ข้ามไปเนื้อหา

ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ เป็นปรัชญาทางสังคมและเศรษฐกิจซึ่งเสนอให้เปลี่ยนอำนาจวินิจฉัยสั่งการจากผู้จัดการบริษัทและผู้ถือหุ้นบริษัทมาเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียสาธารณะในวงกว้างซึ่งประกอบด้วยคนงาน ลูกค้า ผู้ผลิตวัตถุดิบ ย่านที่อยู่อาศัยและสาธารณะในวงกว้าง ไม่มีบทนิยามหรือแนวเข้าสู่การศึกษาเดียวที่ครอบคลุมประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ แต่ผู้สนับสนุนส่วนใหญ่อ้างว่าความสัมพันธ์ของทรัพย์สินสมัยใหม่ผลักภาระต้นทุน ทำให้ความกินอยู่ดีทั่วไปมีความสำคัญน้อยกว่ากำไรเอกชนและปฏิเสธองค์การทางการเมืองไม่ให้มีสิทธิ์มีเสียงในการตัดสินใจนโยบายเศรษฐกิจ[1] นอกเหนือจากข้อกังวลทางศีลธรรมเหล่นี้ ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจยังมีข้ออ้างในการปฏิบัติ เช่น ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจชดเชยช่องว่างอุปทานยังผลในตัวของทุนนิยม[2]

ผู้สนับสนุนประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปให้เหตุผล่าวทุนนิยมสมัยใหม่ส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเป็นคาบ โดยทำให้เกิดการขาดอุปทานยังผลเพราะสังคมมีรายได้ไม่เพียงพอในการซื้อผลผลิตออกของทุนนิยม การผูกขาดของบริษัทซึ่งทรัพยากรสาธารณะตรงแบบทำให้เกิดความขาดแคลนจากฝีมือมนุษย์ ส่งผลให้เกิดความขาดสมดุลทางสังคมและเศรษฐกิจซึ่งจำกัดคนงานไม่ให้เข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจและลดอำนาจซื้อของผู้บริโภค[3] ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจนั้นมีการเสนอเป็นส่วนหนึ่งของอุดมการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่า เป็นทฤษฎีเดี่ยว ๆ และเป็นแบบหนึ่งของวาระการปฏิรูป ตัวอย่างเช่น มีการเสนอเป็นวิธีหนึ่งในการได้มาซึ่งสิทธิทางเศรษฐกิจอย่างสมบูรณ์ รวมทั้งเปิดเส้นทางสู่สิทธิทางการเมืองอย่างสมบูรณ์[1] มีการเสนอทฤษฎีประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจแบบตลาดและแบบไม่ใช่ตลาด ในฐานะวาระการปฏิรูป ทฤษฎีที่สนับสนุนและตัวอย่างโลกจริงมีตั้งแต่การกระจายอำนาจและการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจให้แก่สหกรณ์แบบประชาธิปไตย การธนาคารสาธารณะ การค้าโดยชอบธรรมและการผลิตอาหารและเงินตราแบบขึ้นกับภูมิภาค

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Smith 2005.
  2. Harvey 2010, p. 107.
  3. George 1912.
บรรณานุกรม
  • George, Henry (1912) [1879]. Progress and Poverty: An Inquiry into the Cause of Industrial Depressions and of Increase of Want with Increase of Wealth: The Remedy. Garden City, NY: Doubleday, Page & Co. OCLC 338381.
  • Harvey, David (2010). The Enigma of Capital and the Crises of Capitalism. Oxford [England]; New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-975871-5.
  • Smith, J.W. (2007). Money: A Mirror Image of the Economy. the Institute for Economic Democracy Press. ISBN 978-1-933567-12-9.

บทอ่านเพิ่มเติม

[แก้]