บุคลาธิษฐานของรัสเซีย
นับตั้งแต่ยุคกลางบุคลาธิษฐานของรัสเซีย (Personifications of Russia) มักแสดงออกในรูปสตรีแบบดั้งเดิม พบมากในลักษณะมารดา[1] คำที่ใช้เรียกบุคลาธิษฐานประจำชาติของรัสเซียที่พบบ่อยที่สุดคือ
- มารดาแห่งรัสเซีย (อังกฤษ: Mother Russia; รัสเซีย: Матушка Россия, tr. Matushka Rossiya, "มารดารัสเซีย"; และ, Россия-матушка, tr. Rossiya-matushka, "มารดาชาวรัสเซีย", Мать-Россия, tr. Mat'-Rossiya, Матушка Русь, tr. Matushka Rus' , "มารดารุส' "),
- มารดาแห่งมาตุภูมิ (อังกฤษ: Mother Motherland; รัสเซีย: Родина-мать, tr. Rodina-mat' ).
ในภาษารัสเซีย แนวคิดของมาตุภูมินั้นแสดงออกผ่านสองคำคือ: "родина" (tr. rodina), ตรงตัว: "ชาตะภูมิ, แผ่นดินเกิด" และ "отчизна" (tr. otchizna), ตรงตัว: "ปิตุภูมิ, แผ่นดินของบิดา"
Harald Haarmann และ Orlando Figes เชื่อว่าเทพี Mokosh เป็นที่มาของแนวคิดมารดาแห่งรัสเซีย[2][3]
การใช้
[แก้]ระหว่างการปฏิวัติเดือนตุลาคม และ สงครามกลางเมืองรัสเซีย ภาพของมารดารัสเซียปรากฏในโฆษณาชวนเชื่อของผู้สนับสนุนขบวนการขาว (White Movement) ตีความหมายสื่อถึงความยากลำบากในการต่อสู้กับบอลเชวิก เปรียบเสมือนการต่อสู้กับ "เอเลียน" ในฐานะ "ผู้ข่มเหงมารดารัสเซีย"
รูปปั้น
[แก้]ในยุคโซเวียต รูปปั้นมารดารัสเซียจำนวนมากถูกสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองมหาสงครามประชาผู้เป็นชาตินิยม เช่น: Rodina-mat' zovot
- เสียงเรียกของมาตุภูมิ (อังกฤษ: The Motherland Calls; รัสเซีย: Родина-мать зовёт, tr. Rodina-mat' zovot) รูปปั้นขนาดมโหราฬในวอลโกกราด เพื่อระลึกถึงยุทธวิถีที่สตาลินกราด
- มารดามาตุภูมิ (อังกฤษ: Mother Motherland, Kiev; ยูเครน: Батьківщина-Мати, tr. Batʹkivshchyna-Maty, "มารดาปิตุภูมิ") หรือที่นิยมเรียกว่า Rodina-Mat (รัสเซีย: Родина-мать, tr. Rodina-mat' ) เป็นรูปปั้นอนุสาวรีย์ส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ Museum of The History of Ukraine in World War II เมืองเคียฟ ประเทศยูเครน
- มารดามาตุภูมิ (เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) รูปปั้นที่สุสาน Piskarevskoye Memorial Cemetery ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
- มารดามาตุภูมิ (คาลีนินกราด) อนุสาวรีย์ที่คาลีนินกราด
- การไว้อาลัยบุตรผู้พลีชีพของมารดามาตุภูมิ (อังกฤษ: Mother Motherland Mourning over Her Perished Sons; รัสเซีย: Родина-мать, скорбящая о погибших сыновьях, tr. Rodina-mat', skorbyashchaya o pogibshikh synov'yakh) อนุสาวรีย์ในมินสค์ ประเทศเบลารุส เพื่อระลึกถึงผู้วายชนม์ในอัฟกานิสถาน
- มารดามาตุภูมิ (Naberezhnye Chelny) อนุสาวรีย์ในเมือง Naberezhnye Chelny[4]
- มารดามาตุภูมิ (Pavlovsk) กลุ่มอนุสาวรีย์ที่ Pavlovsk[5].
- อนุสาวรีย์มาตุภูมิ (Matveev Kurgan)
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Рябов О. В. (1999). Русская философия женственности (XI—XX века). Иваново. pp. 35–46.
- ↑ Harald Haarmann, The soul of Mother Russia: Russian Symbols and Pre-Russian Cultural Identity, ReVision เก็บถาวร 2016-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, June 22, 2000 (retrieved May 2, 2016)
- ↑ Figes, Orlando (2002). Natasha's Dance: a cultural history of Russia. New York: Metropolitan Books. p. 321. ISBN 9780805057836.
[...] the goddess known as Mokosh, from whom the myth of 'Mother Russia' was conceived.
- ↑ Казань. Храм на шести сотках — Ольга Юхновская."Не йог, не маг и не святой" — Российская Газета — Этот объект не включен в программу подготовки к казанскому миллениуму. Но его, без сомнений, будут показывать гостям города как редкую достопримечательность. Создатель множества памятников, художник из пригорода Казани Ильдар Ханов к тысячелетию столицы Татарстана строит на своем участке храм всех религий. В свое время творчество Ханова высоко оценил Святослав Рерих
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-24. สืบค้นเมื่อ 2012-11-02.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Mother Russia