ข้ามไปเนื้อหา

ปฏิทินฮินดู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน้าใดหน้าหนึ่งจากปฏิทินฮินดู 1871–72

ปฏิทินฮินดูเรียกอีกอย่างว่าปัญจางคะ (สันสกฤต: पञ्चाङ्ग) เป็นปฏิทินจันทรคติแบบหนึ่งที่ใช้กันทั่วไปในอนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคเพื่อวัตถุประสงค์ทางสังคมและศาสนาฮินดู ปฏิทินเหล่านี้มีแนวคิดพื้นฐานที่คล้ายคลึงกันสำหรับการคำนวณเวลา โดยอิงตามปีฤกษ์สำหรับรอบสุริยคติ และมีการปรับรอบจันทรคติทุกๆสามปี แต่จะแตกต่างกันในการเน้นที่รอบดวงจันทร์หรือรอบดวงอาทิตย์ รวมถึงชื่อของเดือนต่างๆ และช่วงเวลาที่กำหนดให้เป็นจุดเริ่มต้นของปีใหม่

ปฏิทินฮินดูที่ได้รับการศึกษาและเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ ศาลิวาหนะศกะ (อิงจากกษัตริย์ศาลิวาหนะ ซึ่งเป็นปฏิทินประจำชาติของอินเดียด้วย) ที่ใช้ในภูมิภาคเดคคานทางตอนใต้ของอินเดีย และวิกรมสังวัต (หรือปฏิทินพิกรมี) ที่ใช้ในเนปาลและภูมิภาคทางตอนเหนือและตอนกลางของอินเดีย ซึ่งทั้งสองปฏิทินนี้เน้นที่รอบจันทรคต โดยปีใหม่ของปฏิทินเหล่านี้จะเริ่มต้นในฤดูใบไม้ผลิ

ในบางภูมิภาค เช่น รัฐทมิฬนาฑูและรัฐเกรละ จะเน้นย้ำวัฏจักรสุริยะ และเรียกระบบนี้ว่าปฏิทินทมิฬ (แม้ว่าปฏิทินทมิฬจะใช้ชื่อเดือนเหมือนกับที่ใช้ในปฏิทินฮินดู) และปฏิทินมาลายาลัม ซึ่งมีต้นกำเนิดในช่วงครึ่งหลังของสหัสวรรษที่ 1 แห่งคริสตศักราช[1] ปฏิทินฮินดูบางครั้งเรียกว่าปัญจางคัม (पञ्चाङ्गम्) ซึ่งในอินเดียตะวันออกรู้จักกันในชื่อปันจิกาด้วย[2] แนวคิดการออกแบบปฏิทินฮินดูโบราณยังพบได้ในปฏิทินบาบิโลเนี ปฏิทินจีน และปฏิทินฮีบรู แต่มีความแตกต่างจากปฏิทินเกรกอเรียน[3] โดยในขณะที่ปฏิทินเกรกอเรียนปรับความไม่สอดคล้องระหว่างรอบจันทรคต 12 รอบ (354 วันจันทรคติ)[4] กับวันสุริยคติประมาณ 365 วันด้วยการเพิ่มวันเข้าไปในเดือนต่างๆ แต่ปฏิทินฮินดูจะรักษาความสมบูรณ์ของเดือนจันทรคติไว้ และแก้ปัญหาด้วยการแทรกเดือนเต็มพิเศษเข้าไปทุกๆ 32-33 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าเทศกาลและพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับฤดูกาลเพาะปลูกจะตรงกับช่วงเวลาที่เหมาะสมตามฤดูกาล[5]

ต้นกำเนิด

[แก้]

วัน

[แก้]

เดือน

[แก้]

ปี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. B. Richmond (1956). Time Measurement and Calendar Construction. Brill Archive. pp. 80–82. สืบค้นเมื่อ 2011-09-18.
  2. Klaus K. Klostermaier (2007). A Survey of Hinduism: Third Edition. State University of New York Press. p. 490. ISBN 978-0-7914-7082-4.
  3. Eleanor Nesbitt (2016). Sikhism: a Very Short Introduction. Oxford University Press. pp. 122–123. ISBN 978-0-19-874557-0.
  4. Orazio Marucchi (2011). Christian Epigraphy: An Elementary Treatise with a Collection of Ancient Christian Inscriptions Mainly of Roman Origin. Cambridge University Press. p. 289. ISBN 978-0-521-23594-5., Quote: "the lunar year consists of 354 days".
  5. Christopher John Fuller (2004). The Camphor Flame: Popular Hinduism and Society in India. Princeton University Press. pp. 109–110. ISBN 978-0-69112-04-85.