บ้านบัวงาม
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บ้านบัวงาม | |
---|---|
หมู่บ้าน | |
เจดีย์อนุสรณ์สถานพระครูถาวรกิตติคุณ (หลวงปู่มึ้ม ถาวโร) ภายในวัดจันทร์ทุมมาวาส บ้านบัวงาม | |
พิกัด: 14°47′51.4″N 105°13′58.0″E / 14.797611°N 105.232778°E | |
ประเทศ | ไทย |
ตำบล | บัวงาม |
อำเภอ | เดชอุดม |
จังหวัด | อุบลราชธานี |
ก่อตั้ง | 1 มกราคม 1961 |
ผู้ก่อตั้ง | ลี จันทุมมา |
การปกครอง | |
• ประเภท | หมู่บ้าน |
• ผู้ใหญ่บ้าน | หมู่ที่ 1 — ไม่มีข้อมูล หมู่ที่ 3 — ไม่มีข้อมูล หมู่ที่ 14 — ไม่มีข้อมูล หมู่ที่ 15 — ไม่มีข้อมูล |
• นายกเทศมนตรี | ธีรพันธ์ ชัยวัฒน์ธนัน |
พื้นที่ | |
• พื้นน้ำ | 0.02 ตร.ไมล์ (0.05 ตร.กม.) |
• เขตชุมชน | 1.23 ตร.ไมล์ (3.18 ตร.กม.) |
• เขตรอบนอก | 5.77 ตร.ไมล์ (14.94 ตร.กม.) |
ความสูง | 500 ฟุต (152.4 เมตร) |
ประชากร (อันดับ 1 ตำบลบัวงาม) | |
• ทั้งหมด | 4,693 คน |
• ความหนาแน่น | 3,815.45 คน/ตร.ไมล์ (1,475.79 คน/ตร.กม.) |
เขตเวลา | UTC-7 (UTC) |
รหัสพื้นที่ | 340715 |
บ้านบัวงาม เป็นชุมชนหนึ่งในตำบลบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2504 เดิมชื่อ บ้านโนนหมากเดือย แรกเริ่มเป็นหมู่บ้านฝากของชุมชนบ้านหนองสนม ซึ่งขณะนั้นอยู่ในพื้นที่ของตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม ต่อมาได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านอย่างเป็นทางการขึ้นเป็นชุมชนบ้านบัวงาม หมู่ที่ 10 ของตำบลกลาง ภายหลังได้แยกเป็นชุมชนหมู่ที่ 16 (หมู่ที่ 3 และ 14 ในปัจจุบัน) เพิ่มเติมในภายหลัง[2] ในปี พ.ศ. 2522 ชุมชนแถบนี้มีการเจริญเติบโตขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการอพยพเข้ามาตั้งถื่นฐานของประชาชนจากตอนบนของจังหวัดอุบลราชธานี จึงได้มีราชกิจจานุเบกษาแบ่งพื้นที่ทางตะวันออกจำนวน 9 หมู่บ้าน 10 ชุมชนของตำบลกลางเพื่อจัดตั้งเป็นตำบลบัวงาม โดยมีศูนย์กลางการบริหารอยู่ที่ชุมชนบ้านบัวงาม[2]
ปัจจุบันชุมชนบ้านบัวงามถือเป็นชุมชนที่ใหญ่ที่สุดในเขตตำบลบัวงาม โดยแบ่งออกเป็น 5 ชุมชนย่อย ได้แก่ ชุมชนหมู่ที่ 1/1, 1/2, 3, 14 และ 15[1][3] มีประชากรทั้งสิ้น 4,693 คน 1,082 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม นับถือศาสนาพุทธ และพูดภาษาท้องถิ่น (ภาษาอีสาน)[4]
ประวัติ
[แก้]เดิมพื้นที่ตำบลบัวงามในปัจจุบันนั้น อยู่ภายใต้การบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลกลาง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี โดยชุมชนแรกเริ่มที่ถูกก่อตั้งขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวนั้นมีอยู่ 2 แห่ง คือ ชุมชนบ้านบัวทอง และชุมชนบ้านหนองสนม ต่อมาในช่วงปลายพุทธทศวรรษ 2490 เริ่มมีผู้คนจากต่างถิ่นอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ดอนที่อยู่ทางทิศใต้ของบ้านหนองสนมประมาณ 4 กิโลเมตร ซึ่งมีชื่อเรียกในสมัยนั้นว่า โนนหมากเดือย ต่อมาในภายหลังได้การตั้งเป็น บ้านโนนหมากเดือย ขึ้นโดยเป็นหมู่บ้านฝากที่อยู่ภายในพื้นที่ของหมู่ที่ 2 บ้านหนองสนม ซึ่งขึ้นกับตำบลกลางในขณะนั้น ในปี พ.ศ. 2504 ชุมชนจึงได้รับการยกฐานะเป็นหมู่บ้านโดยถูกต้องตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องถิ่น และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า บ้านบัวงาม เนื่องจากหมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่ระหว่างลำห้วยเล็ก ๆ 2 สาย คือห้วยบัวเหนือ และห้วยบัวใต้ ซึ่งไหลมาบรรจบกันก่อนที่จะไหลลงสู่ลำน้ำโดมใหญ่ ซึ่งมีลักษณะคล้ายดอกบัว จากนั้นชุมชนดังกล่าวได้มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประชาชนจากชุมชนเดิมได้อพยพย้ายออกไปก่อตั้งชุมชนใหม่โดยรอบหลายชุมชน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2522 ได้มีการแยกพื้นที่ทางตะวันออกของตำบลกลางออกมาเพื่อก่อตั้งเป็นตำบลบัวงาม[2]
ในระยะแรกนั้น การบริหารจัดการต่างๆภายในชุมชนบ้านบัวงามนั้นจะอยู่ภายใต้การควบคุมของสภาตำบลบัวงามทั้งหมด แต่เมื่อมีการยกระดับพื้นที่สุขาภิบาลบัวงามขึ้นเป็นเทศบาลตำบลบัวงาม ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดตั้งสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบล เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2537 ประกาศ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 36 ลงวันที่ 5 พฤษภาคม 2537 ทำให้การบริหารจัดการด้านต่างๆของชุมชนนี้อยู่ภายใต้การดูแลควบคุมของเทศบาลตำบลบัวงามตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[5]
สภาพภูมิศาสตร์
[แก้]ลักษณะที่ตั้ง
[แก้]ชุมชนบ้านบัวงามตั้งอยู่ทางพื้นที่ตอนกลางของตำบลบัวงาม ห่างจากตัวอำเภอเดชอุดม ประมาณ 25 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 18.17 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับชุมชนต่างๆ โดยรอบ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับชุมชนบ้านแสงจันทร์ และชุมชนบ้านดอนชีใน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับชุมชนบ้านหนองสะโน ตำบลหนองสะโน อำเภอบุณฑริก
- ทิศใต้ ติดต่อกับชุมชนบ้านราษฎร์สามัคคี ชุมชนบ้านหนองแวง ชุมชนบ้านโนนแฝก, ชุมชนบ้านโนนสว่าง อำเภอนาจะหลวย, และชุมชนบ้านหนองม่วง อำเภอบุณฑริก
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับชุมชนบ้านโคกพัฒนา และชุมชนบ้านนาเลิง
ลักษณะภูมิประเทศ
[แก้]สภาพพื้นที่ของตำบลบัวงามส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงอุดมสมบูรณ์ มีป่าละเมาะ มีไม้พลวง ไม้เหียง ขึ้นประปรายเป็นแห่งๆ โดยทั่วไป เหมาะสำหรับการทำนาและการเกษตรอื่นๆ ทำให้ในปัจจุบัน พื้นที่ส่วนมากถูกปรับสภาพให้เป็นพื้นที่ในการทำการเกษตรเกือบทั้งหมด มีแหล่งน้ำที่สำคัญทางการเกษตร คือ ห้วยบัวเหนือ ห้วยบัวใต้ และอ่างเก็บน้ำห้วยบัวเหนือ หรือหนองหลวง[6][7]
สถานที่สำคัญ
[แก้]สถานศึกษา
[แก้]บ้านบัวงามมีสถานศึกษาอยู่ทั้งสิ้น 2 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนบ้านบัวงาม และโรงเรียนบ้านบัวงาม ซึ่งเป็นโรงเรียนขยายโอกาส เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
หน่วยงานราชการ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วัฒนธรรมประเพณี
[แก้]ศิลปะหัตถกรรม
[แก้]- ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมและผ้าฝ้ายจากสีธรรมชาติ โดยกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าไหม-ฝ้าย บ้านบัวงาม หมู่ที่ 3 ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของชาวบ้านในชุมชนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 เพื่อสร้างรายได้เสริมจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไหมและผ้าฝ้ายจากสีธรรมชาติ[8]
งานประเพณี
[แก้]งานประเพณีต่างๆที่จัดขึ้นภายในบ้านบัวงามนั้น จะเป็นไปตามขนบธรรมเนียมของชาติพันธ์ลาว ที่เรียกว่า ฮีต 12 ที่สำคัญ ได้แก่
งานบุญเดือนสี่ บุญผะเหวด
[แก้]งานบุญเดือนสี่ หรืองานบุญผะเหวด เป็นงานบุญที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องราวของพระเวสสันดร มีการเทศน์พระเวส หรือเทศน์มหาชาติหรือเวสสันดรชาดก โดยจะถูกจัดขึ้นในช่วงเดือนสี่ตามปฏิทินจันทรคติ เชื่อกันว่า หากผู้ใดได้ฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดรทั้ง 13 กัณฑ์จบภายในวันเดียว จะได้เกิดร่วมชาติภพกับพระศรีอริยเมตไตรย[9] ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าในชาติถัดไปตามคัมภีร์อนาคตวงศ์[10]
ทั่วไปแล้ว บุญผะเหวดนี้จะทำติดต่อกัน 3 วัน โดยในวันแรกจะเป็นการจัดเตรียมสถานที่ ตกแต่งศาลาการเปรียญ จากนั้นในวันที่ 2 จะเป็นวันเฉลิมฉลองพระเวสสันดร ชาวบ้านร่วมทั้งพระสงฆ์จากหมู่บ้านใกล้เคียงจะมาร่วมพิธี โดยจะมีการจัดขบวนแห่เครื่องไทยทานฟังเทศน์และแห่พระเวส โดยการแห่ผ้าผะเหวด (ผ้าผืนยาวเขียนภาพเล่าเรื่องพระเวสสันดร) ซึ่งสมมติเป็น การแห่พระเวสสันดรเข้าเมือง เมื่อถึงเวลาค่ำจะมีเทศน์เรื่องพระมาลัย และในวันที่ 3 จะเป็นงานบุญพิธี โดยในช่วงเช้า ชาวบ้านจะร่วมกันตักบาตรข้าวพันก้อน และในระหว่างวันจนถึงตอนเย็น มีจะแห่แหนฟ้อนรำเพื่อนำ กัณฑ์หลอน ที่รวบรวมจากชาวบ้านคุ้มต่างๆใน ชุมชน หรือจากหมู่บ้านอื่นๆ ขึ้นบนศาลาเพื่อถวายแด่ภิกษุรูปที่กำลังเทศน์อยู่ ณ เวลานั้น
งานบุญเดือนห้า บุญสงกรานต์
[แก้]งานบุญสงกรานต์ของบ้านบัวงามจะถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีระหว่างวันที่ 13–15 เมษายน ในช่วงเย็น พระสงฆ์จะตีกลองใบใหญ่ในวัดเพื่อเป็นสัญญาณบอกให้ชาวบ้านในหมู่บ้านออกมารวมกันที่วัดและนำพระพุทธรูปลงมาประดิษฐานไว้ในซุ้มบริเวณลานวัด จากนั้นพระสงฆ์และชาวบ้านก็จะมาร่วมกัน จัดน้ำอบ น้ำหอม ธูป เทียน ดอกไม้ แล้วกล่าวคำบูชาอธิษฐาน ขอให้ฟ้าฝนตกในบ้านเมือง อยู่ร่มเย็น แล้วก็สรงน้ำอบน้ำหอมให้แก่พระพุทธรูปทั้งหมดในงานพิธี หลังจากนั้นก็สรงน้ำให้แก่พระสงฆ์ และผู้อาวุโสในชุมชน หลังจากกลับมาถึงบ้าน จะมีการสรงน้ำให้ผู้สูงอายุหรือผู้ที่เป็นที่เคารพของสมาชิกในบ้าน
งานบุญเดือนหก บุญบั้งไฟ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
งานบุญเดือนสิบสอง บุญกฐิน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เศรษฐกิจ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Noplink.com (2019). "รหัสไปรษณีย์ ตำบลบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2019. สืบค้นเมื่อ 10 February 2019.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 กระทรวงมหาดไทย (23 August 1979). "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบุณฑริก อำเภอนาจะหลาย อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). p. 6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 August 2019. สืบค้นเมื่อ 5 June 2020.
- ↑ Ch7HD News (4 August 2021). "สั่งปิดวัดจันทร์ทุมาวาส หลังพบพระติดโควิด 19 ชาวบ้านอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสัมผัส 64 คน". Bangkok Broadcasting & T.V. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 August 2021. สืบค้นเมื่อ 5 August 2021.
- ↑ องค์การบริหารส่วนตำบลบัวงาม (2016). "บทที่ 1 บทนา - องค์การบริหารส่วนตำบลบัวงาม" (PDF). สืบค้นเมื่อ 22 August 2017.[ลิงก์เสีย]
- ↑ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย (1999). "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-02-21. สืบค้นเมื่อ 22 August 2017.
- ↑ องค์การบริหารส่วนตำบลบัวงาม (2016). "บทที่ 1 บทนา - องค์การบริหารส่วนตำบลบัวงาม" (PDF). สืบค้นเมื่อ 22 August 2017.[ลิงก์เสีย]
- ↑ องค์การบริการส่วนตำบลบัวงาม. "แผนที่องค์การบริหารส่วนตำบลบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-07. สืบค้นเมื่อ 22 August 2017.
- ↑ กิตติภณ เรืองแสน (16 July 2018). "ตามไปดูกลุ่มแม่บ้านทอผ้าไหม-ผ้าฝ้าย จากสีธรรมชาติ ที่ บ้านบัวงาม". บ้านเมือง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2018. สืบค้นเมื่อ 9 February 2018.
- ↑ ประเพณีพื้นเมืองอีสาน. มหาสารคาม: วิทยาลัยครูมหาสารคาม. 1979.
- ↑ ประภาส สุระเสน (2010). พระคัมภีร์อนาคตวงศ์ (PDF). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย. p. 1-2. ISBN 974-580-742-7.
{{cite book}}
: CS1 maint: location (ลิงก์)