บิริริดามะ
บิริริดามะ | |
---|---|
ตัวละครใน โปเกมอน | |
ไฟล์:Pokémon Voltorb art.png ภาพอาร์ตเวิร์กของบิริริดามะโดยเค็ง ซูงิโมริ | |
เกมครั้งแรก | โปเกมอน เรดและบลู (1996) |
สร้างโดย | เค็ง ซูงิโมริ[1] |
ออกแบบโดย | เค็ง ซูงิโมริ (ต้นฉบับ)[1] |
ให้เสียงโดย | JA: คัตสึยูกิ โคนิชิ[2] |
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง | |
เผ่าพันธุ์ | โปเกมอน |
ประเภท | ไฟฟ้า ไฟฟ้าและหญ้า(ฮิซุย) |
บิริริดามะ (ญี่ปุ่น: Biriridama; โรมาจิ: ビリリダマ) หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า โวลทอร์บ (/ˈvɔːltɔːrb/) เป็นสายพันธุ์โปเกมอน ในแฟรนไชส์ โปเกมอน ของนินเท็นโด และเกมฟรีก ปรากฏตัวครั้งแรกในเกม โปเกมอน เรดและบลู ออกแบบโดย เค็ง ซูงิโมริ และเป็นหนึ่งในโปเกมอนจากแนวคิดการออกแบบเกมยุคแรกสุด นับตั้งแต่การปรากฏตัวครั้งแรก พวกมันก็ได้ปรากฏในเกมต่าง ๆ มากมาย รวมถึง โปเกมอน โก และโปเกมอน เทรดดิงการ์ดเกม รวมไปถึงสินค้าต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแฟรนไชส์ ถึงแม้ว่าคัตสึยูกิ โคนิชิจะได้รับเครดิตให้เป็นผู้ให้เสียงพากย์เป็นภาษาญี่ปุ่นแต่ไม่มีผู้ให้เสียงพากย์ภาษาอังกฤษที่ได้รับการระบุชื่ออย่างเป็นทางการ
บิริริดามะเป็นโปเกมอนประเภทไฟฟ้า มีรูปร่างทรงกลมและลักษณะคล้าย โปเกบอล ทำให้มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นไอเท็มภายในเกม และเมื่อถูกกระแทก มันอาจปล่อยกระแสไฟฟ้าหรือระเบิด ภายหลังมีการเปิดตัวร่างระดับภูมิภาคใน โปเกมอนเลเจนด์ อาร์เซอุส เรียกว่า บิริริดามะฮิซุย (Hisuian Voltorb) ซึ่งคล้ายกับโปเกบอลของภูมิภาคนั้น และจัดประเภทเป็นทั้งประเภทไฟฟ้าและประเภทหญ้า บิริริดามะสามารถวิวัฒนาการไปเป็น อิเล็กโทรด หรือมารุไมน์ ผ่านค่าประสบการณ์หรือการใช้ไอเทม "หินใบไม้" (Leaf Stone) ก็ได้ ด้วยความเป็นที่นิยม บิริริดามะยังถูกใช้เป็นมาสคอตในโปรโมชันต่าง ๆ ทั่วญี่ปุ่น
บิริริดามะได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับการออกแบบที่เรียบง่าย ซึ่งถูกมองว่าเป็นหนึ่งในการออกแบบที่อ่อนแอที่สุดของแฟรนไชส์ และยังถูกยกให้เป็นตัวอย่างของข้อบกพร่องในการออกแบบโปเกมอนเรดและบลู เมื่อเทียบกับดีไซน์ที่พัฒนาขึ้นในภาคหลัง ๆ อย่างไรก็ตามนักวิจารณ์บางส่วนยังคงชื่นชมแง่มุมบางประการของบิริริดามะ ไม่เพียงแค่เมื่อเปรียบเทียบกับอิเล็กโทรดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบทบาทของมันในฐานะโปเกมอนที่มีลักษณะเลียนแบบ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในเกมแนวเล่นตามบทบาทคลาสสิก นอกจากนี้ บางแหล่งยังให้เครดิตว่าบิริริดามะช่วยวางรากฐานให้กับแนวคิดการออกแบบโปเกมอนที่อิงจากวัตถุต่าง ๆ ในชีวิตจริง และการที่แฟน ๆ สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับมันก็ยิ่งช่วยเสริมความลึกซึ้งให้กับแฟรนไชส์ ในทางกลับกัน บิริริดามะฮิซุยได้รับการตอบรับที่ดีกว่า เนื่องจากดีไซน์ที่สดใสขึ้นและแนวคิดที่เข้ากับธีมของภูมิภาคฮิซุย รวมถึงการสร้างประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับต้นกำเนิดของมันว่า อะไรมาก่อนกัน ระหว่างบิริริดามะกับโปเกบอล
แนวคิดและการออกแบบ
[แก้]บิริริดามะเป็นสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในจินตนาการที่เรียกว่าโปเกมอน ถูกสร้างขึ้นให้กับแฟรนไชส์สื่อ โปเกมอน แฟรนไชส์ญี่ปุ่นได้รับการพัฒนาโดยเกมฟรีก และเผยแพร่โดยนินเท็นโด เปิดตัวในปี 1996 ผ่านวิดีโอเกม โปเกมอน เรด และ กรีน สำหรับ เกมบอย ก่อนจะวางจำหน่ายในอเมริกาเหนือในชื่อ โปเกมอน เรด และ บลู ในปี 1998 ในเกมหลักและภาคต่อ ผู้เล่นจะสวมบทบาทเป็นเทรนเนอร์ที่จับและฝึกโปเกมอนเพื่อใช้ต่อสู้กับโปเกมอนตัวอื่น โปเกมอนบางตัวสามารถวิวัฒนาการเป็นร่างที่แข็งแกร่งขึ้นได้ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า วิวัฒนาการ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น การใช้ไอเท็มเฉพาะ[3] โปเกมอนแต่ละตัวอาจมีหนึ่งประเภทหรือสองประเภท ซึ่งส่งผลต่อจุดแข็งและจุดอ่อนในการต่อสู้กับโปเกมอนประเภทอื่น[4] เป้าหมายหลักของเกมคือการเติมเต็มสมุดภาพโปเกมอน (Pokedex) ซึ่งเป็นสารานุกรมโปเกมอน โดยการจับ พัฒนา และแลกเปลี่ยนโปเกมอนกับเทรนเนอร์คนอื่นเพื่อรวบรวมให้ครบทุกสายพันธุ์[3]
บิริริดามะสร้างโดย เค็ง ซูงิโมริ และเป็นหนึ่งในโปเกมอนตัวแรก ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงวางแผนเกมภาคเรด และบลู ตั้งแต่สมัยที่เกมมีชื่อว่า แคปซูลมอนสเตอส์ (Capsule Monsters) โดยสามารถพบเห็นได้ในสไปรต์อาร์ตต้นแบบ ระหว่างการพัฒนาเกม มีการเลือกใช้สีเดียวเพื่อให้เหมาะกับข้อจำกัดด้านฮาร์ดแวร์ของซูเปอร์เกมบอย [5] ขนาดของบิริริดามะถูกปรับลดลงในช่วงกระบวนการคัดเลือกโปเกมอนที่จะรวมอยู่ในเกมขั้นสุดท้าย จากการสำรวจของบริษัท บิริริดามะอยู่ในอันดับที่ 21 จากแบบร่างประมาณ 80 แบบที่ถูกเสนอในขณะนั้น[6] [7] หลังจากการพัฒนาเสร็จสิ้น เค็ง ซูงิโมริได้วาดโปเกมอนสายพันธุ์ใหม่ รวมถึงสายพันธุ์อื่น ๆ ด้วยสไตล์ศิลปะเฉพาะตัวของเขา เพื่อให้เกมมีเอกลักษณ์และสรุปองค์ประกอบการออกแบบให้สมบูรณ์[8]
บิริริดามะเป็นโปเกมอนทรงกลมคล้ายลูกบอล มีความสูง 1 ฟุต 8 นิ้ว (51 ซม.) โดยครึ่งบนเป็นสีแดงและครึ่งล่างเป็นสีขาว ลักษณะเด่นของมันคือดวงตาสองดวงบริเวณส่วนบนด้านหน้า ซึ่งมักจ้องมองด้วยท่าทางโกรธเคืองอยู่เสมอ[10] บิริริดามะมีร่าง "ไชนี" (shiny) ที่หายากกว่า ตัวเป็นสีน้ำเงินแทนที่จะเป็นสีแดง [11] จัดเป็นโปเกมอนประเภท "ไฟฟ้า" มีรูปร่างคล้ายโปเกบอล ไม่มีเพศ และมักอาศัยอยู่ในโรงงานผลิตโปเกบอล บิริริดามะเคลื่อนที่โดยการกลิ้ง และอาจปล่อยกระแสไฟฟ้าช็อตผู้ที่อยู่ใกล้ หรือระเบิดจากแรงกระแทกกะทันหัน เมื่อได้รับประสบการณ์เพียงพอ มันสามารถวิวัฒนาการเป็นมารุไมน์ หรืออิเล็กโทรด (Electrode) ได้[10] ในญี่ปุ่น เรียกว่าบิริริดามะ แต่เมื่อนำเกมไปแปลสำหรับผู้เล่นฝั่งตะวันตก นินเทนโดตัดสินใจตั้งชื่อโปเกมอนแต่ละสายพันธุ์ให้สื่อถึงลักษณะภายนอกหรือคุณสมบัติเฉพาะตัว เพื่อให้เข้าถึงเด็กอเมริกันได้ง่ายขึ้น[12] ทำให้พวกมันถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "โวลทอร์บ" (Voltorb) เนื่องมาจากรูปร่างทรงกลมและมีคุณสมบัติทางไฟฟ้า[13]
ในการพัฒนา โปเกมอนเลเจนด์ อาร์เซอุส ในปี 2022 ได้แนะนำ "รูปแบบฮิซุย" (Hisuian Form) ซึ่งเป็นร่างประจำภูมิภาคของโปเกมอนบางตัวที่ปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของภูมิภาคฮิซุย บิริริดามะเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่ได้รับร่างใหม่นี้ เนื่องจากได้รับประเภท 'หญ้า' เพิ่มเติม บิริริดามะฮิซุยจึงมีการออกแบบที่แตกต่างออกไป โดยมีดวงตาทรงเหลี่ยมที่ดูสดใส และพื้นผิวลายไม้ แทนที่จะเป็นโลหะเหมือนบิริริดามะปกติ ซึ่งสะท้อนถึงรูปลักษณ์ของโปเกบอลในยุคฮิซุย นอกจากนี้ บิริริดามะฮิซุยยังมีรูบนหัว ซึ่งใช้สร้างเมล็ดพืชหรือปล่อยกระแสไฟฟ้าเมื่อถูกกระตุ้น ต่างจากบิริริดามะทั่วไปที่วิวัฒนาการด้วยค่าประสบการณ์ บิริริดามะฮิซุยต้องใช้ไอเท็ม 'หินใบไม้' (Leaf Stone) เพื่อพัฒนาเป็นอิเล็กโทรดของภูมิภาคฮิซุย นอกจากนี้ ร่างไชนีของบิริริดามะฮิซุยมีสีดำด้านบนแทนที่จะเป็นสีน้ำเงิน[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "増田氏が語る、ゲームフリークが 世界で通じる会社になるまで". Weekly Famitsu (ภาษาJapanese). No. 1590. 23 May 2019. pp. 98–106.
{{cite magazine}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ "こにし かつゆき 小西克幸". Maumau (ภาษาJapanese). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 13, 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-12-12.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ 3.0 3.1 Allison, Anne (May 2006). Millennial Monsters: Japanese Toys and the Global Imagination. University of California Press. pp. 192–197. ISBN 9780520938991.
- ↑ Pokémon Deluxe Essential Handbook. Scholastic Inc. July 28, 2015. p. 5. ISBN 9780545795661.
- ↑ Morrissy, Kim. "Pokémon Designers Reflect on History of Eevee's Design". Anime News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-26. สืบค้นเมื่อ 18 August 2020.
- ↑ Shotaro, Miya (2004). "Chapter 5: A Series of Problems". Satoshi Tajiri, The Man Who Made Pokémon. Ohta Publishing. p. 123. ISBN 4872338332.
- ↑ ゲームフリーク―遊びの世界標準を塗り替えるクリエイティブ集団 [Game Freak - A Creative Group That Redefines the Global Standard of Entertainment] (ภาษาJapanese). Akihito Tomisawa. August 2000. pp. 106–107. ISBN 9784840101189.
{{cite book}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ Ken Sugimori Works (ภาษาJapanese). Tankobon Softcover. January 2014. pp. 342–343. ISBN 9784198638061.
{{cite book}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ Koepp, Brian (2021-12-10). "Pokemon Legends Arceus fans are obsessed with Hisuian Voltorb already". Dexerto. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 4, 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-12-04.
- ↑ 10.0 10.1 "Voltorb - Pokédex". Pokemon.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 4, 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-12-03.
- ↑ "『ポケモン』青いポケモンマニア登場!色違い青いビリリダマに興味津々 【第81話場面カット公開】". Oricon News (ภาษาJapanese). 2021-09-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 10, 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-12-10.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ Howard Chua-Euan; Tim Larimer (1999-11-22). "PokéMania". Time. Vol. 154 no. 20. CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2016. สืบค้นเมื่อ 2018-01-04.
- ↑ "Pokémon Strategy Guide - #100 Voltorb". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-29. สืบค้นเมื่อ 2023-11-27.
- ↑ Edwards, Ashley (2022-02-23). "Pokémon Legends: Arceus - How To Get Hisuian Electrode". ScreenRant. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 28, 2022. สืบค้นเมื่อ 2023-12-10.