บีสต์บัสเตอส์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บีสต์บัสเตอส์ | |
---|---|
ใบปลิวเวอร์ชันอเมริกาเหนือ | |
ผู้พัฒนา | ฮามาจิ, ปะปา และทีม, อิมเมจส์ดีไซน์ |
ผู้จัดจำหน่าย | เอสเอ็นเค, ยู.เอส. โกลด์, แอ็กติวิชัน |
ออกแบบ | มิตซูโซะ.ไอ, เค็ง, มูโรโมโตะ, ซากาอิ, มิโอชิ, มาเอดะ, ฟูจิวาระ |
เครื่องเล่น | อาร์เคด, คอมโมดอร์อามิกา, อาตาริ เอสที |
วางจำหน่าย | ค.ศ. 1989 (อาร์เคด), ค.ศ. 1990 (คอมโมดอร์อามิกา, อาตาริ เอสที) |
แนว | เกมยิงที่ไม่ต้องเดิน |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว, ผู้เล่นสูงสุด 3 คนพร้อมกัน |
บีสต์บัสเตอส์ (ญี่ปุ่น: ビーストバスターズ; อังกฤษ: Beast Busters) เป็นเกมอาร์เคดแนวเกมยิงที่ไม่ต้องเดินที่เปิดตัวโดยบริษัทเอสเอ็นเคใน ค.ศ. 1989 และพอร์ตสู่ระบบคอมโมดอร์อามิกา รวมถึงอาตาริ เอสที ใน ค.ศ. 1990
รูปแบบการเล่น
[แก้]ในเกมดังกล่าว ผู้เล่นจะควบคุมหนึ่งในสามทหารอาสาที่ชื่อจอห์นนี จัสติซ, พอล แพทริออต และแซมมี สเตตลี ซึ่งต้องยิงหาทางออกจากเมืองที่ถูกบุกรุกโดยอันเดด เครื่องอาร์เคดดั้งเดิมอนุญาตให้มีผู้เล่นสูงสุดสามคนเล่นเกมพร้อมกัน ส่วนปืนถูกติดตั้งเข้ากับเครื่องและดูเหมือนปืนกล ผู้เล่นสามารถรับพาวเวอร์-อัป ได้หลายครั้งในแต่ละด่านเพื่อช่วยพวกเขาในการต่อสู้ เช่น จรวด, ระเบิดมือ, เกราะ, เฮลธ์แพ็ก และกระสุน[1]
เกมดังกล่าวมีเจ็ดตอนให้ผู้เล่นยิงตลอดรอดฝั่ง ในระหว่างด่าน ผู้เล่นจะได้เห็นคัตซีนที่อธิบายเหตุการณ์การบุกรุกของซอมบีที่ครอบงำเมือง แต่ละด่านมีบอสย่อยและบอสสุดท้ายที่ต้องเอาชนะ ทั้งหมดนั้นมี 2 รูปแบบให้กำจัด เกมดังกล่าวขึ้นชื่อว่ามีบอสที่ไม่ธรรมดา เช่น ซอมบีพังก์ที่กลายพันธุ์เป็นสุนัข หรือรถจี๊ปที่เริ่มมีชีวิตขึ้นมา รวมถึงมีด่านหนึ่งจบลงด้วยกองทหารอาสาที่ต้องช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ซีไอเอหญิงจากบอสของด่านนั้น
การตอบรับ
[แก้]ในประเทศญี่ปุ่น เกมแมชชีนได้ระบุในฉบับวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1990 ของพวกเขาว่าบีสต์บัสเตอส์เป็นหน่วยอาร์เคดแบบตั้งตรงที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดแห่งปี[2]
เกมดังกล่าวมีการเปรียบเทียบกับโอเปอเรชันธันเดอร์โบลต์, ไลน์ออฟไฟเออร์ และเมคาไนด์แอตแทกของเอสเอ็นเคเอง ส่วนนิตยสารเอซีอีได้ตอบรับในเชิงบวกต่อธีมและเรื่องราวสยองขวัญของเกม โดยกล่าวถึงเกมนี้ว่าเป็นโอเปอเรชันวูล์ฟพบสแพลตเทอร์เฮาส์[3]
ตามที่พอล เธอโร เผย ไมเคิล แจ็กสัน ได้เป็นเจ้าของเครื่องอาร์เคดบีสต์บัสเตอส์ และมักจะนำเครื่องไปกับเขาด้วยการเดินทางโดยเครื่องบินคาร์โก[4]
ภาคแยกและภาคต่อ
[แก้]ภาคต่อที่มีชื่อว่าบีสต์บัสเตอส์: เซคันด์ไนต์แมร์ ได้รับการเปิดตัวใน ค.ศ. 1999 สำหรับระบบไฮเปอร์นีโอจีโอ 64
ส่วนเกมภาคแยกในระบบมือถือมีชื่อว่าดาร์กอามส์: บีสต์บัสเตอร์ เปิดตัวใน ค.ศ. 1999 สำหรับนีโอจีโอพอกเกตคัลเลอร์ในรูปแบบของเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาท
และบีสต์บัสเตอส์ฟีเจอริงเคโอเอฟได้รับการเปิดตัวเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2014 สำหรับระบบปฏิบัติการไอโอเอสและแอนดรอยด์ โดยสิ้นสุดการให้บริการในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2015
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Caswell, Mark (May 1990). "Arcade Action: Beast Busters". Crash. No. 76. Newsfield Publishing. p. 8.
- ↑ "Game Machine's Best Hit Games 25 - アップライト, コックピット型TVゲーム機 (Upright/Cockpit Videos)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 372. Amusement Press, Inc. 15 January 1990. p. 25.
- ↑ Cook, John (April 1990). "Coin-Ops: Beast Busting - Who Ya Gonna Call?". ACE. No. 31. EMAP. p. 102.
- ↑ Theroux, Paul (January 5, 2010). "American writer Paul Theroux about Michael Jackson, Elizabeth Taylor and the biblical Judas". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 17, 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Beast Busters at Hall of Light Amiga database
- Beast Busters ที่ MobyGames