  4. Holmes 1920, Unpaginated.
  • Collins, Sophie (2007). A Sussex Miscellany. Alfriston: Snake River Press. ISBN 978-1-906022-08-2.
  • Coppin, Paul (2006). 101 Medieval Churches of West Sussex. Seaford: S.B. Publications. ISBN 1-85770-306-5.
  • Piccardi, Luigi (2007). Myth and Geology. London: Geological Society of London. ISBN 1-86239-216-1. สืบค้นเมื่อ 2009-10-15. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthor= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]