ข้ามไปเนื้อหา

บูราฮานูดิน อุเซ็ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บูราฮานูดิน อุเซ็ง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 กันยายน พ.ศ. 2497
อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
เสียชีวิต17 ตุลาคม พ.ศ. 2558 (61 ปี)
โรงพยาบาลศูนย์ยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
คู่สมรสรอกาเยาะ อุเซ็ง

บูราฮานูดิน อุเซ็ง (13 กันยายน พ.ศ. 2497 – 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยะลา 2 สมัย

ประวัติ

[แก้]

บูราฮานูดิน อุเซ็ง เกิดเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2497 เป็นบุตรของนายหะยีอับดุลลาเต๊ะ กับนางแวแย อุเซ็ง[1] และเป็นน้องชายของนายอุสมาน อุเซ็ง สำเร็จการศึกษา รัฐศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ปริญญาโท สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จาก มหาวิทยาลัยการาจี ประเทศปากีสถาน

บูราฮานูดิน อุเซ็ง เสียชีวิตด้วยอาการไตวาย เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2558 สิริอายุรวม 61 ปี [2]

การทำงาน

[แก้]

หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี บูราฮานูดิน ได้เข้ารับราชการในสังกัด กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทยวนเวียนไปมาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ปลัดอำเภอ, เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป และ เจ้าหน้าที่อบรม[3]

งานการเมือง

[แก้]

บูราฮานูดิน ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2538 สังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับเลือกตั้งรวม 2 สมัย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

บูราฮานูดิน อุเซ็ง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดยะลา สังกัดพรรคความหวังใหม่
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดยะลา สังกัดพรรคความหวังใหม่ → พรรคไทยรักไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  2. อาลัย บูราฮานูดิน อุเซ็ง คนทำงานการเมือง ต่อสู้เพื่อมุสลิมชายแดนใต้[ลิงก์เสีย]
  3. นักการเมืองถิ่นจังหวัดยะลา. บูฆอรี ยีหมะ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2555
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๓๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๖๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๕, ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๒