ข้ามไปเนื้อหา

ปฏิบัติการเยลโลเบิร์ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปฏิบัติการเยลโลเบิร์ด (อังกฤษ: Operation Yellowbird; จีน: 黄雀行动) เป็นปฏิบัติการในฮ่องกงเพื่อช่วยเหลือชาวจีนที่เข้าร่วมการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532 เพื่อช่วยเหลือจากการถูกรัฐบาลจีนจับกุม โดยมีการอำนวยความสะดวกให้เดินทางออกนอกประเทศทางทะเลผ่านฮ่องกง[1] หน่วยงานข่าวกรองตะวันตก เช่น ราชการข่าวกรองลับของบริเตน และสำนักข่าวกรองกลางของสหรัฐ ก็มีส่วนเกี่ยวข้องในปฏิบัติการนี้ด้วย[2] บุคคลอื่นที่เข้าร่วมด้วยมีทั้งนักการเมือง ผู้มีชื่อเสียง นักธุรกิจ และสมาชิกสมาคมลับชาวจีนจากฮ่องกง ซึ่งดำเนินมาเกือบตลอดระยะเวลาของปฏิบัติการนี้[3][4]

ปฏิบัติการเริ่มต้นในปลายเดือนมิถุนายน 2532 ให้หลังการออกคำสั่งของกรมความมั่นคงสาธารณะเทศบาลกรุงปักกิ่งในวันที่ 13 มิถุนายน 2532 ให้จับกุมผู้นำสหพันธ์ปกครองตนเองนักศึกษาปักกิ่งที่อยู่ระหว่างหลบหนี ปฏิบัติการนี้ดำเนินไปจนถึงปี 2540[5] เยลโลเบิร์ดช่วยเหลือผู้เห็นต่างจากรัฐบาลได้กว่า 400 คน ซึ่งได้มุ่งหน้าไปยังประเทศตะวันตก[6] มีนักกิจกรรมในฮ่องกงสามคนถูกทางการจีนจับกุม แต่ภายหลังถูกปล่อยตัวเพราะรัฐบาลฮ่องกงเข้าสอด[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Liu, Melinda (1 April 1996). "Still on the wing; inside Operation Yellowbird, the daring plot to help dissidents escape". Newsweek.
  2. Anderlini, Jamil (1 June 2014). "Tiananmen Square: the long shadow". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 2 June 2014. The extraction missions, aided by MI6, the UK’s Secret Intelligence Service, and the CIA, according to many accounts, had scrambler devices, infrared signallers, night-vision goggles and weapons.
  3. Lim, Louisa (2014). The People's Republic of Amnesia: Tiananmen Revisited. New York: Oxford University Press. pp. 70. ISBN 9780190227913.
  4. Wen, Philip (1 June 2014). "The incredible story of Brother Six, democracy activist, friend to triads". The Sydney Morning Herald. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2018. สืบค้นเมื่อ 28 March 2018.
  5. 營救八九民運領袖 前線總指揮首次披露 เก็บถาวร 2009-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Apple Daily, 28 May 2009
  6. Lee, Samson; Wong, Natalie (12 July 2011) "Praise for Brit agents who helped students" เก็บถาวร 16 ตุลาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Standard
  7. Shiu Tsu Bough Hing, Lo (2009). The politics of cross-border crime in greater China: case studies of mainland China, Hong Kong, and Macao. M.E. Sharp. pp. 87–88. ISBN 9780765623041.