บาเลเรียโน เวย์เลร์
บทความนี้ยังไม่ได้รับการจัดหมวดหมู่ คุณสามารถช่วยปรับปรุงแก้ไข โดยการเพิ่มหมวดหมู่ที่เหมาะสมลงในบทความนี้ เพื่อจัดระเบียบบทความที่เกี่ยวข้องกัน ดูเพิ่มที่ โครงการจัดหมวดหมู่ |
บาเลเรียโน เวย์เลร์ | |||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้าหลวงใหญ่ประจำคิวบา | |||||||||||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 17 มกราคม 2439 - 31 ตุลาคม 2440 | |||||||||||||||||||||||||
กษัตริย์ | พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 แห่งสเปน | ||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | ซาบัส มาริน อี กอนซาเลซ | ||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | รามอน บลังโก อี เอเรนัส | ||||||||||||||||||||||||
ผู้สำเร็จราชการฟิลิปปินส์ | |||||||||||||||||||||||||
ดำรงตำแหน่ง 5 มิถุนายน 2431 - 17 พฤศจิกายน 2434 | |||||||||||||||||||||||||
กษัตริย์ | พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 แห่งสเปน | ||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | เอมิลิโอ เตร์เรโร อี เปรินัต | ||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | เอวโลฆิโอ เดสปูโฆล อี ดูไซ | ||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||||||||||||||||||||||||
เกิด | บาเลเรียโน เวย์เลร์ นิโกเลา 17 กันยายน 2381 ปัลมา สเปน | ||||||||||||||||||||||||
เสียชีวิต | 20 ตุลาคม 2473 มาดริด สเปน | ||||||||||||||||||||||||
พรรคการเมือง | พรรคเสรีนิยมสเปน | ||||||||||||||||||||||||
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |||||||||||||||||||||||||
รับใช้ | สเปน | ||||||||||||||||||||||||
สงคราม | |||||||||||||||||||||||||
บาเลเรียโน เวย์เลร์ ดยุคที่ 1 แห่งรูบี และมาร์ควิสที่ 1 แห่งเตเนริเฟ (สเปน: Valeriano Weyler y Nicolau; 17 กันยายน 2381 – 20 ตุลาคม 2473) เป็นนายทหารระดับสูงยศพลเอกและผู้ว่าการอาณานิคมแห่งสเปน ประจำที่ฟิลิปปินส์และคิวบา[1] ในภายหลังเขาได้กลับประเทศแม่และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีสงครามในเวลาต่อมา
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]เวย์เลร์เกิดเมื่อปี 2381 ที่ปัลมา ประเทศสเปน เดิมทีตระกูลของเขาเป็นคนเชื้อสายปรัสเซียแต่มาอยู่ในดินแดนสเปนหลายรุ่น ในวัยเด็กเขาได้รับการศึกษาพื้นฐานอยู่ที่บ้านเกิด แต่ก็มีความต้องการที่จะอยากเป็นทหารตามรอยพ่อของเขา ที่ดำรงตำแหน่งในกองทัพในฐานะแพทย์สนาม
ในวัย 16 ปี เวย์เลร์ก็สามารถเข้าเรียนในสถาบันทหารราบโตเลโด (Academia de Infantería de Toledo) ได้[2] เมื่อจบออกมาในวัย 20 ปี เขาก็ไต่เต้าในสายอาชีพของเขาได้อย่างรวดเร็ว ก่อนที่ในวัย 25 ปี เขาจะถูกส่งให้ไปประจำการที่คิวบา และมีส่วนร่วมในการระดมพลในความขัดแย้งในภูมิภาคแคริบเบียนในตอนนั้น[3] โดยในช่วงที่เขาประจำการในคิวบา ความขัดแย้งระหว่างชาวคิวบาและเจ้าอาณานิคมสเปนก็ขยายความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามเขาก็ถูกโยกกลับไปยังสเปนเพื่อรับมือกับกลุ่มการ์ลิสต์ (Carlista) ที่ขยายวงขึ้นในปี 2416 ก่อนที่อีกสามปีต่อมา เขาจะได้รับยศเป็นพลเอกอย่างรวดเร็วด้วยวัย 40 ปี เท่านั้น
ทางสู่การเป็นข้าหลวงใหญ่
[แก้]นับตั้งแต่ปี 2419 เป็นต้นมา เวย์เลร์ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าการแห่งกานาเรียส ก่อนที่ในปี 2431 เขาจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงใหญ่แห่งสเปนประจำฟิลิปปินส์[1] ขณะที่เขาอยู่ประจำการที่ฟิลิปปินส์ มีปัญหาเข้ามามากมายไม่ว่าจะเป็นการประท้วงเรียกร้องสิทธิสตรีในการได้รับการศึกษาเบื้องต้น ตลอดจนปัญหาของการลุกฮือของชาวตากาล็อกพื้นเมืองในฟิลิปปินส์ แม้ว่าจะไม่ได้เป็นปัญหาที่ใหญ่มากแต่เขาก็สามารถแก้ปัญหาในฟิลิปปินส์ได้ค่อนข้างดี ก่อนที่เขาจะกลับไปสเปนในปี 2435 เพื่อไปเป็นแม่ทัพคุมกองพลที่ 6 ที่ประจำอยู่ที่แคว้นบาสก์และนาวาร์ ทั้งนี้เพื่อดำรงความสงบและไม่ให้แคว้นทั้งสองลุกฮือขึ้นต่อต้านสเปน ทั้งนี้เขาถูกตั้งให้เป็นผู้ว่าการประจำบาร์เซโลนาด้วยอีกตำแหน่ง ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งนี้อยู่ 4 ปี ก่อนจะถูกส่งไปเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำคิวบาในเวลาถัดมา
ข้าหลวงใหญ่ประจำคิวบา
[แก้]เวย์เลอร์ถูกส่งให้ไปดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่แห่งสเปนประจำคิวบา ทั้งนี้เป็นไปตามนโยบายใหม่ของรัฐบาลอันโตนิโอ กาโนบัส เดล กัสติโย ซึ่งตัดสินใจไม่ประนีประนอมกับกลุ่มกบฏในคิวบาอีกต่อไป ดังนั้นแล้วเมื่อเวย์เลร์มาถึงคิวบา เขาได้รับอำนาจเต็มจากรัฐบาลในการกำจัดกลุ่มกบฏที่กระด้างกระเดื่องกับรัฐบาลอาณานิคม[4] ฟื้นฟูอำนาจทางการเมืองของรัฐบาลสเปนภายในคิวบา ตลอดจนทำให้ผลผลิตน้ำตาลในคิวบายังคงสามารถเติบโตไปได้ในคิวบา
ในช่วงต้นกองกำลังของเวย์เลร์ประสบความสำเร็จในการปราบปรามพวกกบฏ อย่างไรก็ตามพวกกบฏหนีเข้าป่าและได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านที่ให้ข้าวปลาอาหารตลอด และมักจะปิดบังที่ซ่อนของกลุ่มกบฏตลอดเวลาที่พวกทหารสเปนจะใช้งาน ซึ่งกลายเป็นปัญหาของรัฐบาลเวย์เลร์ เพราะการที่ชาวบ้านให้การช่วยเหลือกบฏแบบนี้ทำให้พวกเขาไม่สามารถปราบปรามกบฏได้อย่างเด็ดขาด เวย์เลร์เล็งเห็นว่าปัญหานี้เกิดขึ้นจากที่ชาวบ้านร่วมมือกับกบฏ ดังนั้นหากแยกชาวบ้านออกจากกบฏก็จะทำให้กลุ่มกบฏเสียกำลังและอาหารไปเอง รัฐบาลเวย์เลร์เริ่มทำการแบ่งพื้นที่ทั่วทั้งเกาะคิวบาออกเป็นส่วน ๆ จากนั้นก็โยกย้ายผู้คนตามหมู่บ้าน ชนบท หรือทำการเกษตร ไปอยู่ตามเมืองใหญ่ ไม่ก็ให้อยู่ตามนิคมที่รัฐบาลอาณานิคมได้สร้างเอาไว้ ซึ่งการโยกย้ายที่อยู่ครั้งสำคัญนี้ทำให้ประชากรกว่า 300,000 คน สูญเสียที่อยู่และส่วนมากเป็นผู้หญิงและก็เด็ก ส่วนพื้นที่ว่างที่เหลือที่อยู่นอกเหนือจากพื้นที่ที่รัฐบาลอาณานิคมกำหนด เวย์เลร์ก็จัดให้ทำลายพื้นที่เหล่านั้นไม่ให้ทำอะไรได้ ไร่นาและสวนอ้อยของเกษตรถูกเผาทำลายราบ ปศุสัตว์ถูกทำลายและฆ่า รัฐบาลอาณานิคมเข้าควบคุมพื้นที่ชนบทของเกาะคิวบาไว้ทั้งหมด และทำให้พื้นที่เหล่านี้ไม่เอื้ออำนวยต่อกลุ่มกบฏให้ได้มากที่สุด
นโยบายของเวย์เลร์ได้รับการตั้งชื่อว่าเป็นนโยบาย "การจัดระเบียบใหม่" (reconcentración) ซึ่งประสบความสำเร็จมากในการตัดท่อน้ำเลี้ยงของกลุ่มกบฏที่หลอกหลอนรัฐบาลอาณานิคมมาอย่างยาวนาน อย่างไรก็ตามนโยบายนี้ก็ได้มอบฉายาให้กับเวย์เลร์ว่าเป็น "นักเชือด" (El Carnicero)[5]เพราะการรวบรวมผู้คนเอาไว้มาอยู่ในที่เดียว ในพื้นที่ที่มีการทำการเกษตรน้อยกว่าเดิมนั้น ส่งผลโดยตรงต่อมิติทางเศรษฐกิจที่ทำให้การจัดสรรอาหารให้น้อยลง และทำให้ชาวคิวบาในชนบทอดอยากและหิวโหย ตลอดจนสุขลักษณะที่ไม่ดีจนเกิดโรคระบาดกระจายไปตามนิคมต่าง ๆ ที่รัฐบาลอาณานิคมคิวบาจัดการเอาไว้ ส่งผลโดยตรงทำให้มีคนตายไปมากถึง 150,000–400,000 คน[6][7] และทำลายระบบนิเวศการบริหารพื้นที่ของชาวคิวบา ตลอดจนทำลายความศรัทธาที่มีต่อรัฐบาลอาณานิคมไปจนหมดสิ้น ผลจากการดำเนินนโยบายการจัดระเบียบใหม่นอกจากสร้างความเสียหายต่อภาคเศรษฐกิจของคิวบาเองที่ไม่สามารถส่งออกน้ำตาลได้ที่ควร และยิ่งทำให้เกิดความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างสเปนกับสหรัฐอีก
อย่างไรก็ตามการดำเนินงานของเวย์เลร์ล้วนแล้วแต่ได้รับการหนุนหลังจากรัฐบาลพรรคอนุรักษ์นิยมของเดล กัสติโย การกวาดล้างกลุ่มกบฏตลอดจนการควบคุมชาวสวนตามชนบทยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งมีการผลัดเปลี่ยนรัฐบาลที่สเปน ในปี 2440 เวย์เลร์ถูกเรียกตัวกลับ และมีการปรับแผนนโยบายใหม่ในคิวบา หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงคือการทำลายนโยบายการจัดระเบียบผู้คนและการกักกันผู้คน ซึ่งรวมระยะเวลาที่เวย์เลร์ปฏิบัติการณ์ที่คิวบาคิดเป็นระยะเวลา 1 ปี 10 เดือน
กลับสเปนและวาระสุดท้ายของชีวิต
[แก้]เมื่อกลับมายังสเปน ด้วยชื่อเสียงที่เคยสร้างชื่อมาและด้วยความเป็นทหารทำให้เขามีบารมีในทางการเมืองของสเปนมาก และเป็นที่น่านับถือของคนหลายคนทางการเมือง โดยในเวลานี้เขามีอายุเกือบจะ 70 ปีแล้ว แต่ก็ยังได้รับความวางใจให้เป็นผู้ว่าการประจำเมืองสำคัญทั้งมาดริดที่เป็นเมืองหลวง หรือบาร์เซโลนา รวมทั้งในบางรัฐบาลเขายังได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีประจำกระทรวงสงครามอยู่หลายรอบในช่วงเวลาแห่งปี 2443-2452 [2]
บาเลเรียโน เวย์เลร์ เสียชีวิตในวันที่ 20 ตุลาคม 2473 ขณะอายุ 92 ปี ในช่วงวาระสุดท้ายเขาขอที่จะให้มีการจัดรัฐพิธีศพให้กับเขา อย่างไรก็ตามด้วยสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่แน่นอนทำให้พิธีศพของเขาไม่ใช่รัฐพิธี และมีการฝังอย่างเรียบง่ายแทน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Austin, Heather. "The Spanish–American War Centennial Website: Valeriano Weyler y Nicolau". สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2012.
- ↑ 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อloc
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อbiografias
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อEB1911
- ↑ "The Butcher of Cuba", "The Salt Lake Tribune", April 5, 1898
- ↑ Pitzer, Andrea (2 พฤศจิกายน 2017). "Concentration Camps Existed Long Before Auschwitz". Smithsonian Magazine (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2020.
- ↑ "February, 1896: Reconcentration Policy". PBS. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2020.
บรรณานุกรม
[แก้]- Navarro García, L. (1998). "1898, la incierta victoria de Cuba". Anuario de Estudios Americanos. University of Sevilla. 55 (1): 165–187. doi:10.3989/aeamer.1998.v55.i1.370.