ข้ามไปเนื้อหา

บุญเติม จันทะวัฒน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บุญเติม จันทะวัฒน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 มกราคม พ.ศ. 2494
อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย
เสียชีวิต17 มีนาคม พ.ศ. 2553 (59 ปี)
อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย
พรรคการเมืองถิ่นไทย (2544–2545)
ไทยรักไทย (2545–2548)
พลังประชาชน (2548–2551)
เพื่อไทย (2551–2553)
คู่สมรสอุ่นใจ จันทะวัฒน์

บุญเติม จันทะวัฒน์ (10 มกราคม พ.ศ. 2494 – 17 มีนาคม พ.ศ. 2553) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคถิ่นไทย ได้รับกล่าวถึงว่าเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ยากจนที่สุดในสภาผู้แทนราษฎรไทย[1]

ประวัติ

[แก้]

บุญเติม จันทะวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2494 ที่อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นบุตรของมา กับมยุรี จันทะวัฒน์[2] สำเร็จการศึกษาสาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

บุญเติม จันทะวัฒน์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ของบุญเติม ชนกับรถโดยสาร เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553[3]

การทำงาน

[แก้]

บุญเติม จันทะวัฒน์ ประกอบอาชีพทนายความ ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคถิ่นไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยได้คะแนนเพียง 240 คะแนน ต่อมาเศกสิทธิ์ ไวนิยมพงศ์ จากพรรคไทยรักไทย ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง (ใบแดง) และให้การสนับสนุนนายบุญเติม[3] ลงสมัครเลือกตั้งใหม่ ทำให้นายบุญเติม ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก และได้รับฉายา "ส.ส.บ้านนอก"[3] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2545 พรรคถิ่นไทยถูกยุบพรรค[4] นายบุญเติมจึงย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย

ต่อมาหลังพ้นจากเส้นทางการเมือง จึงหันกลับมาประกอบอาชีพทนายความ และเปิดบริษัทรถแท็กซี่ให้เช่าอยู่ในกรุงเทพฯ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://digi.library.tu.ac.th/newspaper/001/5feb44/1123page1_2.pdf[ลิงก์เสีย]
  2. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-11. สืบค้นเมื่อ 2012-02-28.
  3. 3.0 3.1 3.2 รถทัวร์สายอุบลฯ-อุดรฯ เบรกไม่อยู่ชนอดีต ส.ส.ทรท.ร้อยเอ็ด "บุญเติม จันทะวัฒน์" เสียชีวิตกลางถนน[ลิงก์เสีย]
  4. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การยุบพรรคถิ่นไทย[ลิงก์เสีย]
  5. บุญเติม จันทะวัฒน์ อดีต ส.ส. ร้อยเอ็ด ไทยรักไทย ถูกรถทัวร์ชน เสียชีวิต
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓๗, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕