ข้ามไปเนื้อหา

บูชาคางคก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัญลักษณ์บูชาคางคก แว่นตาและจุดสองจุดเป็นตัวแทนใบหน้าของเจียง เจ๋อหมิน ตัวอักษรละตินด้านล่างย่อมาจากคำว่า "naïve" (ไร้เดียงสา) ซึ่งเป็นคำกล่าวของเจียงในภาษาอังกฤษเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักข่าวฮ่องกง
ภาพเขียนบูชาคางคกบนถนนในมณฑลชานตง ประเทศจีน

หมัวหา (จีน: 膜蛤; พินอิน: Mó Há ออกเสียง [muǒ.xǎ]) แปลตรงตัวว่า "ชื่นชมคางคก" หรือ "บูชาคางคก"[1] เป็นอินเทอร์เน็ตมีมที่ล้อเลียนเจียง เจ๋อหมิน อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน และผู้นำสูงสุดของจีน มีต้นกำเนิดมาจากพลเมืองเครือข่ายในจีนแผ่นดินใหญ่และกลายเป็นวัฒนธรรมย่อยบนอินเทอร์เน็ตของจีน อีกคำอธิบายหนึ่ง ก็คือมันมาจาก ไป่ตู้เทียปา สื่อสังคมของจีน ในวัฒนธรรม เจียงถูกเรียกแบบติดตลกว่า "หา" หรือ "คางคก" เพราะว่าหน้าตาของเขาคล้ายกับคางคก[2] พลเมืองเครือข่ายที่ บูชา คางคกเรียกตนเองว่า "คนรักคางคก" หรือ "ผู้บูชาคางคก" (จีนตัวย่อ: 蛤丝; จีนตัวเต็ม: 蛤絲) หรือ "พวกหมัวฝ่า" (膜法师; 膜法師) ซึ่งเป็นการเล่นคำใน mófǎshī (魔法师; 魔法師, นักมายากล) ในภาษาจีนกลาง[note 1]

อีกชื่อเล่นของเจียงคือ "พี่" หรือ "ผู้อาวุโส" (长者; 長者; Zhǎngzhě) เพราะครั้งหนึ่งเขาเคยเรียกตัวเองว่า "พี่" หรือ "ผู้อาวุโส" เมื่อเขาตำหนิชารอน เฉิง นักข่าวชาวฮ่องกงที่ตั้งคำถามกับเขา[3][4][5] คลิปวิดีโอที่บันทึกเหตุการณ์นี้ได้ถูกเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตและนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของวัฒนธรรมนี้ ซึ่งต่อมาได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2557 เมื่อฮ่องกงกำลังประสบกับช่วงเวลาของความไม่มั่นคงทางการเมือง เบื้องต้นชาวเน็ตได้นำคำพูดของเจียงจากคลิปมาล้อเลียนด้วยถ้อยคำและน้ำเสียง อย่างไรก็ตาม เมื่อวัฒนธรรมเติบโตขึ้น การเลียนแบบบางอย่างก็เริ่มมีความรู้สึกต่อเขา คําพูดที่โด่งดังของการเลียนแบบก็พัฒนาไปสู่สิ่งที่เขาพูดในระหว่างการเป็นผู้นําและในชีวิตส่วนตัว

ต้นกำเนิด

[แก้]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 ต่ง เจี้ยนหฺวา ผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง ได้เดินทางไปปักกิ่งเพื่อพบเจียง เจ๋อหมิน ในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2543 เมื่อเจียง เจ๋อหมิน และต่ง เจี้ยนหฺวา พบกับนักข่าวก่อนการเจรจาอย่างเป็นทางการ ชารอน เฉิง นักข่าวชาวฮ่องกงได้ตั้งคำถามว่าเจียงได้แต่งตั้งผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกงในการเลือกตั้งหรือไม่ ซึ่งทำให้เจียงรู้สึกโกรธ[6]

สิ่งที่เชื่อมโยง

[แก้]
เจียง เจ๋อหมิน ใน พ.ศ. 2545

หมัวหามาจากคลิปวิดีโอที่มีชื่อเสียงสามวิดีโอเกี่ยวกับเจียงที่เรียกว่า "สามบทของคางคก" (จีน: 蛤三篇).

  1. วิดีโอแรก เมื่อเจียงพบกับต่ง เจี้ยนหฺวา ผู้บริหารสูงสุดฮ่องกงในขณะนั้นที่จงหนานไห่ เขาโจมตีชารอน เฉิง นักข่าวชาวฮ่องกงอย่างรุนแรง เฉิงถามเจียงว่าได้สนับสนุนตุงในการลงสมัครรับเลือกตั้งผู้บริหารหรือไม่ เจียงยืนยันเรื่องนี้ เฉิงจึงถามต่อไปว่า "หมายความว่ารัฐบาลจีนตัดสินใจที่จะแต่งตั้งตุงอีกครั้งหรือไม่" ทำให้เจียงไม่พอใจและวิพากษ์วิจารณ์เธอที่บิดเบือนคำพูดของเขาเพื่อ "สร้างข่าวใหญ่" จากนั้นเจียงยังคงวิจารณ์สื่อฮ่องกงต่อไปว่า "พวกเขาควรเรียนรู้ที่จะถามคําถามที่สร้างสรรค์มากขึ้น" หรือแม้กระทั่งพูดว่า ไมก์ วอลเลซ มีจรรยาบรรณสูงกว่าคุณมาก ซึ่งหมายถึงตอนที่เจียงให้สัมภาษณ์ในรายการ 60 นาทีในปี พ.ศ. 2543
  2. วีดีโอที่สอง เป็นบทสัมภาษณ์ชื่อดังของ ไมก์ วอลเลซ นักข่าวชาวอเมริกัน ที่เจียงกล่าวถึงในคลิปวิดีโอก่อนหน้านี้ ในการสัมภาษณ์ครั้งนั้น วอลเลซและเจียงได้พูดคุยเกี่ยวกับประเด็นที่งอนแง่หลายประการ เช่น ประชาธิปไตยและเผด็จการในประเทศจีน เสรีภาพสื่อ ฝ่าหลุนกง และการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปี พ.ศ. 2532
  3. วิดีโอที่สาม ถูกบันทึกเมื่อเจียงไปเยือนบริษัทวิศวกรรมร่วมของจีน (ซึ่งเจียงเคยทํางานที่นั่นเป็นเวลาหลายปี) ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 เจียงได้เล่าถึงประสบการณ์การทำงานของเขาในวิดีโอ เขายังกล่าวถึงการตัดสินใจของเติ้ง เสี่ยวผิงในการแต่งตั้งเขาเป็นผู้นําจีน และสิ่งที่เขาเชื่อว่าเขาประสบความสําเร็จในช่วงหลายปีที่เขาเป็นผู้นำ

นอกจากนี้ยังมีการเน้นหนักไปที่องค์ประกอบของรูปลักษณ์ของเจียงเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแว่นตากรอบใหญ่และหนา ทรงผมหวีเสย กางเกงเอวสูง และรอยยิ้มที่สดใสเป็นพิเศษ ผู้บูชาคางคกยังดึงประโยคบางประโยคจากวิดีโอเหล่านี้เพื่อล้อเลียน เช่น "เด็กเกินไป เรียบง่ายเกินไป บางครั้งก็ไร้เดียงสา" (เป็นภาษาอังกฤษ)[7]

คำพูดที่โดดเด่น

[แก้]

คำพูดที่โด่งดังที่สุดจากเจียง เจ๋อหมิน มีดังต่อไปนี้ วลีที่เป็นตัวเอียงหมายความว่าเขาพูดเป็นภาษาอังกฤษ

ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนฮ่องกง

[แก้]
  • "ฉันไม่ได้บอกว่าฉันจะเลือกเขา [ต่ง เจี้ยนหฺวา] คุณถามฉันว่าฉันสนับสนุนนายตุงหรือไม่ ฉันขอบอกว่าฉันสนับสนุนเขา"
  • "การเลือกตั้งใหม่ยังคงต้องเป็นไปตามกฎหมายพื้นฐาน [ฮ่องกง] และแน่นอนว่าการตัดสินใจของเราก็สำคัญมากเช่นกัน!"
  • "ฉันรู้สึกว่าคุณนักข่าวยังต้องเรียนรู้อีกสักหน่อย! คุณคุ้นเคยกับค่านิยมแบบตะวันตกเหล่านั้นเป็นอย่างดี แต่ท้ายที่สุดแล้วคุณก็ยังเด็กเกินไป!"
  • "(ไมก์) วอลเลซจากอเมริกา เก่งกว่าพวกคุณมาก ฉันได้พูดคุยกับเขาอย่างสนุกสนาน"
  • "มีสิ่งหนึ่งที่ดีเกี่ยวกับคุณ เมื่อใดก็ตามที่เกิดเรื่องขึ้นที่ไหนสักแห่งในโลก คุณจะไปที่นั่นเร็วกว่านักข่าวชาวตะวันตก แต่ทุกคำถามที่คุณถาม... มันง่ายเกินไป! บางครั้งไร้เดียงสา!"
  • "ขอประทานโทษ ในฐานะรุ่นพี่ฉันต้องบอกคุณบางอย่าง ฉันไม่ใช่นักข่าว แต่ฉันเคยเห็นมามาก ฉันจําเป็นต้องสอน (บอก) ประสบการณ์ชีวิตบางอย่างแก่คุณ"
  • "เมื่อใดก็ตามที่ฉันได้พบคุณฉันอยากจะบอกคุณว่า...มีสุภาษิตโบราณในประเทศจีนว่า 'เงียบ ๆ ไว้แล้วรับโชคลาภ' นั่นเป็นวิธีที่ดีที่สุด"
  • "พวกคุณไม่อยาก...พยายาม...สร้างข่าวใหญ่หรอก! ฉันบอกว่าข้างในได้ตัดสินใจแล้ว แล้วเอาฉันออกไปวิจารณ์ พวกคุณมันไร้เดียงสา"
  • ฉันโกรธ! ฉันคิดว่าวันนี้ฉันคงทำให้พวกคุณไม่พอใจ

ให้สัมภาษณ์แก่ไมก์ วอลเลซ

[แก้]
  • "คุณกําลังบอกว่าผมเป็นเผด็จการเหรอ?"
  • "แม้ในสถานการณ์ที่รุนแรง ทหารของเราก็ยังมีความยับยั้งชั่งใจ" (หมายถึงแทงค์แมน)
  • "คุณเชื่อในลัทธิฝ่าหลุนกงหรือไม่?"
  • "มนุษย์ทุกคนถูกสร้างขึ้นมาอย่างเท่าเทียมกัน"

เยี่ยมชมบริษัทวิศวกรรมร่วมของจีน

[แก้]
  • "สิ่งนี้ (หนังสือ) ที่คุณทำเพื่อฉัน ตื่นเต้น!"
  • "สหายเติ้ง เสี่ยวผิงพูดกับฉันว่า ‘กรมการเมืองได้ตัดสินใจแล้ว คุณจะเป็นเลขาธิการคนใหม่’ ฉันบอกว่า โปรดหาผู้สมัครที่ดีกว่านี้! ฉันจริง ๆ...ฉันไม่ได้ถ่อมตัว; เหตุใดฉันซึ่งเป็นเลขาธิการของเซี่ยงไฮ้จึงควรไปปักกิ่งด้วย"
  • "แล้วฉันก็ท่องบทกวี 2 บท "คนพึงรักษาผลประโยชน์ของชาติด้วยชีวิต ไม่ควรทำเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว และไม่ควรหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบเพราะกลัวความสูญเสียส่วนตัว""(จีนตัวย่อ: 苟利国家生死以,岂因祸福避趋之; จีนตัวเต็ม: 苟利國家生死以,豈因禍福避趨之)[8][9] (บทกวีของหลิน เจ๋อสฺวี)
  • "ในช่วงที่ฉันอยู่ที่ปักกิ่ง ฉันไม่ได้ทำอะไรมากนัก แค่สามอย่างเท่านั้น"
  1. สร้างเศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม
  2. เพิ่มทฤษฎีเติ้งเสี่ยวผิงลงในรัฐธรรมนูญของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
  3. เสนอทฤษฎีสามตัวแทน
  • "ถ้ายังมีความสำเร็จอื่น ๆ ก็คือห้ามกองทัพทําธุรกิจ และต่อสู้กับอุทกภัยในปี พ.ศ. 2541 แต่ทั้งหมดเป็นเรื่องรอง ความสำเร็จหลักของฉันมีเพียงสามสิ่งนี้เท่านั้น โปรดยกโทษให้ฉันที่มีส่วนร่วมเพียงเล็กน้อย ขอบคุณ"

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Jiang of Jiang Hall". The Economist. July 30, 2016. สืบค้นเมื่อ December 24, 2016.
  2. AMY QIN (October 21, 2015). “膜蛤文化”盛行中国网络,或为影射习近平 (ภาษาจีน). New York Times Chinese language edition. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 17, 2015. สืบค้นเมื่อ November 10, 2015.
  3. "How Hong Kong journalist berated by Jiang Zemin turned to art". South China Morning Post. November 3, 2016. สืบค้นเมื่อ February 16, 2019.
  4. AMY QIN (October 20, 2015). "Ridicule Turns to Affection as Chinese Social Media Embraces Jiang Zemin". The New York Times. สืบค้นเมื่อ August 25, 2016.
  5. 江澤民90大壽 網民膜拜反映不滿時局 (ภาษาจีน). Central News Agency. August 17, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 26, 2016. สืบค้นเมื่อ August 25, 2016.
  6. "No wonder Jiang became so angry – Taipei Times". Taipei Times. November 2000.
  7. "长平观察:"哈哈",江泽民形象咸鱼翻身?" (ภาษาจีนตัวย่อ). 德国之声. October 24, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 15, 2015. สืบค้นเมื่อ November 10, 2015.
  8. "理论中国网-中央文献重要术语译文发布". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-01.
  9. "中央文献重要术语译文发布(2015年第七期)". 中共中央编译局, Compilation and Translation Bureau. October 23, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 14, 2018. สืบค้นเมื่อ August 14, 2018.


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="note"/> ที่สอดคล้องกัน