ข้ามไปเนื้อหา

บาตูลันจัง

พิกัด: 5°23′0″N 100°18′0″E / 5.38333°N 100.30000°E / 5.38333; 100.30000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บาตูลันจัง

Batu Lanchang
การถอดเสียงอักษรอื่น ๆ
 • ยาวีباتو لنچڠ
 • จีน峇都兰樟 (ตัวย่อ)
峇都蘭樟 (ตัวเต็ม)
 • ฮกเกี้ยนBâ-too-lân-tsiang (Tâi-lô)
แผนที่
บาตูลันจังตั้งอยู่ในจอร์จทาวน์ ปีนัง
บาตูลันจัง
บาตูลันจัง
พิกัด: 5°23′0″N 100°18′0″E / 5.38333°N 100.30000°E / 5.38333; 100.30000
ประเทศมาเลเซีย
รัฐปีนัง
อำเภอเกาะปีนังตะวันออกเฉียงเหนือ
เมืองจอร์จทาวน์
การปกครอง
 • การปกครองท้องถิ่นสภานครเกาะปีนัง
 • นายกเทศมนตรีเกาะปีนังยู ตุง เซียง
 • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบาตูลันจังอง อา ตอง (DAP)
 • สมาชิกรัฐสภาเจอลูตงRSN Rayer (DAP)
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)ไม่สังเกต
รหัสไปรษณีย์11600
เว็บไซต์mbpp.gov.my

บาตูลันจัง (มลายู: Batu Lanchang) หรือปรากฏในเอกสารไทยว่า ประตูลันจัง[1] หรือ ปาลูจันตัง[2] เป็นย่านหนึ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของจอร์จทาวน์ รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ถูกขนาบด้วยย่านไอร์อีตัมทางตะวันตกและย่านเจอลูตงทางตะวันออก โดยชื่อ "บาตูลันจัง" เป็นคำมลายู แปลว่า "ถมอเรียง"[3]

เดิมบาตูลันจังเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ก่อนพัฒนาเป็นแหล่งอาศัยและเป็นส่วนหนึ่งของชานเมืองจอร์จทาวน์ที่มีอาคารสูงอยู่ประปราย โดยเฉพาะย่านกรีนเลน ทั้งนี้บาตูลันจังเป็นทางผ่านที่เชื่อมระหว่างจอร์จทาวน์กับย่านเกอลูโกร์

ประวัติ

[แก้]

ในอดีตบาตูลันจังเป็นพื้นที่เกษตรกรรมรกครึ้ม[4] มีชุมชนสยามเข้าไปตั้งถิ่นฐานมาช้านาน จนถึงขั้นก่อสร้างวัดชื่อวัดบาตูลันจัง ซึ่งขอพระราชทานวิสุงคามสีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2337[5] ที่ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ได้ประทานนามใหม่ว่าวัดปิ่นบังอร โดยทรงตั้งตามความฝันของนางสาวสนาน อมาตยกุล ที่ฝันถึงมารดาหลังทำบุญแก่วัดดังกล่าว[6] นอกจากนี้ยังมีวัดที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กันแต่สร้างภายหลังคือวัดจันทาราม[1] และวัดในหรือปิ่นบังอรใน[7]

หลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 มีเจ้านายและข้าราชการจากสยามจำนวนมากลี้ภัยไปเกาะปีนัง ในจำนวนนี้มีผู้พำนักในย่านบาตูลันจังได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี รวมทั้งพระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) นายกรัฐมนตรีคนแรกของสยาม ครั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2478 จึงมีการพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพอย่างอัตคัต ณ ลานข้างพระอุโบสถวัดปิ่นบังอร โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงออกแบบพระเมรุอย่างเรียบง่ายแต่สง่างาม และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นผู้พระราชทานเพลิงพระศพ[3] หลายปีต่อมาพระยามโนปกรณนิติธาดาถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2491 จึงมีการบรรจุศพอย่างชั่วคราวที่ป่าช้าวัดปิ่นบังอร หกเดือนต่อมาจอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้ส่งเรือหลวงไปรับร่างพระยามโนปกรณนิติธาดาเพื่อฌาปนกิจในไทย[8]

ปัจจุบันยังหลงเหลือร่องรอยการอยู่อาศัยของคนสยามในอดีต เช่น หลุมศพของพระยามโนปกรณนิติธาดาที่วัดปิ่นบังอร[9] รวมทั้งชื่อถนนมโน และซอยมโน ที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีของสยามที่เคยพำนักในย่านดังกล่าว[4]

จากการพัฒนาของเมือง ทำให้ย่านกรีนเลนแถบไอแลนด์พาร์ดและไอแลนด์เกลดส์กลายเป็นชานเมือง แล้วแพร่ขยายในรูปแบบคอนโดมิเนียมทั่วบาตูลันจัง

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. "สาส์นสมเด็จ (29 พฤษภาคม พ.ศ. 2478)". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. นนทพร อยู่มั่งมี. ธรรมเนียมพระบรมศพและพระศพเจ้านาย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : มติชน, 2560, หน้า 67
  3. 3.0 3.1 ศรัณย์ ทองปาน (18 มีนาคม 2556). "ติดเกาะ! ตามสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ไป "ลี้ภัยการเมือง" ที่ปีนัง". สารคดี. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 กิเลน ประลองเชิง (25 กรกฎาคม 2556). "ตามรอยพระยามโนฯ". ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. บรรลือ ขอรวมเดช (2555). อุโบสถวัดไทยในเมืองมลายู (กลันตัน เกดะห์ ปะลิส และปีนัง) สมัยรัตนโกสินทร์ (PDF). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 270.
  6. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. "สาส์นสมเด็จ (9 กรกฎาคม พ.ศ. 2483)". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. บรรลือ ขอรวมเดช (2555). อุโบสถวัดไทยในเมืองมลายู (กลันตัน เกดะห์ ปะลิส และปีนัง) สมัยรัตนโกสินทร์ (PDF). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 255.
  8. บัณรส บัวคลี่ (17 ตุลาคม 2554). "ที่บรรจุศพพระยามโนปกรณ์ฯ เมืองปีนัง". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "Voice on tour 34: มนต์ปีนังเมืองมรดกโลก (2)". วอยซ์ทีวี. 30 พฤศจิกายน 2560. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)