ข้ามไปเนื้อหา

ประชา บูรณธนิต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประชา บูรณธนิต
หัวหน้าพรรคอธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 สิงหาคม พ.ศ. 2446
อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
เสียชีวิต4 มกราคม พ.ศ. 2529 (82 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองอธิปัตย์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกรมตำรวจ
ยศพลตำรวจโท[1]

พลตำรวจโท ประชา บูรณธนิต อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตหัวหน้าพรรคอธิปัตย์ เจ้าของฉายา "นายพลหนังเหนียว"[2][3]

ประวัติ

[แก้]

พลตำรวจโท ประชา บูรณธณิต เกิดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2446 เป็นชาวอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นทายาทสายสกุลของเจ้าเมืองนครราชสีมา เข้าเป็นนักเรียนโรงเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจรเข้ นครปฐม รุ่น พ.ศ. 2465 จบหลักสูตรเป็นนายร้อยตำรวจปี พ.ศ. 2468

พลตำรวจโท ประชา ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคเส้นโลหิตหัวใจอุดตัน เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2529

การทำงาน

[แก้]

ราชการตำรวจ

[แก้]

พลตำรวจโท ประชา เคยรับราชการตำรวจ จนได้รับฉายาว่า "นายพลหนังเหนียว" เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดมหาสารคาม ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 ผู้บังคับการตำรวจกองปราบปราม สมัยนั้นมีเพียงกองบัญชาการเดียวดูแลพื้นที่ภูธรทั่วประเทศ

ผลงานที่ส่งผลให้พลตำรวจโท ประชา มีชื่อเสียงโด่งดังคือการปราบปรามเสือร้ายมากมาย เช่น เสือผาด เสือเจริญ เสือใบ ฯลฯ[4] การปะทะกับคนร้ายหลายครั้งที่ถึงขั้นต้องวิสามัญเป็นเหตุให้ท่านถูกคนร้ายยิงด้วยปืนหลายครั้งแต่ก็ไม่เข้าเป็นเพียงเขียวช้ำ จนได้รับฉายาว่านายพลหนังเหนียว เฉพาะคดีสำคัญที่ถูกบันทึกไว้เป็นประวัติดีเด่นของกรมตำรวจขณะนั้นมีจำนวน 42 เรื่อง ได้รับเกียรติเป็นนายพลอัศวิน แหวนเพชร คนแรกของกรมตำรวจในสมัยของ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ท่านเกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2506

พลตำรวจโท ประชา เป็นผู้ที่มีความสนใจในเรื่องพระเครื่อง[5][6] และเป็นนายตำรวจที่สนิทสนมกับพลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช (บุตร พันธรักษ์)[7]

งานการเมือง

[แก้]

พลำตรวจโท ประชา ได้ร่วมงานการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ได้ร่วมกับ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์หลายคน จัดตั้งพรรคอธิปัตย์ขึ้น อาทิ นางศิระ ปัทมาคม นายบุญเกิด หิรัญคำ[8] ส่งผู้สมัครลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนักได้เพียง 2 ที่นั่ง และเขาเองก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๙ ตุลาคม ๒๕๐๒
  2. คอลัมน์ ชมรมพระเครื่อง : พระท่ากระดาน กรุเก่าศรีสวัสดิ์ กาญจนบุรี
  3. ปฏิรูปตำรวจจากเว็บไซต์ไทยรัฐ
  4. พระในคอนายกฯจากเว็บไซต์ไทยรัฐ
  5. https://www.taradplaza.com/product/4032173
  6. http://www.kamaitorn.com/shop/kamaitorn82/ViewProduct-15650.html
  7. http://thunyagboon.blogspot.com/2013_09_22_archive.html
  8. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 193 วันที่ 18 กันยายน 2517
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๔ มกราคม ๒๕๐๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2012-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๔๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๑๑
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๙๐, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
  13. ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙, ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๗๘
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๕ ง หน้า ๒๗๙๑, ๓๑ สิงหาคม ๒๔๘๖
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๐๕
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๓๐, ๒๔ กันยายน ๒๔๘๑
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๗๒๓, ๒๒ มีนาคม ๒๔๙๘
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๗๔ ง หน้า ๑๘๓๘, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๐๒