ข้ามไปเนื้อหา

บาตารากูรู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บาตารากูรู ไม้แกะสลักศิลปะบาหลี

บาตารากูรู (อินโดนีเซีย: Batara Guru) หรือชื่ออื่น ๆ ได้แก่ บัตตารากูรู (Bhattara Guru; ภัตตรคุรุ), เดอบาตาบาตารากูรู (Debata Batara Guru; เทวดาภัตตรคุรุ) หรือ บาจาราซีวา (Batara Siwa; ภัตตรศิวะ) เป็นชื่อเรียกพระเป็นเจ้าในศาสนาฮินดูแบบอินโดนีเซียองค์หนึ่ง[1][2] ชื่อนี้มีที่มาจากภาษาสันสกฤต ภัตตรกะ (Bhattaraka) แปลว่า "พระผู้ทรงศักดิ์"[3] ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีคติต่อเทพเจ้าองค์นี้ในฐานะคุรุทางจิตวิญญาณ เป็นคุรุองค์แรกแห่งคุรุทั้งปวงในวรรณกรรมฮินดูแบบอินโดนีเซีย ลักษณะคล้ายกันกับปางทักษิณามูรติของพระศิวะในศาสนาฮินดูแบบอนุทวีปอินเดีย[4][5] กระนั้น บาตารากูรูมีรูปปางที่มากกว่าพระศิวะตามคติฮินดูในเอเชียใต้ เนื่องมาจากการผสานความเชื่อท้องถิ่น ทั้งดวงวิญญาณและวีรชนพื้นถิ่นของอินโดนีเซียเข้าไปผสม ในคติอินโดนีเซีย พระชายาของบาตารากูรูคือพระทุรคา[6][7]

บ้างอาจถือว่าบาตารากูรูเป็นรูปปางหนึ่งของพระรุทร-ศิวะ[8] ในฐานะพระผู้สร้างในปรัมปราของวรรณกรรมภาษาชวาและภาษาบาหลี คล้ายกันกับคติของพระพรหมในฮินดูแบบอนุทวีปอินเดีย และมีฐานะเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุดในคติฮินดูแบบอินโดนีเซีย คล้ายกันกับจูปีเตอร์ในคติชนสมัยโรมันโบราณ[9]

ในปรัมปราวิทยาของเกาะสุมาตรากล่าวถึงบาตารากูรูเป็นพระผู้สร้างโลก และบรรพชนคนแรกของมนุษย์ทั้งปวง ลักษณะคล้ายกับคติเทพเจ้าผู้สร้างโลกในเอเชียกลางและชนพื้นเมืองของอเมริกาเหนือ[10] ส่วนในพื้นที่อื่น ๆ ของอินโดนีเซียอาจถือว่าเทียบเท่าพระศิวะ ในบางพื้นที่ยังอาจถือว่าสูงส่งกว่าพระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ และพระพุทธเจ้า ด้วยซ้ำ[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Shelly Errington (2014). Meaning and Power in a Southeast Asian Realm. Princeton University Press. p. 283. ISBN 978-1-4008-6008-1.
  2. A.J. Bernet Kempers (2013). Monumental Bali: Introduction to Balinese Archaeology & Guide to the Monuments. TP Indonesia. p. 83. ISBN 978-1-4629-1154-7., Quote: "In Bali, Mahesvara is also called Batara Guru or Batara Siva".
  3. R. Ghose (1966), Saivism in Indonesia during the Hindu-Javanese period, The University of Hong Kong Press, pages 16, 123, 494-495, 550-552
  4. R. Ghose (1966), Saivism in Indonesia during the Hindu-Javanese period, The University of Hong Kong Press, pages 130-131, 550-552
  5. Anne Richter; Bruce W. Carpenter; Bruce Carpenter (2012). Gold Jewellery of the Indonesian Archipelago. Editions Didier Millet. pp. 214, 348. ISBN 978-981-4260-38-1., Quote: "The solar god, La Patigana, would become a son of Siwa and Luwu; the first Bugis kingdom was founded by Batara Guru, another incarnation of Siwa."
  6. Hariani Santiko (1997), The Goddess Durgā in the East-Javanese Period, Asian Folklore Studies, Vol. 56, No. 2, pp. 209-226
  7. R. Ghose (1966), Saivism in Indonesia during the Hindu-Javanese period, The University of Hong Kong Press, pages 15-17
  8. Bibliotheek der Rijksuniversiteit te Leiden; Hedwig I. R. Hinzler (1986). Codices Manuscripti: Catalogue of Balinese manuscripts in the Library of the University of Leiden and other collections in the Netherlands. Brill Academic. p. 459. ISBN 90-04-07236-5., Quote: "Rudra, however, has four arms and holds a rosary, which is characteristic of the manifestation of Shiva as Batara Guru."
  9. Sunarto H.; Viviane Sukanda-Tessier, บ.ก. (1983). Cariosan Prabu Silihwangi. Naskah dan dokumen Nusantara (ภาษาอินโดนีเซีย และ ฝรั่งเศส). Vol. 4. Lembaga Penelitian Perancis untuk Timur Jauh. p. 383. Statuette tricéphale assise, cuivre rouge moulé d'une beauté rarement égalée. C'est Batara Guru, un super dieu équivalent au Jupiter des Romains et au Brahma des Hindous.
  10. David Leeming (2005). The Oxford Companion to World Mythology. Oxford University Press. p. 47. ISBN 978-0-19-515669-0.
  11. Martin Ramstedt (2005). Hinduism in Modern Indonesia. Routledge. p. 207. ISBN 978-1-135-79052-3.