ข้ามไปเนื้อหา

บุญส่ง ไข่เกษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บุญส่ง ไข่เกษ
สมาชิกวุฒิสภา
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
(5 ปี 60 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มกราคม พ.ศ. 2492 (76 ปี)
อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ประเทศสยาม
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2544–2549)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุญส่ง ไข่เกษ (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2492) เป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตราด อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเป็นอาจารย์ประจำวิทยาลัยนครราชสีมา

ประวัติ

[แก้]

บุญส่ง ไข่เกษ เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2492 ที่ตำบลสะตอ อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด เป็นบุตรของนายเสรี กับนางมะลิ ไข่เกษ[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก 2 สถาบัน คือ ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (สุขาภิบาล) เกียรตินิยมอันดับ 2 รางวัลเหรียญทอง จากมหาวิทยาลัยมหิดล ปริญญารัฐศาสตร์บัณฑิต และนิติศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (วิศวกรรมสุขาภิบาล) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทสาธารณสุขศาสตร์ สาขาการจัดการคุณภาพน้ำ จากมหาวิทยาลัยทูเลน สหรัฐอเมริกา และปริญญาเอกวิศวกรรมเคมี เกียรตินิยมดีมาก จาก Université Savoie ประเทศฝรั่งเศส

การทำงาน

[แก้]

บุญส่ง ไข่เกษ เคยเป็นอาจารย์ประจำ และหัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 ถึง พ.ศ. 2537 ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ต่อมาลาออกจากราชการ เข้าทำงานที่บริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อม ในปี พ.ศ. 2537

บุญส่ง ไข่เกษ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ในพื้นที่จังหวัดตราด สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 เขาได้หันมาลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตราด แต่ยังไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ได้เกิดการรัฐประหารในเดือนกันยายนของปีเดียวกัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 เขาได้รับการสรรหาและเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชุดที่ 3

ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 ได้ลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตราดอีกครั้งหนึ่ง[2]โดยเป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 11 ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557 – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 และสิ้นสุดลงเนื่องจากรัฐประหาร

ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาได้เข้าทำงานเป็นอาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ วิทยาลัยนครราชสีมา[3] และเขาเป็นที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมและสิ่งแวดล้อมทำการศึกษา EIA และ HIA ในโครงการสำคัญหลายโครงการ อาทิ โครงการทางด่วนพิเศษรามอินทรา-วงแหวนรอบนอก โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมระยอง โครงการประตูระบายน้ำปากพนัง โครงการเขื่อนผาจุก โครงการเขื่อนแม่วง โครงการอ่างเก็บน้ำคลองสะตอ[4]

ในปี พ.ศ. 2562 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  2. ประกาศรับรองผลเลือกตั้ง ส.ว. จำนวน 58 จังหวัด[ลิงก์เสีย]
  3. "อาจารย์ประจำหลักสูตร สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-28. สืบค้นเมื่อ 2013-11-09.
  4. กรมชลประทานทบทวนการศึกษา EIA เขื่อนสะตอใหม่อีกครั้ง[ลิงก์เสีย]
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๕, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๔, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔