บันทึกแวมไพร์วานิทัส
บันทึกแวมไพร์วานิทัส | |
หน้าปกของมังงะ บันทึกแวมไพร์วานิทัส เล่ม 1 ในฉบับภาษาไทย | |
ヴァニタスの手記 (Vanitasu no Karute) | |
---|---|
ชื่อภาษาอังกฤษ | The Case Study of Vanitas หรือ Vanitas No Carte |
แนว | |
มังงะ | |
Les Memoires de Vanitas บันทึกแวมไพร์วานิทัส | |
เขียนโดย | จุน โมจิซุกิ |
สำนักพิมพ์ | สแควร์เอนิกซ์ |
สำนักพิมพ์ภาคภาษาไทย | สยามอินเตอร์คอมิกส์ |
นิตยสาร | กังกังโจ๊กเกอร์รายเดือน |
กลุ่มเป้าหมาย | โชเน็ง |
วางจำหน่ายตั้งแต่ | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน |
จำนวนเล่ม | 10 |
อนิเมะโทรทัศน์ | |
Vanitas No Carte The Case Study Of Vanitas ヴァニタスの手記 บันทึกแวมไพร์วานิทัส | |
กำกับโดย | โทโมยูกิ อิตามูระ |
อำนวยการสร้างโดย |
|
เขียนบทโดย | เดโกะ อากาโอะ |
ดนตรีโดย | ยูกิ คาจิอูระ |
สตูดิโอ | โบนส์ (สตูดิโอ) |
ถือสิทธิ์โดย | อนิพลัสเมเดียเน็ตเวิกส์เอเชีย |
เครือข่าย | โตเกียวเอ็มเอกซ์, GYT, GTV, BS11, MBS, CBC, HBC, RKB |
เครือข่ายภาษาไทย | อนิพลัส (ais paly), อ้ายฉีอี้, ปีลีปีลี, วีทีวี |
ฉาย | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 – 2 เมษายน พ.ศ. 2565 |
ตอน | 24 |
บันทึกแวมไพร์วานิทัส (ญี่ปุ่น: ヴァニタスの手記; โรมาจิ: Vanitasu no Karute) หรือในชื่ออื่นว่า The Case Study of Vanitas , Les Memoires de Vanitas, Vanitas no Shuki , Vanitas no Carte และชื่ออื่นในภาษาอีกมากมาย นั้นเป็นซีรีส์มังงะญี่ปุ่น เขียนเรื่องและวาดภาพโดยจุน โมจิซุกิ ตีพิมพ์ในนิตยสารกังกังโจกเกอร์รายเดือน ของสำนักพิมพ์สแควร์เอนิกซ์ ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 มีฉากเป็นเมืองปารีสในศตวรรษที่ 19 เนื้อเรื่องแนวดาร์กแฟนตาชี ดราม่า แอคชั่น คอมเมดี้ โรแมนติก อาญากรรมและลึกลับ แวมไพร์และสตีมพังก์ แล้วอ้างอิงนิยายกับประวัติศาสตร์ได้รับการดัดแปลงเป็นซีรีส์อนิเมะโทรทัศน์โดยสตูดิโอโบนส์ ออกอากาศตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ถึงเมษายน พ.ศ. 2565
ภายในเดือนมิถุนายน 2564 บันทึกแวมไพร์วานิทัสมียอดจำหน่ายมากกว่า 5.5 ล้านเล่มทางฝั่งต่างประเทศ มังงะเรื่องนี้ได้รับการยกย่องเรื่องไดนามิกของตัวละครโดยเฉพาะวานิทัสและโนเอ้ และใช้ฉากแอคชั่นผสมความตลกขบขัน รวมความลึกลับและโรแมนติก มีความเป็นแวมไพร์สตรีมพังก์ ทำให้แฟนชาวไทยบางคนชื่นชอบ นอกจากนี้การดัดแปลงของเวอร์ชั่นอนิเมะยังได้รับการตอบรับที่คล้ายคลึงในด้านภาพอนิเมชั่นและองค์ประกอบด้านแฟนตาชี โดยเรื่องราวเน้นไปที่สองคู่หูอย่างวานิทัสกับโนเอ้ เพื่อรักษาแวมไพร์โดยใช้ตำราวานิทัส ซึ่งจุน โมจิซุกิได้รับแรงบันดาลใจจากการเขียนซีรีส์วานิทัสมาจากการที่เธอไปเยือนฝรั่งเศส และภาพยนตร์แวมไพร์ lgbt+ ซึ่งเธอตั้งใจจะก้ามข้ามผลงานเก่าอย่าง Pandora Hearts โดยเน้นวาดฉากต่อสู้ที่น่าดึงดูดใจ และเพิ่มความรักเข้าไปในงาน เน้นไปที่ธีมที่ซ่อนตัวตนอยู่มากขึ้น อนิเมะที่ฉายอยู่นั้นแบ่งการฉายออกเป็นสองพาร์ทมีจำนวนตอนทั้งหมด 24 ตอน ฉายพาร์ทละ 12 ตอน โดยพาร์ทแรกจะออกอากาศฉายตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคมถึง 18 กันยายน พ.ศ. 2564 ส่วนพาร์ทสองออกอากาศตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม ถึง 2 เมษายน พ.ศ. 2565
หลังจากมีการเขียนเวโรนิก้ากับมาคิน่าเป็นเลสเบี้ยนแคนน่อน ทำให้มีการพิจารณาบทสัมภาษณ์ที่ได้รับแรงบันดาลใจ และจัดวานิทัสให้อยู่ในหมวดหมู่ซีรีย์ lgbt โดยมีตัวละครหลักอย่างวานิทัส โนเอ้ ฌาน โดมิเป็นไบเซ็กซวล (Bisexual)
เนื้อเรื่อง
[แก้]เดิมทีมนุษย์และแวมไพร์นั่นเคยอาศัยอยู่ร่วมกันแต่หลังจากที่สงครามระหว่างสองเผ่าพันธุ์สิ้นสุดลงและเหล่าแวมไพร์เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ มนุษย์จึงขึ้นเป็นใหญ่ทำให้แวมไพร์ที่เหลือจำต้องย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อัลทัสซึ่งเป็นมิติคู่ขนานแทน แต่อย่างไรก็ตามยังมีแวมไพร์บางส่วนเลือกที่จะใช้ชีวิตปะปนอยู่กับมนุษย์โดยอยู่ภายใต้การดูแลของเคานต์ผู้ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยองค์ราชินีแวมไพร์ เมื่อเวลาล่วงเลยไปจนกระทั่งศตวรรษที่ 19 แวมไพร์หนุ่มนามว่า โนเอ้ ได้รับคำสั่งจากอาจาย์ให้เดินทางมาตามหาตำราวานิทัสที่ปารีส ในระหว่างการเดินทางเขาได้พบกับวานิทัสชายหนุ่มผู้ลึกลับ ผู้อ้างตนว่าเป็นหมอรักษาคำสาปให้กับเหล่าแวมไพร์ แล้วเป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งที่ทำให้โนเอ้รู้สึกประหลาดใจมาก จึงติดตามเขาไปด้วยในฐานะคู่หู
Word Building
[แก้]โลกของวานิทัสมีมนุษย์ แวมไพร์และแดมพีร์ (ลูกครึ่งมนุษย์-แวมไพร์) อาศัยอยู่ร่วมกันทว่าหลังจากที่แวมไพร์ได้พ่ายแพ้มนุษย์เมื่อสงคราม 100 ปีก่อน แวมไพร์จึงแยกตัวและไปสร้างมิติของตัวเองที่ชื่อว่า "อัลทัส" ด้วยเหตุนี้แวมไพร์จึงกลายเป็นแค่นิทานก่อนนอนสำหรับบางคน แต่ยังมีแวมไพร์ที่อาศัยอยู่ร่วมกับมนุษย์และไม่เปิดเผยตัวตน กับเหล่ากลุ่มคนที่ล่วงรู้ถึงการมีตัวตนอยู่ของเหล่าแวมไพร์ซึ่งเรียกขานตัวเองว่า "ชาสเซอร์" ซึ่งเป็นคนของโบสถ์ที่ทำหน้าที่ไล่ล่าแวมไพร์เพราะรู้สึกเกลียดซังสิ่งที่แปลกปลอมที่ไม่ใช่มนุษย์ ในอดีตกาลแวมไพร์เคยเป็นมนุษย์ธรรมดา แต่ว่าหลังจากเกิดปรากฏการณ์สิ่งที่เรียกว่า "บาเบล" ทำให้เกิดการกลายพันธุ์และถูกแปรสภาพแล้วโดนเขียนค่าสมการขึ้นมาใหม่ให้เป็น "สายพันธุ์ใหม่" ซึ่งเรียกว่าการเล่นแร่แปรธาตุ ทำให้ก่อกำเนิดสิ่งใหม่ๆ ทั้งแร่แอสเทอร์ไมต์ที่สร้างขึ้นจากถ่านหินนำมาใช้เป็นพลังงานเพื่อนวัตกรรมใหม่ๆ เช่นเรือเหาะ รถยนต์อาวุธ ล้วนใช้แร่แอสเทอร์ไมต์ทั้งสิ้น สิ่งนี้เรียกว่าสตรีมพังค์ นอกจากนี้บาเบลยังให้กำเนิดดอกไม้สีฟ้า แล้วมนุษย์สายพันธุ์ใหม่ที่มีดวงตาสีแดงเรืองแสงที่เรียกว่า "แวมไพร์" โดยส่วนใหญ่แวมไพร์จะเกิดในคืนพระจันทร์สีแดงเท่านั้น มีชื่อว่าแวมไพร์จันทราสีแดง หากแต่มีเพียงแวมไพร์ตนเดียวเท่านั้นที่เกิดในคืนจันทราสีน้ำเงิน เรียกว่าแวมไพร์จันทราสีน้ำเงินที่ให้ความรู้สึกแปลกแยกจนถูกเผ่าพันธุ์ตัวเองขับไล่ และได้สร้างตำราวานิทัสเพื่อแก้แค้นเหล่าแวมไพร์ โดยตำราสามารถรักษาและควบคุมแวมไพร์นั้นได้ชั่วขณะ แล้วแวมไพร์สายพันธุ์ใหม่ไม่จำเป็นต้องดื่มหรือรู้สึกหิวโหยเหมือนแวมไพร์ในตำนาน เหมือนที่หนังสือเคยเขียนไว้ เพียงแค่สมัยใหม่อาจไม่ต้องดื่มเลือดเพื่อรักษาบาดแผลของตัวเองในสงคราม แต่ก็มีแวมไพร์บางตนที่ชื่นชอบเลือดแบ่งได้เป็นสองประเภทคือผู้เสพติดโลหิต หมายถึง แวมไพร์ที่ชื่นชอบแต่รสชาติเลือดจนไม่สนว่าจะฝังเขี้ยวหรือจะทำให้เหยื่อทรมาณ ด้วยวิธีใด ขอแค่มีเลือดไว้ก่อน กับ ผู้เสพติดการดูดเลือด หมายถึง แวมไพร์ที่ชื่นชอบและสนเรื่องการฝังเขี้ยวใส่เหยื่อ ก่อนจะดื่มเลือดของอีกฝ่าย ขณะเดียวกันนั้นก็มีแวมไพร์ที่ไม่โปรดปรานในรสเลือด และเลือกเป็นมังสวิรัติ เน้นทานอาหารของมนุษย์มากกว่า เหตุผลที่แวมไพร์บางตนดื่มเลือดเพราะมองว่าเลือดคือความบันเทิง และเป็นอาหารยามว่าง เหมือนกับการกินขนมหวานหรือเสพแอลกอฮอล์มึนเมาชั้นดี แต่ถ้าหากคลั่งเลือดมากเกินไป และมีอาการกระหายเลือดจนผิดปกติ โดนช่วงชิงนามที่จริงจะถูกเรียกว่าผู้ต้องสาป ส่วนนามที่จริงของแวมไพร์เปรียบเสมือนวิญญาณและชีวิตของเหล่าแวมไพร์ที่โดนทำให้แปดเปื้อน จะกลับมาเป็นแวมไพร์เหมือนเดิมไม่ได้ จะต้องถูก "Bourreau—บูโร" ที่ทำหน้าที่เป็นแวมไพร์ประหารชีวิตผู้กระทำผิดที่จ้างโดยวุฒิสภานั้นตัดศีรษะ สร้างขึ้นมาจากแวมไพร์ที่ก่ออาญากรรมร้ายแรงแล้วต้องชดใช้ความผิดด้วยการทำงานรับใช้และไล่ล่าผู้กระทำผิด ต่างเป็นที่เกรงกลัวของเหล่าแวมไพร์ทั่วไป บางครั้งอาการกระเลือดหายอย่างรุนแรงมีลักษณะอาการคล้ายผู้เสพติดโลหิต จนสามารถสร้างความสับสนง่ายเรื่องใครเป็นผู้ต้องสาป ไม่สามารถแยกออกได้ และเมื่อแวมไพร์กัดเหยื่อที่หมายปองจะเกิดรอยตราสัญลักษณ์ที่เรียกว่า "มาร์กิ้ง" บ่งบอกว่าแวมไพร์ตนใดเป็นเจ้าของผู้ถูกล่า เสมือนเป็นการประกาศต่อหน้าแวมไพร์ตนอื่นว่าเป็นคนของแวมไพร์ตนนั้น ขณะที่แดมพีร์ (ลูกครึ่งมนุษย์-แวมไพร์) จะอาศัยอยู่ในเมืองลูกผสมโดยเฉพาะ ซึ่งปกครองโดยเซอร์ฟรานซิส มาร์นีย์ หรือมาควิสมาคิน่า ผู้คลั่งหุ่นจักรกล ผู้มีตำแหน่งในวุฒิสภาและเป็นหนึ่งในสามบีสเทีย (เขี้ยวขององค์ราชินี)
การผลิตสื่อ
[แก้]หลังจากอาจาย์โมจิซุกิ จุน ผู้สร้างซีรีส์โด่งดังอย่างแพนโดร่า ฮาร์ท ได้จบซีรีส์อย่างสวยงาม เธอก็ได้ตัดสินใจวาดเรื่องที่เกี่ยวกับแวมไพร์ เดิมทีก่อนมาเป็นซีรีส์บันทึกแวมไพร์วานิทัส อย่างที่เห็นในปัจจุบัน อาจาย์โมจิซุกิไม่ได้มีความคิดในหัวที่เขียนซีรีย์วานิทัสตั้งแต่แรก เธอนั้นเคยคิดพยามเขียนแนวแวมไพร์ในรั้วโรงเรียน มีตัวละครแวมไพร์หญิงเป็นตัวละครหลัก ซึ่งเป็นเรื่องราวความรักระหว่างชายกับหญิงที่มีไดนามิกโรมิโอกับจูเลียต เต็มไปด้วยพล็อตเซอร์ไพรส์มากมาย ก่อนที่ผู้เขียนเปลี่ยนพล็อตแล้วจบด้วยการให้ฌานเป็นตัวละครซับพอร์ตแทนที่เป็นตัวละครหลัก และวานิทัสคือตัวละครแรกที่ถือกำเนิดขึ้นจากการที่เธอไปท่องเที่ยวมงต์แซงต์มิเชลที่ฝรั่งเศส ระหว่างทางอาจาย์จินตนาการเรื่องการวาดแวมไพร์หญิงที่มีนิสัยไร้เดียงสาเป็นตัวละครหลักกับแวมไพร์ตนหนึ่งที่คอยเฝ้ามองเมืองเป็นเวลาหนึ่งร้อยปี และทุกสิ่งทุกอย่างของบันทึกแวมไพร์วานิทัส เกิดไอเดียที่คล้ายกัน ทว่าแตกต่างกัน โมจิซุกิมีความตั้งใจทำหลายสิ่งหลายอย่างที่เธอไม่สามารถทำได้ในแพนโดร่า ฮาร์ท ในงานใหม่ผู้เขียนจึงเพิ่มองค์ประกอบความรักและฉากแอคชั่นกับซีรีส์นี้ทว่าบรรณาธิการของเธอคัดค้านและบอกว่าให้ลดมันลงเพราะเธอไม่ถนัดเขียนเรื่องนั้น แต่โมจิซุกิยังคงเชื่อในตัวเองและฝึกวาดรูปต่อไป โดยหวังว่าถ้าเธอฝึกมากขึ้น จะต้องช่วยเพิ่มแรงดึงดูดให้กับผลงานของผู้เขียน[3] นอกจากนั้นเธอยังเพิ่มสตีมพังค์เข้าไปเนื่องจากตัวผู้เขียนเป็นแฟนคลับตัวยงที่ชื่นชอบแนวนั้นมานานแล้ว ที่สำคัญซีรีส์นี้มีลักษณะแตกต่างจากแพนโดร่า ฮาร์ท โดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นความตั้งใจของโมจิซุกิที่ต้องการให้ผลงานเธอต่างจากเรื่องเก่า
ส่วนวานิทัสกับโนเอ้คือความสัมพันธ์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเชอร์ล็อกโฮมส์กับวัตสัน แต่ในขณะที่ความสัมพันธ์วานิทัสกับฌานได้รับแรงบันดาลใจมาจากโรมิโอกับจูเลียต ในสัมภาษณ์ของผู้เขียนนั้น เธอต้องการเขียนคู่รักชายหญิงที่ไม่เป็นมิตรต่อกันมากนัก แต่ต่างพึ่งพากัน และมีความรู้สึกดึงดูดใจต่อกัน
แต่เวลาเดียวกันอีกอิทธิพลสำคัญที่ช่วยอาจาย์โมจิซุกิในการสร้างซีรีส์ มาจากการที่สมัยเด็กเธอเคยมีโอกาสเปิดดูภาพยนตร์แวมไพร์เรื่อง เทพบุตรแวมไพร์ หัวใจรักไม่มีวันตาย โดยบังเอิญซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2537 แต่งขึ้นโดยแอนน์ ไรซ์ มีเนื้อหาเกี่ยวกับเกย์/ไบ เมื่อผู้เขียนได้ดูโศกนาฏกรรมแและการดำรงอยู่ของเหล่าแวมไพร์ ตลอดจนถึงฉากดูดเลือดนั้น ทำให้เธอรู้สึกประทับใจ จนไม่สามารถสลัดออกไปได้ มันส่งผลต่อการชื่นชอบไดนามิกตัวละครและผสมเรื่องราวระหว่างชายกับหญิงลงในผลงาน ซึ่งมีอิทธิพลในการจัดวางตัวเอกของผู้เขียน แล้วผู้เขียนยังชอบซีรีย์ "TASOGARE RENREN"[4] เป็นมังงะโชโจวเรื่องสั้นที่เขียนโดยอาจาย์ "NARI KUSAKAWA" กลายเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจสำคัญที่ช่วยทำให้เธอเขียนฉากแวมไพร์หญิงดูดเลือดชาย[4] ซึ่งผู้เขียนให้เหตุผลว่าเคยเจอผลงานแวมไพร์ชายดื่มเลือดผู้หญิงเยอะแล้ว จึงต้องการเขียนฉากเซ็กซี่ที่แวมไพร์หญิงรุกผู้ชาย แวมไพร์ชายกินเลือดผู้ชายด้วยกันนอกจากนี้อาจาย์ผู้แต่งยังต้องการวาดฉากแวมไพร์หญิงกินเลือดหญิงในอนาคต[5]
ส่วนการมาเยือนปารีสของโมจิซุกิที่ได้ออกมานอกประเทศญี่ปุ่น นั่นคือครั้งแรกที่ผู้เขียนมาเที่ยวที่ฝรั่งเศส ซึ่งทำให้เธอประทับใจมาก ทั้งสภาพอากาศที่เบาบางกว่าญี่ปุ่น อาคารที่อนุรักษ์นิยมแตกต่างจากที่ญี่ปุ่นที่มักจะสร้างอาคารใหม่ๆ อยู่เป็นประจำ แล้ววิวสวยๆ ภายในเมือง ผู้เขียนยังพูดอีกว่าสถานที่ของฝรั่งเศสที่ชื่นชอบคือ "แซ็งแฌร์แม็งเดเพร" ตอนจิบกาแฟและมีโอกาสมองโบสถ์สวยๆ ทำให้อยากใช้เวลาในร้านกาแฟไปนานๆ แถมชีวิตคนในฝรั่งเศสต่างจากที่ญี่ปุ่น
แล้วตอนในงาน Japan Expo ผู้เขียนได้ถูกชวนให้เป็นแขกรับเชิญภายในงาน เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้โนเอรู้สึกมีความประทับใจมากกว่าปกติ เพราะเกิดความรู้สึกยินดีของอาจาย์โมจิซุกิที่เคยได้ไปสัมผัสประสบการณ์ที่ประเทศฝรั่งเศส สุดท้ายผู้เขียนจึงตัดสินใจวางเซ็ตติ้งเบื้องหลังเป็นประเทศฝรั่งเศส ส่วนไอเดียพาราดินของโบสถ์คาทอลิกนั้นมีต้นแบบมาจากตำนานชาร์เลอมาญ สุดท้ายแม้วานิทัสจะไม่ได้อ้างอิงบุคคลในประวัติศาสตร์จริงเหมือนกันทั้งหมดเกือบร้อยเปอร์เซ็น ถึงอย่างนั้นเธอก็ยังชอบเล่นไดนามิกความสัมพันธ์และลักษณะนิสัยของตัวละคร ซึ่งโมจิซุกินั้นเคยกล่าวไว้ว่าเธอเคยเห็นเรื่องราวประเภทแวมไพร์ถูกใช้ในงานอื่นบ่อยแล้ว จึงต้องการสร้างเรื่องราวที่ต่างจากเรื่องอื่น โมจิซุกิตระหนักดีว่าแวมไพร์ที่ศึกษาจากตำนาน รวมทั้งรูปลักษณ์ หรือจุดอ่อนหลายจุดที่แตกต่างกันของพวกมันมีความน่าสนใจ ผู้เขียนจึงนำจุดอ่อนแวมไพร์มาใส่เพื่อใช้ประโยชน์จากตรงนั้นในการได้สร้างมุมมองใหม่ ๆ[5]
ตอนแรกผู้เขียนตั้งใจวางบทให้วานิทัสเป็นแวมไพร์ ส่วนโนเอเป็นมนุษย์ โดยวางบทให้วานิทัสเป็นเชอร์ล็อกโฮมส์ แต่โนเอคือวัตสัน ซึ่งเป็นผู้ช่วยของเชอร์ล็อกโฮมส์ ทว่าไม่ว่าเธอจะทำด้วยวิธีใดหรือเสนอเรื่องนี้ต่อบรรณาธิการหลายครั้ง ก็ไม่มีทีท่าว่าจะยอมสักที จนสุดท้ายผู้เขียนยอมแพ้แล้วปรึกษาต่อบรรณาธิการ เขาได้ให้คำแนะนำต่อผู้เขียนว่าลองสลับบทบาทของตัวเอกดู โดยให้เชอร์ล็อกเป็นมนุษย์ แต่วัตสันเป็นแวมไพร์ ซึ่งตอนแรกผู้เขียนแอบประหลาดใจ แล้วคาดไม่ถึงกับไอเดียเผลออุทานในใจว่า "เชอร์ล็อกโฮมส์เป็นมนุษย์ แต่วัตสันเป็นแวมไพร์งั้นเหรอ?" ตอนหลังโมจิซุกิยอมรับแล้วจึงยอมเปลี่ยนในตอนสุดท้ายเพราะพบว่ามันโดดเด่นมากกว่า ด้านการออกแบบตัวละครนั้นผู้เขียนได้ถูกเพื่อนร่วมงานวิจารณ์เรื่องดีไซน์ของวานิทัสเพราะพวกเขาไม่ชอบตัวละครแนวใส่แว่นโดยเฉพาะโนเอ้ สุดท้ายเธอจึงยอมเปลี่ยนดีไซน์ทรงผมวานิทัสให้เป็นผมหน้าม้าสองชั้น ส่วนดีไซน์โนเอแตกต่างจากสิ้นเชิงอย่างที่เห็นในปัจจุบัน เดิมทีนั้นดีไซน์ดั้งเดิมของเขาคือวัยกลางคนใส่แว่นที่มีอายุมากกว่าวานิทัสที่มีอายุเพียงแค่ 15 ปี และเป็นคนตลกเฮฮา เธอพยามบังคับให้เปลี่ยนความคิดใหม่และลองร่างตัวละครตั้งแต่ต้นจนจบ รวมอื่น ๆ อีกมากมาย จนเป็นสองคู่หูแบบที่เห็นภายในซีรีส์ เนื่องจากอาจาย์โมจิซุกิชอบให้ตัวละครที่มีลักษณะนิสัยขัดแย้งปะทะกัน เธอจึงพยามหลีกเลี่ยงให้พวกเขาเป็นเพื่อนกันหรือพี่น้องกันในตอนแรก แต่ให้ความสัมพันธ์พวกเขาเป็นเพียงแค่เพื่อนร่วมงานเท่านั้น งานเขียนของผู้เขียนไม่มีจุดตายตัวใดเป็นพิเศษ แต่เวลาโมจิซุกิคิดไอเดียไม่ออกมักจะลงเอยด้วยการวาดตัวละครลงในภาพสเก็ตช์ หยุดพักไอเดียใหม่ เขียนช่องพาเนลใหม่ ๆ กับตัวผลงานของเธอ เมื่อครั้งใดที่วาดสีหน้าของตัวละคร โมจิซุกิจะวาดจนกว่าเธอรู้สึกพอใจตามที่ได้คาดหวังไว้ และแทนที่จะเขียนให้มีตัวร้ายภายในซีรีส์เหมือนกับแพนโดร่า ฮาร์ท ผู้เขียนจึงตั้งใจให้ตัวละครวานิทัสมีความเกี่ยวข้องกับหลาย ๆ คนแทน พยามปรับปรุงจุดบกพร่องงานเขียนหลายอย่างที่เคยทำผิดพลาดกับซีรีส์แพนโดร่า ฮาร์ท เช่นในธีมวานิทัสมีความรักเป็นอุปสรรคในการขัดขวางภารกิจ สิ่งที่ช่วยพวกเขาคือความรอด ขณะเดียวกันเหล่าตัวละครในซีรีส์จะมีความตายที่ไม่มีรางวัลตอบแทน แต่ในขณะที่ซีรีส์เก่าของเธอนั้น ตัวละครเผชิญหน้ากับบาดแผลและมีรางวัลเป็นการตอบแทน[4]
การปรับตัวของอนิเมะ
[แก้]สำหรับอนิเมะที่ดัดแปลงโดยสตูดิโอโบนส์ มีคุณนาโอกิ อามาโนะ ซึ่งเป็นโปรดิวเซอร์ที่อยู่เบื้องหลังการผลิตของซีรีส์ ในด้านการเขียนบทมีคุณเดโกะ อากาโอะ เป็นคนรับผิดชอบ รวมทั้งนักแต่งเพลงของซีรีส์ ได้แยกเรื่องราวออกจากกัน และสตอรี่บอร์ดที่ทำหน้าที่เป็น "พิมพ์เขียว" เพื่อร่างโครงเรื่องวิดีโอให้เสร็จสมบูรณ์
อิตามูระ[6] ผู้กำกับยังต้องการให้วานิทัสเวอร์ชันอนิเมะมีความใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุด เพื่อเป็นการเคราพต้นฉบับ แต่ไม่ว่ายังไงก็ตาม เหล่าทีมงานอนิเมะเตอร์พอมีอิสระในการทำสิ่งต่าง ๆ เช่นฉากต่อสู้ในตอนแรกที่ใช้เงา ผู้กำกับมักจะระวังเรื่องแอคชั่นที่น่าสนใจในสตอรี่บอร์ด เพื่อสร้างซีนให้ออกมาดูดีมากที่สุดเท่าที่ทำได้ และเมื่อวานิทัสใช้ตำราของเขา คุณอิซุมิ ทาคิซาวะ ผู้วาดออกแบบ พยามใช้แอนิเมชั่น 3D ด้วยสีสันสดใสให้ตรงกับต้นฉบับมากที่สุด[7]
คุณอิตามูระเคยกล่าวไว้ว่าลักษณะงานค่อนข้างแยกออกได้ยาก แต่เขาคิดว่าองค์ประกอบที่สำคัญส่วนใหญ่ของซีรีส์คือความเป็น "มังงะโชโจว" เขาจึงมุ่งที่การจัดวางฉากและตัวละครให้มีความสวยงามตามสไตล์คือสิ่งที่จำเป็น แล้วเดินทางไปท่องเที่ยวฝรั่งเศสพร้อมกับทีมงานเพื่อทำการเก็บข้อมูลบรรยากาศภายในเมือง เขายังต้องการเก็บความมืดมิดของเหล่าแวมไพร์ฉบับภาพยนตร์แบบต้นตำรับไว้ในแอนิเมชัน กระชับบทกับส่วนต่าง ๆ เพราะในมุมมองผู้กำกับเห็นว่าคนสมัยนี้ชอบดูอะไรก็ได้ ที่มีความไว ๆ แล้วความสัมพันธ์วานิทัสกับโนเอต้องอยู่ห่างกัน สิ่งที่ผู้กำกับต้องระมัดระวังมากที่สุดคือความสัมพันธ์ตัวละคร หากทำให้เสน่ห์ตรงนั้นหาย มีความรู้สึกไม่เหมือนเดิม
ส่วนนักพากย์วานิทัสกับโนเอให้เสียงโดยนัตสึกิ ฮานาเอะ และอิชิคาวะ ไคโตะ บทบาททั้งสองได้รับการชื่นชมและตอบรับที่ดีมากในที่ต่าง ๆ ฮานาเอะใช้ประโยชน์จากส่วนที่เท่ และไม่เท่ รวมทั้งความเซ็กซี่อย่างเต็มที่เพื่อดึงเสน่ห์ของวานิทัสออกมา ขณะที่อิชิคาวะถนัดเล่นบทบาทตัวละครจิตใจดีที่เป็นแนว ぼけ "boke" (คนปล่อยมุก) และใช้ข้อมูลเล่าเรื่องที่ผู้กำกับบอกให้เป็นประโยชน์ ฮานาเอะได้บทบาทวานิทัสเพราะความมากประสบการณ์ในฐานะเซย์ยู เล่นน้ำเสียงทางเพศโดยเฉพาะข้อความง่าย ๆ เช่น "ความลับจ้า" ด้านอิโนริ มินาเซะ รับบทเป็นฌาน บอกว่าหายากที่เธอจะได้เล่นบทบาทในฐานะผู้ปกป้อง แม้ว่าเคยรับบทมากมายแต่ส่วนใหญ่เธอจะได้รับแค่บทที่เป็นฝ่ายถูกปกป้อง ไม่ใช่ฐานะบอดี้การ์ดที่คอยปกป้องคนอื่น จากที่มินาเสะเคยคุยกับผู้กำกับ อิตามูระอนุญาตเต็มที่ให้เธอขยายลักษณะเฉพาะของฌานตามความเหมาะสม ฉากที่แวมไพร์ดูดเลือดไม่ว่าจะเป็นโนเอดูดเลือดโดมินิก หรือตอนฌานดูดเลือดวานิทัส ก็ทำเพื่อเน้นความอิโรติก ต่อให้ตัวละครจะสวมเสื้อผ้าก็ตาม เพลงที่เล่นประกอบภายในซีรีส์ ใช้ถ่ายทอดความเร้าอารมณ์ที่มีต่อเรื่อง
ธีม
[แก้]ในแง่ไอเดียการดำรงอยู่และตัวตน ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความสมัครใจและมีสติ ซึ่งมีความสำคัญต่อซีรีส์วานิทัสมากกว่า PandoraHearts และ Crimson-Shell ในองค์ประกอบที่ผู้เขียนตัดสินใจที่จะใช้ เธอต้องการแสดงให้ความรู้สึกส่วนลึกที่ซ่อนอยู่ภายในหัวใจตัวละครภายในเรื่อง เมื่อพวกเขาถูกสำรวจลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ตามที่เธอต้องการ คำถามเกี่ยวกับตัวตนและการดำรงตั้งแต่ตอนแรกต้องตามมา วานิทัสต้องเป็นตัวละครที่อิสระและมีความแปลกประหลาด เขาจะทำทุกวิถีทางเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดดั่งใจนึก โดยไม่สนวิธีการว่าดีหรือไม่ดี นอกจากนี้อาจาย์โมจิซุกิยังสร้างความสมดุลให้โนเอ้ มีความใสซื่อ จิตใจดี รักยุติธรรมและมีความรับผิดชอบสูง จนสุดท้ายพวกเขาต้องยอมรับตัวตนหรือส่งเสริมอีกฝ่าย เธอยังบอกว่าลักษณะวานิทัสคือแก่นหลักมังงะเพราะโมจิซุกิต้องการพรรณนาถึงตัวตนที่สูญเสียบุคคลและสามารถกู้คืนได้[5]
นามที่แท้จริงของแวมไพร์ เธอมองว่าไม่ใช่สิ่งที่แปลกใหม่ เพราะมีวิดิโอเกมและเรื่องอื่นมากมายที่ใช้เรื่องพวกนั้นบ่อย แต่พยามเลือกใช้เหตุผลพิเศษเพื่อที่จะเจาะจงโดยเฉพาะ ตอนแรกเธอกำหนดและเขียนให้วานิทัสเป็นฮีโร่ที่เป็นหมอพยามรักษาคนไข้เพื่อกอบกู้เหล่าแวมไพร์ แต่โมจิซุกิคิดว่าการทำให้วานิทัสแสดงบทบาทเป็นหมอในเรื่อง ด้วยการเก่งวิชาหรือมีหัตถการแพทย์แล้วรักษาคนไข้อย่างบริสุทธิ์ใจตามปกติที่เห็นกับซีรีส์อื่น โดยส่วนตัวเธอไม่คิดว่าผู้อ่านของเธอจะชอบมันมากนัก เพราะฉะนั้นโมจิซุกิต้องพยามลองหาแนวคิดบางอย่างที่มากกว่า และนี่คือที่มาไอเดียนามที่แท้จริงต่าง ๆ ของเหล่าแวมไพร์อย่างที่เห็นในเรื่อง ลงเอยด้วยการให้วานิทัสเป็นตัวละครที่น่ารำคาญ ซึ่งตอนแรกอาจาย์ผู้แต่งไม่ได้ตั้งใจทำให้เขาเป็นตัวละครที่น่ารำคาญ แต่เพื่อพัฒนาพล็อต ผู้เขียนจำเป็นต้องเขียนให้เขาดูน่าหงุดหงิดในตอนแรก
ผู้เขียนยังบอกว่าเธอได้รับแรงบันดาลใจจาก อาจาย์วัวผู้เขียน "แขนกลคนแปรธาตุ" เป็นไอดอลที่โมจิซุกิชื่นชม รวมทั้งโชโจว โชเน็น เซเน็นเรื่องต่างๆ แทนที่บอกว่าเป็นความชื่นชอบต้องบอกว่าบางเรื่องเธออ่านเพื่อศึกษางานมากกว่า แต่มีผลงานไม่กี่เรื่องที่เธอชื่นชอบ
จากข้อมูลของเว็บไซต์ Comic Book Resources หรือ CBR เคยคอมเมนท์ว่าแวมไพร์ของเรื่องนี้แตกต่างจากซีรีส์อื่น โดยเฉพาะซีนดูดเลือดของแวมไพร์มีสองแนวคิดที่แตกต่างกัน ตอนฌานดูดเลือดในช่วงต้นของซีรีส์ เพื่อเย้ายวนและถูกกลั่นแกล้งอย่างสนุกสนาน ขณะที่วานิทัสสนใจแวมไพร์ที่เป็นผู้ต้องสาปและทำหน้าที่รักษาเหล่าแวมไพร์ แล้วเขาสนใจเธอในฐานะผู้ต้องสาป จนพวกเขาได้เดตกันนำสู่การกัดโดยสมัครใจ ซึ่งผู้เขียนรู้สึกว่าวานิทัสกำลังรักษาเธออยู่ หากรู้เรื่องที่เธอเป็นเหยื่อจากการผู้ถูกสาปแช่งเช่นกัน
ดีไซน์ต่างหูวานิทัส เมื่อคุณเดโกะ อากาโอะ ได้เห็นมันครั้งแรกที่สวมอยู่บนหูของวานิทัส รู้สึกหลงไหลและบอกว่านาฬิการู้สึกมีเบื้องหลังบางอย่าง แต่ความคิดที่เคยคาดเดากลับถูกต้องในตอนที่เธอเห็นอดีตน่าเศร้าของวานิทัสในมังงะ Anime News Network ชี้ว่าต่างหูนาฬิกาทรายสะท้อนถึงความตายและอายุขัยที่สั้นของเขา
สื่อ
[แก้]มังงะ
[แก้]บันทึกแวมไพร์วานิทัส ถูกเขียนโดยอาจาย์ โมจิซุกิ จุน เริ่มต้นในนิตยสารรายเดือนของ Gangan Joker[8][9] สำนักพิมพ์ สแควร์เอนิกซ์ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2558 และถูกซื้อลิขสิทธิ์โดยสยามอินเตอร์คอมิกส์ โมจิซุกิเคยหยุดเขียนมังงะเพราะเรื่องปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19[10] ก่อนมังงะจะกลับมาตีพิมพ์อีกครั้งในวันที่ 21 เดือนพฤศจิกายนปี 2559[11] , Square Enix ยังรวบรวมตอนต่างๆ ไว้ใน ทังโกบง (tankōbon) ซึ่งเล่มแรกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2559 ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2565 ส่วนเล่มสิบได้รับการเผยแพร่แล้ว[12][13]
เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2562[14] สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ประกาศ LC ของวานิทัสผ่านหน้าเฟสบุ๊คทางการในวันที่จัดโปรโมชั่นมหกรรมงานหนังสือระดับชาติ ตอนแรกวานิทัสถูกตีพิมพ์ครั้งแรกมีปัญหามากมายทั้งเรื่องรูปเล่ม ฟอนต์ไม่สวย ชื่อไทยดูไม่น่าดึงดูด และใส่คำว่าแวมไพร์มาเกินจากชื่อของต้นฉบับ จนนักอ่านให้ฟีคแบคทางสำนักพิมพ์ จนยอมไปปรับแก้ไข เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2562[15] ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่ยอมเปลี่ยนชื่อของวานิทัสตามที่นักอ่านบางคนเรียกร้องว่าอยากให้แปลเป็นชื่อต้นฉบับมากกว่า นอกจากนี้มังงะยังได้ลิขสิขสิทธิ์ของไต้หวันโดยชาร์ปพอยท์เพรส[16] ในฮ่องกงโดยสปาร์คเคิลโรล[17] ในเกาหลีใต้โดยแดวอน ซี.ไอ[18] ในฝรั่งเศสโดยKi-oon[19] ในเยอรมันนีโดยCarlsen Manga[20] ในอิตาลีโดยสตาร์คอมิกส์ (อิตาลี)[21] ในสเปนโดยNorma Editorial[22] ในรัสเซียโดย Istari Comics[23] ในอเมริกันโดยเยนเพรส ซึ่งได้มีการประกาศลิขสิทธิ์เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2558 ในทวิตเตอร์ทางการว่าจะเผยแพร่ตอนใหม่ของซีรีส์พร้อมกับญี่ปุ่น ในเวียดนามโดยKim Đồng Publishing House[24] และโปแลนด์โดยWaneko[25]
อนิเมะ
[แก้]เมื่อวันที่ 28 มีนาคมพ.ศ.2564 ได้มีการประกาศจากทางAnimeJapanว่าวานิทัสจะได้รับการดัดแปลงเป็นเวอร์ชั่นทีวีอนิเมะซีรีส์ ทำโดยสตูดิโอโบนส์ กำกับโดยโทโมยูกิ อิตามุระเขียนบทโดยคุณเดโกะ อากาโอะและคาแรกเตอร์ดีไซน์ตัวละครนั้นออกแบบโดยคุณโยชิยูกิ อิโต้ แล้วคุณยูกิ คาจิอูระ ผู้ที่เคยแต่งเพลงให้กับซีรีส์ Pandora Hearts มาแต่งเพลงประกอบให้กับซีรีส์วานิทัส[26] ซีรีย์นี้แบ่งฉายออกเป็นสองพาร์ทโดยพาร์ทแรกจะออกอากาศฉายตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคมถึง 18 กันยายน พ.ศ. 2564 ทางโตเกียวเอ็มเอกซ์และช่องทางอื่นๆ[27][28][a]ส่วนพาร์ทสองออกอากาศตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม ถึง 2 เมษายน พ.ศ. 2565[30][31]เพลงเปิดในพาร์ทแรกใช้ชื่อว่า "Sora to Utsuro" แต่งโดยคุณ Sasanomaly สื่อถึงมุมมองของโนเอ้ ในขณะที่เพลงปิดพาร์ทแรกที่แต่งโดยคุณ LMYK[32][33]ใช้ชื่อเพลงว่า "0 (zero)" หรือเรียกว่าจุดศูนย์สื่อถึงมุมมองและคาแรกเตอร์ของวานิทัส รวมทั้งสื่อไปถึงความหมายของแวมไพร์บลูมูน ส่วนเพลงพาร์ทสองชื่อว่า "your name" แต่งโดยวงลิตเติ้ลกลีมอนสเตอร์ (Little Glee Monster) เคยร้องเพลงให้กับอินุยาฉะภาครุ่นลูก สื่อถึงความหมายของวานิทัสตามหาโนเอ้ และสิ่งที่ล้ำค่าที่มีความหมายสำหรับเขา แต่เพลงปิดพาร์ทสองในชื่อ "salvation" แต่งโดยวง MONONKUL[34] สื่อถึงธีมความรอดของวานิทัส แล้วโฟกัสมุมมองของวานิทัส ตอนแรกภาพของเพลงปิดนั้น วานิทัสหันหลังและไม่ยอมเดินไปข้างหน้า จนตอนสุดท้ายของซีรีส์วานิทัสก็ได้หันหลังแล้วเดินพร้อมกับโนเอ้ ไม่หันไปมองข้างหลังอีกเลย นอกจากนี้ Funimation ยังได้รับลิขสิทธิ์นอกเอเซีย ในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2564 Funimation ประกาศว่าซีรีส์วานิทัสจะได้รับเสียงพากย์ภาษาอังกฤษซึ่งฉายในวันรุ่งขึ้น Plus Media Networks Asia ยังได้ลิขสิทธิ์ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้และเผยแพร่ทางอ้ายฉีอี้ นอกจากนี้บิลิบิลิและสตรีมมิ่งแพตฟอร์มอื่นยังได้ซื้อลิขสิทธิ์ซีรีย์แล้วเอามาฉายในไทย ต่อมาเมื่อซีรีย์รับผลตอบรับที่ดี ทางอ้ายฉีอี้มีประกาศพากย์ภาษาไทย[35] รวมไปทั้งบราซิล ฝรั่งเศส สเปน สามารถหาช่องทางดูได้จาก "ครันชี่โรล" หลังจากจบทีวีซีรีย์อนิเมะ คุณยูกิ คาจิอูระได้ปล่อยเพลงซาว์ดประกอบให้ฟังได้ฟรีในแพลต์ฟอร์มต่างๆ เช่นยูทูป
เรื่องที่ไม่สำคัญ "Easter Egg" ของวานิทัสอนิเมะ
[แก้]วานิทัสเวอร์ชั่นอนิเมะยังได้มีการใส่ Easter Egg หลังท้ายอีพีในแต่ละตอน[36] ซึ่งจะมีข้อความตัวอักษรคาตานะญี่ปุ่นปรากฎในทุกตอนตัวอย่างเช่น
- ตอนที่ 1: ト (to)
- ตอนที่ 2: タ (ta)
- ตอนที่ 3: ボ (bo)
- ตอนที่ 4: ツ (tsu)
- ตอนที่ 5: モ (mo)
- ตอนที่ 6: ビ (bi)
- ตอนที่ 7: ニ (ni)
- ตอนที่ 8: サ (sa)
- ตอนที่ 9: イ (i)
- ตอนที่ 10: ウ (u)
- ตอนที่ 11: ト (to)
- ตอนที่ 12: キ (ki)
ถ้าเอามาต่อกันจะได้คำว่า "Totabotsumobinisaiutoki (トタボツモビニサイウトキ)" แต่ถ้าเอามาเรียงจะได้คำว่า "Tota botsu mo bini-sa iu toki (とたぼつもびにさいうとき)" ในคำว่า "時" เป็นการผสมเสียงของ "toki" ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า "เวลา" ซึ่งมีแฟนในคอมมูนิตี้พยามถอดรหัสแต่ก็ไม่มีความหมาย จนมีข้อความของแฟนคลับคนหนึ่งได้อธิบายในทวิตและจัดเรียงใหม่จนได้คำว่า "Sabitsuitakiboutotomoni/sabitsuita kibō to tomoni (サビツイタキボウトトモニ (錆びついた希望と共に)"[37] แปลว่าด้วยความหวังของสีสนิม ซึ่งเป็นชื่อตอนแรกของวานิทัสในอนิเมะกับมังงะ บางคนตีความว่ามันอาจจะเป็นชื่อจริงของวานิทัส แต่ก็มีแฟนบางคนที่โต้เถียงว่าชื่อจริงของเขาอาจไม่ใช่อย่างที่คาดเดา บางทีวานิทัสอาจมีชื่ออื่นที่คาดเดานอกเหนือจากนั้น แต่ชื่ออาจขึ้นด้วยตัว "R" เหมือนโรมิโอกับจูเลียต ไม่ว่าจะตีความด้วยวิธีใด มันก็เป็นแค่ทฤษฎีของแฟนคลับเท่านั้น
Stage Play (ละครเวที)
[แก้]เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ทวิตเตอร์ทางการ[38] ได้ประกาศว่า "บันทึกแวมไพร์วานิทัส" จะได้รับการดัดแปลงเป็น "Stage Play (ละครเวที)"[39] ซึ่งมาจากมังงะที่เขียนและวาดโดยอาจาย์โมจิซุกิ จุน โดยมีกำหนดแสดงวันที่ 21 มกราคมจนถึงวันที่ 30 มกราคม 2565
ณ "THEATRE1010 (シアター1010)" ในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น แต่ว่าด้วยการแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้ในวันที่ 29 มกราคม 2021 มีการแสดงเพียงแค่รอบเดียว
และเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม มีการประกาศในทวิตอีกบัญชีทางการหนึ่งในชื่อ "encore" โดยมีกำหนดการแสดงตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคมจนถึง 12 มีนาคม 2023 ณ Sunshine Theatre (サンシャイン劇場) ในโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น[40] เนื้อเรื่องของละครเวทีจะอ้างอิงตามเนื้อเรื่องมังงะจนถึงเล่ม 5 (ครึ่งแรก)
แคสติ้ง
[แก้]ตัวละคร | รายชื่อนักแสดง | แหล่งอ้างอิง |
---|---|---|
วานิทัส | เคสุเกะ อุเอดะ | |
โนเอ้ อัสชีวิสต์ |
|
[41] |
ฌาน |
|
|
ลูก้า ออริเฟรม |
|
|
โดมินิก เดอ ซาด | มิกิ ซาวาดะ | |
อาจาย์ | ยาสุยูกิ อาซาโนะ | |
เคาน์ทปาร์ค ออร์ลอค | เท็ตสึโตะ นากามูระ | |
น็อกซ์ | ฮาลู คาซึกิ | |
มาเน็ท | ซาไก โชโงะ | |
อเมเลีย รูธ | นาโนกะ วาตานาเบะ | |
ดร.มอโร | ริงาคุ ซูซูกิ | |
หลุยส์ เดอ ซาด | ทาคุยะ ยาชิโระ | |
เวโรนิก้า เดอ ซาด | อายะ ชิโมมูระ | |
รูธเวน ออกัสต์ | โนโบรุ วาชิโอะ | |
โลร็องต์ ฟอร์ติส | ฮารุกิ คิยามะ | |
มาเรีย | อันจู คุโรสุ | |
จอห์น | ฮิโรอากิ อุมิโมโตะ | |
คุณแมงมุม | คาเครุ ซาโช | |
อีกาดำ | ไดโกะ อาทาราชิ | |
แคทเธอรีน | เรย์จู โนจิมะ |
เรื่องไม่สำคัญ
[แก้]การแสดงละเวทีได้รับความเดือดร้อนจากการเปลี่ยนแปลงกำหนดการหลายครั้งในนาทีสุดท้ายเพราะอาการป่วยโควิด 19 การแสดงจึงมีแค่รอบเดียวในวันที่ 29 มกราคม และในวันที่ 30 มกราคมเปลี่ยนรอบฉายการแสดง 1/29 ตามด้วยสมาชิกนักแสดงที่ปรากฏตัวบนม่านการแสดงละครเวที
- ในวันที่ 20 มกราคม รายการเดบิวต์ในวันที่ 1/21 ถูกยกเลิกเพราะอาการป่วยที่ไม่เปิดเผยในหมู่นักพากย์[42] วันต่อมาการแสดงในวันที่ 22/1/22 และ 1/23 ถูกยกเลิก แล้วได้รับการยืนยันว่าสาเหตุมาจากการติดเชื้อโควิด 19[43] ในวันที่ 23 การแสดงสำหรับ 1/25 และ 1/26 ก็ถูกยกเลิก[44] ในวันที่ 26 ก็ถูกยกเลิกการแสดงเหมือนกัน ส่วน 1/27 และ 1/28 ได้ยืนยันว่านักแสดงสองคน ไดโกะ อาตาราชิ (อีกาดำ) และ ชูจิ คิคุจิ (โนเอ้) มีผลตรวจ PCR เป็นบวก เมื่อวันที่ 20 และ 24 ตามลำดับ บทบาทของอีกาดำที่ถูกเขียนก็ขาดหายไปตลอดจนการแสดง และกาคุ ทาคาโมโตะ เข้ามาแทนที่บทบาทของโนเอ้สำหรับการแสดงในส่วนวันที่ 1/29 จากนั้นก็ดำเนินต่อไปตามแบบแผนการแสดง ส่วน 1/30 อยู่ระหว่างพิจารณาแต่ไม่แน่นอนในตอนนั้น[45][44]
- ผลจากการที่เปลี่ยนนักแสดงบทบาทโนเอ้ นั้น โมจิซุกิ จุนจึงมอบของขวัญให้กับทีมงานผู้นำเสนอเรื่องบทบาทของโนเอ้[46] เป็นภาพชิกิที่วาดด้วยลายเส้นของอาจาย์ผู้เขียน
- หลังจากแสดงละครเวทีจบ พวกเขาไม่มีแผนที่จะเปิดตัว "BD/DVD"[47] ต่อมาโมจิซุกิและเหล่านักแสดงได้สนับสนุนแฟนคลับในทวิตเตอร์ให้ดูสตรีมมิ่งสดผ่านเว็บไซต์ญี่ปุ่นที่มีเนื้อหาบันทึกไว้ล่วงหน้าในช่วงระยะเวลาสามวันที่มีอยู่ ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ถึง 18 มีนาคม การแสดงแบบสตรีมมิ่งถูกเปิดให้ซื้อได้ แต่ว่าไม่ว่ายังไง ไฟล์กลับถูกล็อคโซนเวลาและไม่สามารถดูได้ หลังจากวันที่ 19 มีนาคม (ระยะ 24 ชั่วโมงหลังจากสิ้นสุดการขาย)
กระแสการตอบรับ
[แก้]มังงะ
[แก้]ภายในเดือนมิถุนายนพ.ศ.2564 บันทึกแวมไพร์วานิทัสมียอดจำหน่ายมากกว่า 5.5 ล้านเล่ม[48][49]เมื่อเปิดตัวครั้งแรกในญี่ปุ่น ซีรีย์วานิทัสได้ติดชาร์ตโอริกอน ซึ่งเหล่านักวิจาณ์ต่างสนุกกับความสัมพันธ์ของเขากับโนเอ้[50][51] และชื่นชมการเขียนผสมผสานระหว่างแอคชั่น คอมเมดี้กับการผจญภัยได้อย่างลงตัว ซึ่ง "ดาร์กิส เมลิน่า" ผู้ใช้รีวิวคนนึงของเว็บไซต์แฟนด้อมโพสต์ได้เขียนรีวิวบอกว่ามังงะเรื่องสนุกแล้วเหนือความคาดหมายของเขา[52]่และเขายังเขียนบอกอีกว่าเขาต้องการให้ซีรีย์ที่น่าทึ่งนี้ถูกดัดแปลงเป็นอนิเมะในปี 2560[53] รวมทั้งให้ความสำคัญกับความรักในเนื้อเรื่องหลัก วานิทัสถูกชื่นชมว่าเป็นตัวละครที่เฮฮา แต่ขณะเดียวกันวานิทัสก็เป็นตัวละครที่ตอบรับความรู้สึกรักของเขาที่มีต่อฌานได้ไม่ดี จนซีรีส์ถูกทำเป็นอนิเมะออกฉายในวันที่ 3 กรกฎาคมทั่วโลก[54] ในเว็บไซต์ Manga New ชื่นชมวิธีการรับมือและการจัดการอดีตแสนเศร้าของเขา แต่ว่าลักษณะการเขียนที่เข้าใจยากของผู้เขียนของซีรีส์ที่มีต่อวานิทัส บางครั้งก็สร้างความสับสนทำให้ยากที่จะติดตามซีรีย์ตัวนี้[55] ในรีวิวครั้งต่อมาของแฟนด้อมโพสต์ของผู้ใช้รีวิว "ดาร์กิส เมลิน่า" เขาได้เขียนรีวิวว่าวานิทัสเล่ม 7 มีการผสมผสานแอคชั่นและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในเล่มนี้ ที่สนุกสนานมาก แม้ว่างานอาร์ตจะไม่ได้ลงรายละเอียดมาก แต่มีฉากแอคชั่นที่มากขึ้นมาประกอบภายในเรื่องราว[56] คุณ El Palomitrón บอกไว้ว่าแม้ความสัมพันธ์ของสองตัวเอกจะไม่ใช่ บอยเลิฟ และไม่มีความรักโรแมนติกต่อกัน เพราะซีรีย์วานิทัสมุ่งเน้นไปที่การสำรวจความสัมพันธ์อื่นที่ลึกซึ้งมากกว่า และยังรีวิวต่อว่าความสัมพันธ์วานิทัสกับโนเอ้ลึกซึ้งเทียบเท่าได้กับวานิทัสและฌาน[57] แล้วสไตล์งานอาร์ตของซีรีย์วานิทัสยังถูก Otaku USA ชื่นชมในด้านการออกแบบฉากสตีมพังค์ตลอดจนถึงลักษณะเฉพาะของเหล่าตัวละครในเรื่อง[58] ส่วน Manga News สนุกกับการดีไซน์ออกแบบตัวละครที่หลากหลายตั้งแต่บิโชเน็น (แนวเด็กผู้ชายหน้าตาดี) ไปจนถึงสัดส่วนอนาโตมี่ร่างกายที่สร้างขึ้นล้วนมีผลสัมพันธ์ต่อกัน[59] แม้ว่ามังงะจะถูกตีพิมพ์ในนิตยสารของโชเน็น แต่สไตล์อาร์ตก็ถูกนำไปเปรียบเทียบกับ "มังงะโชวโจวที่งานศิลปะที่สวยงาม" โดยเว็บไซต์ Comic Book Resources ให้ซีรีย์วานิทัสอยู่ระดับเทียบเท่ากับมังงะเรื่อง "Pandora Hearts" [ผลงานเก่าของโมจิซุกิ จุน][60] แต่ขณะเดียวกัน "แฟนด้อมโพสต์" ชื่นชมสไตล์งานอาร์ตของวานิทัสว่าเป็นศิลปะที่น่าทึ่งมากโดยยกรายละเอียดของมังงะทุกหน้าไปจนถึงฉากต่อสู้[61] ในเว็บไซต์ Anime News Network วิจารณ์ว่าสไตล์งานของวานิทัสได้รับแรงบันดาลใจมาจากนิทานพื้นบ้าน และพบว่าสไตล์งานอาร์ตค่อนข้างน่าสนใจเพราะได้รับการออกแบบดีไซน์ที่หลากหลาย แต่บางครั้งก็ทำให้ดูออกยากและติดตามดูซีรีย์วานิทัสค่อนข้างยาก[50]
หลังจากมีกระแสเวโรนิก้าเป็นเลสเบี้ยนแคนน่อนกับมาคิน่า ทำให้วานิทัสถูกพิจารณาใหม่อีกครั้งในฐานะซีรีย์มังงะ lgbt+ แม้ว่าคนอยากให้ฌานกับโดมิเป็นเลสเบี้ยนมากว่า ส่วนวานิทัสเป็นเกย์ (gay man) กับตัวโนเอ้
อนิเมะ
[แก้]ซีรีส์นี้ได้รับการจัดอันดับสองครั้งโดยเว็บไซต์ Anime News Network ว่าให้เป็นหนึ่งในอนิเมะที่ดีที่สุดประจำปี 2021 ขณะที่ IGN จัดให้อยู่ในอันดับรายการของตัวเอง[62][63][64] การจัดการระหว่างแวมไพร์ฌานและมนุษย์อย่างวานิทัส รวมถึงโดยมินิคกับโนเอ้ได้รับการระบุโดย "เคทลิน มัวร์ จาก Anime News Network" บอกไว้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในอนิเมะจะได้ฉายแสงเพราะเนื้อเรื่องมีฉากแสดงทางเพศมากมายที่แสดงให้เห็น แถมแฟนด้อมโพสต์ยังเห็นด้วยเป็นเสียงเดียวกันว่าเรื่องแรงดึงดูดทางเพศตอนที่ฌานดื่มเลือดของวานิทัส เป็นการเปรียบเปรยเทียบเท่าได้กับเรื่องเพศแบบโต้งๆ โดยไม่ต้องกัก และบอกถึงว่าเหตุผลว่าทำไม? ความสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสมของพวกเขายังคงดำเนินต่อไปในซีรีย์วานิทัส[65][66][67]
เดอะแฟนด้อมโพสต์พบว่าฉากแอคชั่นของซีรีย์วานิทัสในช่วงแรกเป็นจุดที่น่าสนใจที่สุด เมื่อคิดถึงคาแรกเตอร์ที่คาดเดาไม่ได้ของวานิทัสที่ต้องรับมือกับฌาน แต่ซีรีย์นี้มีองค์ประกอบนิยายความเป็นวิทยาศาสตร์น้อยกว่าตามที่เคยมีคำวิจารณ์ไป[68][69] แต่ยังมีเหล่านักวิจารณ์บางคนให้ความสนใจไปที่ความสัมพันธ์วานิทัสกับแวมไพร์ฌาน ซึ่งฉากวานิทัสขืนใจฌานโดยจูบเธออย่างไม่ยินยอม เคยถูกวิจารณ์ว่าไม่ควรแสดงให้ฉากตึงเครียดอย่างนั้นเป็นซีนตลก[70][71] จนเมื่ออนิเมะได้ฉายจนถึงตอนที่ 5 มีฉากรุนแรงเกี่ยวกับเด็กและโดนตัดศีรษะ "ฟูนิเมชั่น" สตรีมมิ่งของอินเตอร์จึงมีการติดป้ายเตือนผู้ชมที่รู้สึกอ่อนไหวแล้วกำลังดูซีรีส์ตัวนี้อยู่ ให้พยามหลีกเลี่ยง[72] อนิเมชั่นของโบนส์ได้รับการชมเชยว่าถ่ายทอดบรรยากาศเช็ตติ้งโลก และรายละเอียดตัวละครกับแบล็คกราว์ดเบื้องหลังที่น่าสนใจควบคู่ไปกับซาว์ดประกอบของยูกิ คาจิอูระ[67][73] ส่วนการแสดงบทบาทของฮานาเอะ นัตสึกิที่พากย์วานิทัสทำให้ได้รับคำชมอย่างมากจากเว็บไซต์ Anime Feminist สำหรับวิธีที่เขาถ่ายทอดตัวละครในด้านต่างๆ จนบางครั้งวานิทัสโดนมองว่าเป็นภัยสังคมเดินได้[74] เดอะแฟนด้อมโพสต์บอกว่าฉากวานิทัสกับฌานสนุกกว่าเนื้อเรื่องหลัก มีจุดที่คาดเดาได้มากมายในอนาคตเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพวกเขา[65] นักเขียนบทความของ Anime News Network ให้กระแสตอบรับบันทึกแวมไพร์วานิทัสพาร์ทสองในทางที่ดีเพราะมีการพัฒนาตัวละครที่ยอดเยี่ยม รวมไปถึงมูลค่าการผลิตของซีรีย์ จนถึงจุดที่พวกเขาคิดว่าวานิทัสเป็นอนิเมะดีที่สุดประจำซีซั่นวินเทอร์ในปี 2021[75]
ในปี 2022 นั้น "บันทึกแวมไพร์วานิทัส" เคยถูกเสนอชื่อเข้าชิงในสาขา "เบสแฟนตาซี" ของคันซิโร่อนิเมะอะวอร์ดครั้งที่ 6[76] นอกจากนี้ฌาน[77][78][79] วานิทัส และโนเอ้ยังได้รับความนิยมมากในเว็บไซต์ Anitrendz โดยวานิทัสกับฌานเคยถูกเสนอชื่อเข้าชิงในสาขาคู่ชิปที่ยอดเยี่ยมของปี 2022[80][81] ยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลของคันซิโร่อนิเมะอะวอร์ดครั้งที่ 7 ในประเภทสาขา "เบสแฟนตาชี" อีกครั้งในปี 2023[82] แล้ววานิทัสยังเคยถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล reddit vote anime 2021 ในสาขานักพากย์ญี่ปุ่น โดยกรรมการเสนอชื่อให้นัตสึกิ ฮานาเอะได้รับรางวัลในบทบาทของวานิทัสให้เป็นอันดับที่หนึ่ง[83] ต่อมาวานิทัสได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงอีกครั้งใน reddit vote anime 2022 ซึ่งกรรมการชื่นชมวานิทัสว่าเป็นตัวละครที่ดีที่สุดประจำปี 2022 เพราะดีไซน์ที่หรูหราของเขา แล้วความสัมพันธ์วานิทัสกับฌานมีพัฒนาการมากขึ้นจากพาร์ทแรก ท่าทีไม่หยอกล้อและมีแต่ความจริงใจให้กัน ทำให้รู้สึกซับซ้อน ขัดแย้งกับอารมณ์ทั้งความรู้สึกปฎิเสธคนที่ยอมรับเขากับความรู้สึกที่หวั่นไหวที่เขามีต่อฌาน เมื่อเขาเผชิญหน้ากับคนที่ยอมรับเขา ทว่าการดำเนินเรื่องไม่ค่อยดี แต่ถึงอย่างนั้นทางกรรมการก็ยังจัดอันดับให้เขาอยู่ที่ 4 ในสาขาตัวละครดราม่าพร้อมกับผลโหวตผู้ชมที่เห็นด้วยเป็นเสียงเดียวกัน รวมทั้งสาขานักพากย์ที่กรรมการให้วานิทัสอยู่ที่อันดับที่ 2[84] ใน vanitas anime.com ยังได้จัดกิจกรรมโหวตโดยให้แฟนคลับที่ติดตามทวิตเตอร์ของออฟฟิเซี่ยลโหวตฉากที่ประทับใจมากที่สุด ซึ่งฉากของเขากับโนเอ้ถูกจัดอันดับให้อยู่ 1 แต่ฉากจูบแรกของวานิทัสกับฌานถูกโหวตให้ได้รับความนิยมมากที่สุดเป็นอันดับที่ 2[85]
เนื่องจากมีการเปลี่ยนฉากในอนิเมะของโนเอ้และโดมิทำให้เสียงแตกจากแฟนคลับโดยเฉพาะสาววายจำนวนมาก ซึ่งวานิทัสโดนวิพากษ์วิจาร์ณจากเหล่าแม่ยกฝ่ายอินเตอร์ (มีแฟนคลับมากกว่าในคอมมูนิตี้อื่น) ว่าผู้เขียนและทีมงานยัดเยียดสเตรทจนดูน่ารำคาญ แทนเขียนให้มีแต่เกย์และเลสเบี้ยน เริ่มตัดสินว่าโนเอ้เป็นเกย์ในตอนที่ 12 เพราะมีการเปลี่ยนฉาก ทั้งๆ ที่ในมังงะไม่ได้มีการคอมเฟิร์มรสนิยมทางเพศของโนเอ้ให้เป็นที่แน่ชัด ผิดกับโดมิที่ถูกยืนยันตั้งแต่มังงะว่าเธอเป็นไบเซ็กซวล แต่เพราะการเร่งรีบอนิเมะทำให้เธอถูกมองว่าเป็นเลสเบี้ยน รวมไปถึงวานิทัส ความไม่พอใจที่รสนิยมทางเพศตัวละครไม่ตรงกับเฟติซตามที่พวกเขาต้องการ ทำให้มีกระแสตีกันของแม่ยกอีกฝั่งที่ไม่เห็นด้วยที่ยัดเยียดตัวละครไบเซ็กซวลให้เป็นเกย์กับเลสเบี้ยน ขณะเดียวกันแฟนคลับที่ชื่นชอบวานิทัสกับฌานก็วิจาร์ณตัวละครมาคิน่ากับเวโรนิก้าว่ามันคือการยัดเยียดเพื่อเอาใจสาววายที่ชื่นชอบ bl กับยูริ ทั้งที่คนเขียนได้มีการวางแผนมานานและชี้แจ้งในบทสัมภาษณ์แล้ว
บทสัมภาษณ์แปลคิคัง
[แก้]บทสัมภาษณ์ของโมจิซุกิ จุนที่ให้ไว้กับนิตยสารคิคังในเดือนธันวาคม ปี 2021 ซึ่งหน้าปกเป็นภาพวานิทัสกลายเป็นแวมไพร์นอนในโลงศพ ปากของเขามีเลือดไหลอยู่จากการดื่มเลือด ใส่คอร์เซ็ทรัดรูป ผมและเครื่องประดับมีสีฟ้ากับน้ำเงินแสดงถึงสัญลักษณ์แวมไพร์จันทราสีแดงกับน้ำเงิน มีมือโนเอ้ยื่นมาจับกุหลาบสีแดงเพื่อสื่อว่าไม่มีทางปล่อยเขาไป มันถูกวางขายในอเมซอน
Q1: โมจิซุกิเซนเซย์ คุณช่วยบอกจุดเริ่มต้นไอเดียของวานิทัสได้รึเปล่า??
A1: เมื่อฉันคิดถึงผลงานใหม่เรื่องถัดไปนั้น ฉันไม่เพียงลงมือจุดเริ่มต้นแล้วมาพูดว่า "นี่แหละคือสิ่งที่ฉันจะลงมือทำต่อไป" แต่ฉันยังนำ "องค์ประกอบที่ฉันต้องการวาดที่ฉันมีด้วย ซึ่งเก็บไว้ตั้งแต่สมัยยังวาด "Pandora Hearts อยู่" เช่นฉันต้องการวาดซีนนี้ หรือจัดการกับเรื่องแบบนี้ แล้วหยิบพวกมันออกมาจากลิ้นชักแล้วเขียนลบและบิดให้เป็นเรื่องราวอันเดียวกัน
(ปัจจุบันพล็อตโรงเรียนได้ถูกเอามาใส่ในโอเมเกะ ซึ่งอยู่ในเล่มที่ 7 ของโคลเอ้)
ตอนที่ฉันไปงานฝรั่งเศสเพื่อร่วมงาน japan expo และไปเที่ยวมงแซงค์มิเซลครั้งแรก ผู้ช่วยของฉันรวมทั้งตัวฉันมีความคิดเรื่อง "แวมไพร์ตนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้นเป็นเวลาหนึ่งร้อยปีแล้วคอยดูแลผู้อาศัยอยู่ที่แห่งนี้ มีเหล่าบาทหลวงคอยจับตาดูเหล่าแวมไพร์ และทั้งสองก็ติดตามปัญหาและชีวิตประจำวันของชาวเมือง..." ทำให้กลายเป็นต้นแบบของ vanitas no carte ในปัจจุบัน
มีเหล่าบาทหลวงคอยจับตาดูเหล่าแวมไพร์ และทั้งสองก็ติดตามปัญหาและชีวิตประจำวันของชาวเมือง..." ทำให้กลายเป็นต้นแบบของ vanitas no carte ในปัจจุบัน
สุดท้ายฉันตัดสินใจว่าในเมื่อฉันได้เขียนความสัมพันธ์เจ้านาย-ทาสมากมายใน "Pandora Hearts" ฉันอยากลองเขียนคู่หูดูโอ้สักครั้ง ฉันจึงบอกหัวหน้างานว่าฉันต้องการนำเสนอความสัมพันธ์ของพวกเขาในรูปแบบ "เชอร์ล็อกโฮมล์" ของกาย ริชชี่เพื่อเป็นแนวทาง ด้วยการแสดงตัวตนของพวกเขาให้อยู่ในสภาพที่สับสนวุ่นวายมากขึ้น บก.ของ GanGan JOKER ได้บอกกับฉันว่า "ฉันหวังว่าจะมีการหักมุมและเรื่องราวที่ไม่คาดคิดสองหรือสามครั้ง" ตอนนั้นฉันก็แบบว่า "สองถึงสามครั้งงั้นเหรอ?" แล้วเอามือวางบนหัว ฉันคิดว่าผู้อ่าน "Pandora Hearts " คงจะสงสัยในสิ่งที่ฉันอธิบายไปแล้ว ดังนั้นฉันจึงพยามทำให้พวกเขารู้สึกว่าแวมไพร์คือวานิทัสตั้งแต่แรกเห็น และเดาว่าโนเอ้คือชาสเซอร์ โดยแนะนำในตอนแรกว่าเขาคือนักล่าแวมไพร์ของคริสต์จักร มีเป้าหมายในการช่วยแวมไพร์แต่ไม่ใช่ฆ่าพวกมัน.... แต่มีบางอย่างขาดหายไป....ยังไม่ถึงระดับที่ต้องการ....หลังจากที่คิดอยู่สักพักหนึ่ง ฉันก็คิดว่ามาเล่าเรื่องให้จบตั้งแต่จุดเริ่มต้นกันเถอะ" แต่ถึงอย่างนั้น ฉันก็ยังกังวลว่าสิ่งนี้ทำให้ผู้อ่านรู้สึกวางใจมากเกินไป มีความคิดว่า "มีเรื่องราวจนถึงขั้นฆ่าวานิทัสเท่ากับเขาไม่ตายในตอนจบ" และพวกเขาไม่สามารถรู้สึกซีเรียสระหว่างเรื่องได้ แล้วในทางกลับกันการเล่าตอนจบในตอนแรกที่วานิทัสกับโนเอ้เข้ากันได้มากเท่าไรจะยิ่งจำตอนจบตั้งแต่จุดเริ่มต้นได้ยากเท่านั้น" ซึ่งอันนั้นอร่อยดีไปอีกแบบเหมือนกัน ฉันจึงเลือกอย่างหลังเพราะฉันคิดว่า "ผลกระทบในตอนเดียวสำคัญกว่าการกังวลพัฒนาในภายหลัง" และฉันคิดว่า "มีการพัฒนาที่เลวร้ายเกี่ยวกับความตายอีกมากมาย"
ดังที่ฉันได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ ผู้อ่าน "Pandora Hearts" ของฉันคงสงสัยในสิ่งที่ฉันเขียนไปแล้ว เพราะฉะนั้น vanitas no carte จึงเป็นการนำเสนอเรื่องราวที่ตรงไปตรงมามากกว่า Pandora Hearts มาก ฉันนะจะทำให้ดีที่สุดเพื่อทำให้เรื่องราวน่าสนใจ
Q2 : เนื่องจากสีธีมของวานิทัสเป็นสีฟ้าเพราะเรื่องราวของแวมไพร์ และวานิทัสก็เป็นแวมไพร์จันทราสีน้ำเงินด้วย ทำไมต้องเป็นเป็นสีฟ้าละ? ส่วนใหญ่สีของแวมไพร์มักเกี่ยวข้องกับสีดำหรือแดง แต่ทำไม? ต้องเป็นสีน้ำเงิน
A2: อย่างที่คุณพูด แวมไพร์ส่วนใหญ่มีธีมภาพลักษณ์ที่ชัดเจนว่าแวมไพร์ต้องเป็นสีดำกับแดง ฉันจึงอยากเบี่ยงเบนไปจากภาพเหล่านั้น นี่คือเหตุผลที่ฉันเลือกสีน้ำเงินเป็นธีมหลักในงานของฉัน แล้วก็ฉันต้องขอโทษด้วย ถ้าเหตุผลหลักของฉันที่ขอโทษอาจจะดูไร้สาระไปสักหน่อย แต่ผู้อ่านคงไม่โกรธนะถ้าฉันวาดภาพด้วยสีฟ้าเท่านั้น แต่จริงๆ ตั้งแต่เริ่มตีพิมพ์ฉันเองก็เริ่มเบื่อสีฟ้าแล้วเหมือนกัน.... (หัวเราะ) ถึงอย่างนั้นฉันพยามเรียนรู้การกลั่นกรองสีฟ้าให้เป็นสิ่งที่ดีสุดในทุกสิ่ง
Q3: วานิทัสเป็นคำภาษาละตินที่แปลว่า ไร้ประโยชน์ หรือ ว่างเปล่า ซึ่งเชื่อมโยงกับความหมายชีวิตที่ไร้ความหมายบนโลกและคงอยู่ของสิ่งที่ไร้สาระ อ.โมจิซุกิถึงตั้งชื่อตัวละครหลักและตำราพิเศษที่มีพลังแทรกแซงนามที่แท้จริงของเหล่าแวมไพร์ที่ตัวละครหลักถือครองอยู่ แล้ววานิทัสคืออะไรกันแน่??
A3: ฉันเจอวานิทัสครั้งแรกก็ตอนหนังสือภาพวาดของโทรุ คาเมอิ ฉันจึงรู้สึกทึ่งกับเสียงและความหมายของคำมากจนเริ่มมีความคิดขึ้นมาลางๆ ว่าชื่อตัวละครหลักในผลงานต่อไปของฉัน ควรตั้งว่าวานิทัส ตอนนั้นฉันเองก็จดจำระยะเวลาไม่ได้ว่านานเท่าใดต้นแบบของวานิทัสจะเสร็จสมบูรณ์
แน่นอนว่าหลังจากที่ฉันได้เรียนรู้ประเภทของศิลปะวานิทัส ฉันจึงไปที่พิพิภัณฑ์ในต่างประเทศและพูดว่า "โอ้ มีภาพวาดวานิทัสอยู่ที่นี้ด้วย" ซึ่งฉันเองก็สนุกกับการตามหามันมาก
Q4:ฉันคิดว่าตำราวานิทัสมีการดีไซน์ที่เจ๋งมาก โดยมีการตกแต่งรายละเอียดและการแทรกสีชมพู ฯลฯ A4:(ดีใจที่ได้ยินคำชมของคุณนะ จริงๆ ฉันเองไม่ค่อยมั่นใจการดีไซน์แบบนี้เท่าไรนะ)
ฉันไม่ต้องการใส่ฟันเฟืองมากเกินไปในตำราเล่มนี้เพราะฉันต้องการทำให้ดูง่ายต่อการเข้าใจเหมือนกับหนังสือแนวสตรีมพังค์ ฉันยังคิดว่ามันคงจะเจ๋ง ถ้ามีการเคลื่อนไหวเมื่อเปิดตำราขึ้น
ฉันจำได้ว่ามีช่วงเวลาที่ยากลำบากในการตัดสินใจว่าจะร่วมส่วนตำราที่เป็นเลื่อนเข้าหาด้วยกันยังไง สำหรับตำราวานิทัสสองเล่ม เราจึงตัดสินใจใช้เครื่องมือทางดาราศาสตร์เป็นหลักในการอ้างอิงเพื่อเสริมเส้นให้มั่นคง
แล้วก็ในฐานะที่ฉันหลงใหลตำราที่มีโซ่ตรวน จึงเพิ่มรายละเอียดโซ่ตรวนที่เชื่อมกับตำราวานิทัสและเจ้าของตำราไว้ด้วยกัน แม้ว่าฉันคิดอยู่บ้างว่า "มันดูหนักจัง"
A5 : ใช่ ถูกต้อง โดยพื้นฐานแล้ว ในขณะที่วาดภาพอยู่ ฉันคิดว่าควรทำอะไรและไม่ควรทำอะไร ต้องทำพล็อตทวิสตัวละครไปมา ฉันจึงต้องวาดภาพ vanitas ให้มากที่สุดก่อนเริ่มต้นซีรีย์
Q6 : ช่วยบอกเราหน่อยว่าตอนเริ่มต้นภายในซีรีย์มีตัวละครกี่ตัว
A6 : ตอนฉันเริ่มความคิดและมีภาพชัดเจนอย่างเดียวเมื่อเริ่มต้นซีรีย์ขึ้นคือวานิทัส โนเอ้ ฌาน ลูก้า โดมินิก อาจาย์ เวโรนิก้า โลกิ มิฮาอิล ฯลฯ สำหรับตัวละครอื่นๆ "แม้ว่าตำแหน่งและบทบาทตัวละครจะถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าก็ตาม" แต่ภาพกลับได้รับการพัฒนาก่อนที่ตัวละครจะปรากฎตัว
Q7:ได้โปรดบอกเราเกี่ยวกับการออกแบบแต่ละตัวละคร และภาพของพวกเขาหน่อย บอกความประทับใจของคุณต่อแต่ละตัวละครเปลี่ยนไปยังไง เมื่อคุณวาดตัวละครนั้น?
Q7 (ย่อย) : วานิทัส
A7: พูดกันตามตรง ฉันไม่ได้คาดหวังให้ตอนแรกต้องเขียนเขาเป็นตัวละครที่ระทมขนาดนี้ เพราะฉันกะจะอธิบายเรื่องนี้ในภายหลัง แล้ววานิทัสเป็นตัวละคร (เหยื่อ) ตัวแรก ที่ต้องเล่นบท Tsukkomi เพราะโนเอ้ (Tsukkomi คือตัวตบมุก)
บางครั้งผู้อ่านก็พูดถึงวานิทัสว่า "ฉันไม่เข้าใจว่าเขาคิดอะไรอยู่" แต่ในฐานะผู้เขียน ฉันอยากตะโกนตอบกลับไปว่า "ฉันอยากวาดเขาในแบบที่คุณไม่เข้าใจ" แต่ไม่เป็นไร ฉันจะใส่ข้อจำกัดของวานิทัสว่า "ไม่ใส่เสียงหรือพูดคนเดียว" ดังนั้นพวกเขาสงสัยว่าการแสดงออกวานิทัสหมายถึงอะไร??
สิ่งที่เขาพูดถึงหมายความว่าอย่างนั้นจริงๆ เหรอ? อยากให้ผู้ชมคอยสังเกตตอนที่วานิทัสอยู่กับโนเอ้ ตอนที่ฉันกำลังวาดเขาอยู่ ในส่วนการดีไซน์ เราได้ตัดสินใจว่าคราวหน้าต้องทำตัวเอกผมดำตาฟ้า (รายละเอียดอื่นแล้วแต่ความชอบครับผม) แล้วไม่ลังเลใจในจุดนั้น
เสื้อคลุมที่ดูหม่นหมองน่าจะดูดีแต่ฉันอยากทิ้งความประทับใจที่ไม่รู้ลืมให้กับผู้ชม ดังนั้นฉันจึงเลือกเสื้อโค้ททรงกลมที่ช่วงแขนสามารถแกร่งไปมาได้ ทรงผมของวานิทัสเปลี่ยนไปเป็นทรงผมตรงประบ่าเพราะพื่อนของฉันคอมเมนต์รุนแรง พอฉันบอกเรื่องทรงผมพระเอกที่คิดไว้ในผลงานชิ้นต่อไป
"เอ่อคือว่า ปอยผมมันดูไม่ค่อยน่าสนใจเท่าไร~~!" ฉันไม่คิดว่าเพื่อนวิจาร์ณตรงๆ แต่พอฉันได้ยิน มาคิดดูดีๆ กับตัวเอง ฉันพบว่า "นี่เป็นไอเดียที่มันแย่มาก หลังจากเพื่อนเสนอไอเดียว่ามาลองสร้างตัวละครหลักที่ตัดทรงผม Blunt haircut ตอบกลับว่าฉันเองก็ชอบทรงนี้เหมือนกัน
จากนั้นทรงผมนั้นก็ได้ถูกผลักดันจนทรงผมปัจจุบันคล้ายกับแอสโทลโฟ ฉันคิดว่ามันอยู่ห่างไกลจากภาพร่างแรกเริ่มของฉันมาก จึงต้องพยามหลบเลี่ยงความคิดนี้ แต่การสร้างตัวละครหลักด้วยการตัดผมแบบ Blunt haircut คือสิ่งที่ฉันคาดไม่ถึง ฉันเลยสงสัยว่าฉันสามารถรวมองค์ประกอบการตัดผม Blunt haircut ให้กับบุคลิกที่ก้าวร้าวของวานิทัสเข้าได้ดีไหม? และการเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านั้นทำให้เกิดตัวละครวานิทัสอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
โนเอ้ - คำแนะนำที่ฉันได้รับจากอดีตหัวหน้าของฉันคือการสลับบทบาทตำแหน่งของวานิทัสที่เป็นแวมไพร์-โนเอ้ที่เป็นมนุษย์ ให้กลายเป็นโนเอ้คือแวมไพร์แต่วานิทัสคือมนุษย์ ซึ่งส่งผลให้การออกแบบของโนเอ้เปลี่ยนไปอย่างมาก[86]
ฉันชอบตัวละครที่มีผิวสีน้ำตาลเข้มมากและฉันคิดว่าอยากให้แก็งค์ผิวดำของพวกเขาขยายมากกว่านี้ ฉันคงต้องวาดพวกเขาให้เพิ่มขึ้น ฉันรู้สึกตัวละครผิวสีน้ำตาลในบางครั้งจะถูกเขียนให้เหมือนสุขภาพดี (ผิวโดนแดด) แต่ฉันต้องการให้ตัวละครผิวสีน้ำตาลเข้มแสดงสีผิวให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
สีประจำตัวของโนเอ้คือสีม่วง ซึ่งหมายถึง "บุคคลที่ยืนตรงกลางระหว่างสีแดงกับสีน้ำเงิน" ความจริงฉันอยากทำลายความประทับใจตัวละครที่ฉันเคยมีต่อตัวละครผิวสีน้ำตาลเข้มที่สุขภาพดี (ผิวโดนแดด) และกระตือรือร้น มีเสื้อผ้าที่น้อยชิ้น ฉันจึงแก้ไขตัวละคร "โนเอ้"
พูดออกว่า "มาเล่นบทบาทของ Tsukkomi ใส่แว่นตา มีความสุภาพบุรุษ" ถึงอย่างนั้นการที่โนเอ้ไม่สวมแว่นตา ทำให้โนเอ้มีมุมมองที่ซื่อบื้อไปโดยปริยาย ฉันจึงต้องปรับความสัมพันธ์ระหว่างโนเอ้กับตัวละครรอบตัวทั้งหมดใหม่อีกครั้ง แล้วเสื้อผ้าส่วนใหญ่ของวานิทัสจะเป็นทรงโค้งส่วนโนเอ้เป็นทรงตรง
ฌาน - เนื่องจากฉากนี้ต้องเป็น "อัศวินที่ปกป้องลูก้า" ฉันจึงพยามสร้างภาพที่อ่านได้ชัดเจนว่าเป็นอัศวิน แต่ยังไงภาพร่างเงาของอัศวินนั้นเหมือนกับราชาอัศวินผู้โด่งดังมากเกินไป ดังนั้นฉันจึงตัดสินใจกลับองค์ประกอบและจบลงด้วยการตัดผมบ๊อบและใส่กระโปรงรัดรูป
"ฉันมีความสุขมากที่ได้เห็นต้นขาของตัวละครหญิง" ดังนั้นเมื่อพวกเขาต่อสู้ แสงเงากระโปรงด้านหน้าตอนเปิดออกของพวกเธอเปลี่ยนไปอย่างมาก ธีมการวาดสำหรับฌานคือทำให้เธอดูนุ่มนวล และวาดตัวโดมิให้ดูงดงาม
ฉันรักตัวละครที่มีความแข็งแกร่งด้านกายภาพมาก ฉันจึงสนุกกับการวาดฌานเป็นสัตว์กินเนื้อตั้งแต่เล่ม 8 เป็นต้นไป
ลูก้า - มิฮาอิลเป็นเด็กผู้ชายน่ารักสไตล์ "bishoun (บิโชเน็น)" เราจึงตัดสินใจให้คงรูปลักษณ์ให้ลูก้าดูเรียบง่าย เมื่อเขาตกอยู่ในสถานการ์ณที่โชคร้ายมาก เขาจะแสดงสีหน้าที่ดูบ้าคลั่งในหน้าฟรีเพื่อตอบสนองสถานการ์ณของเขา (บิโชเน็นคือผู้ชายแนวสวยงามและหน้าฟรีคือโอเมเกะในนิตยสาร)
ฉันตั้งหน้าตั้งตารอที่จะได้เห็นฉากอื่นของเขาและโดมินิกที่จ้องมองฌานและตะคอกใส่วานิทัส
โดมิ - เธอคือตัวละคร (เหยื่อ) คนที่สองที่ต้องรับบทเป็น Tsukkomi ให้กับโนเอ้เดิมทีเธอจะเป็นตัวละครที่ยุ่งวุ่นวายและมีอิสระมากกว่าใครๆ ความจริงภาพต้องเป็นไปตามแนวตัวละครเลโอนิต จากเกม "Romancing SaGa 3" (Romancing SaGa 3 - เกม RPG แนว Final Fantasy อยู่ในยุค Superfamicom)
ขณะเดียวเธอก็มีอิสระและช่วยสนับสนุนตัวละครหลักเช่นเดียวกับลอร์ดอาราเมคจาก Alexia: Parasol Protectorate (นวนิยายร่มพิทักษ์) ที่แสดงออกอย่างอิสระและสนับสนุนตัวละครหลัก
ใช่ ทุกอย่างพังเพราะโนเอ้ถอดแว่นตาออก เธอตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากในเรื่องหลักและฉันอยากให้กำลังใจเธอเร็วๆ นี้
ลอร์ดรูธเวน - ฉันตระหนักดีว่าต้องสร้างความประทับใจให้กับตัวละครที่แข็งแกร่ง ในตอนแรกฉันอยากให้เขามีรูปร่างผอมบางแล้วมีความรอบรู้มาก แต่ขณะเดียวกันฉันก็คิดว่าทิศทางตัวละครของเขาคล้ายกับอาจาย์โนเอ้ ฉันเลยให้เขาเป็นสัตว์กินเนื้อ มีความเป็นนักวิชาการที่ดูน่าสงสัย ซึ่งเข้าได้ดีกับโนเอ้
ฉันพยามวาดฉากดูดเลือดในเล่มสี่อย่างเต็มที่ คาเฟ่ที่เกิดเหตุยังคงอยู่ในปารีสแต่ผนังกระจก เราคิดว่าฉากนั้นคงสามารถทำให้ดูน่าจดจำได้ โดยที่โนเอ้ถูกรูธเวนกัดและถูกบังคับให้มองเห็นภาพสถานการ์ณตัวเขาผ่านกระจก ซึ่งอดีตผู้ช่วยของฉันไม่ได้ยินเสียงมาสักระยะแล้วจู่ๆ ก็พูดกับฉันว่า "การเผยแพร่สองหน้าตอนนายท่านดูดเลือด ช่างเซ็กซี่เสียจริง ขอบคุณมากนะ แค่นี้แหละ ไม่ต้องตอบกลับนะ" ฉันหัวเราะหนักมากเมื่อได้รับอีเมลฉบับนั้น (การลงหมึกบนร่างดินสอเป็นเรื่องยากสุดๆ)
โลล็องต์ - โลร็องต์เป็นตัวละครที่ฉันไม่เคยวาดมาก่อน บางทีอาจจะเป็นเพราะเดิมทีฉันเป็นคนชอบคิดในด้านลบ แต่มันก็เป็นเรื่องง่ายที่ฉันวาดตัวละครที่มีบางอย่างมืดมนในใจแต่แสดงท่าทางร่าเริง ถึงอย่างนั้นโลร็องต์ก็เป็นนักคิดเชิงบวกที่เฟอร์เฟค แต่ไม่ใช่คนกระล่อนที่ตีสองหน้า และมีไหวพริบ
ฉันเลยแบบ "เอ๊ะ ทำไมมีปฎิกิริยาอย่างนั้นล่ะ" "ผู้ชายคนนี้กำลังคิดอะไรอยู่" และฉันมักจะลืมเรื่องนี้ไป โชคดีที่บรรณาธิการของฉันเป็นคนประเภทเดียวที่นิสัยเหมือนกับโลร็องต์ มันจึงมีประโยชน์มากกับฉันพลางพูดว่า ""โอ้ นี่คือการคิดในเชิงบวกจริงๆ เป็นคนที่เหยียบย่ำดินแดนแห่งคนลบ เมืองที่ไร้ความอาฆาตพยาบาล"ฉันว่ามีประโยชน์สุดๆ ทำให้ฉันเข้ากันกับผู้ที่รับผิดชอบเรื่องนี้ได้ดี
การแลกเปลี่ยนระหว่างโอลิเวียร์กับโลร็องต์ในสองเฟรมในตอนต้นของบทที่ 25 เป็นการแลกเปลี่ยนแบบเดียวที่เกิดขึ้นระหว่างฉันกับศิลปินที่รับผิดชอบร่วมด้วย แม้ว่าเนื้อหาการสนทนาจะแตกต่างกันก็ตาม โลร็องต์เป็นตัวละครสำคัญของตัวละครวานิทัสในอนาคต เลยอยากวาดเขาแบบระมัดระวัง
แอสโทลโฟ - ฉันว่าได้ภาพบทสรุปหลังจากเริ่มต้นซีรีย์ขึ้น เมื่อเทียบกับ Pandora Hearts แล้ว อายุเฉลี่ยของตัวละครวานิทัสโดยรวมนั้นสูงกว่าปกติ ฉันจึงต้องเพิ่มตัวละครอายุน้อยลงไป ในเวลาปกติ ฉันวาดหน้าม้าของแอสจนมองไม่เห็นคิ้ว ต่อให้เขายิ้ม ก็ยากจะบอกได้ว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่
สำหรับส่วนเวอร์ชั่น Gevaudan (เฌโวด็อง) นั้น ฉันประสบปัญหาในการหาวิธีทำให้การเคลื่อนไหวหอกดูเท่ ดังนั้นฉันจึงค้นหาหนังสือและวิดีโอต่างๆ เพื่อใช้ในการเรฟเฟอเร้น
เวโรนิก้า - เพราะแวมไพร์ทุกตนในตระกูลซาดยกเว้นโดมิกับหลุยส์ เป็นพวกนิสัยเสีย/เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ฉันตั้งใจวาดฉากสุดว้าวของเวโรนิก้าและอองตวนในอนาคต "โดมิ-จางงง" ของคุณฮิกาซะเป็นแอนิเมชั่นที่สุดของเวโรนิก้าและฉันไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกับการย่างก้าวของโออิรันเท่าไร จนฉันได้ดูรายละเอียดอนิเมชั่นที่จบแล้ว เลยคิดว่ามีรายละเอียดที่ดี ฉันดีใจมาก
ด็อกเตอร์มอโร - มอโรได้รับการเรฟเฟอเร้นมาจาก "The Island of Dr. Moreau" ฉันรู้ว่าเขาจะไม่ปรากฎตัวบ่อยเท่ากับตัวละครหลัก ฉันจึงต้องสร้างรูปลักษณ์และบุคลิกที่มีอิทธิพล เพื่อที่พวกเขาจะได้ไม่สงสัยว่าเขาคือใคร
เขาเป็นอย่างอิซเลิม ยูระใน Pandora Hearts เขาเป็นวายร้ายที่ถูกครอบงำด้วยความชั่วร้าย เขาทำเพื่อความปราถนาของตัวเองและดูเหมือนจะสนุกกับตัวเอง... มอโรก็เหมือนกับเวโรนิก้าที่พากย์โดยโดซากะ เสียงนั้นทำได้ดีมากในอนิเมะและฉันหัวเราะตอนที่ได้ยินเสียงของเขาตอนขยับปากคุย
โคลเอ้ เดอ อัปเฌร์ - โคลเอ้เป็นตัวละครที่ฉันออกแบบตามความต้องการโดยไม่สนรายละเอียด การวาดผมกับดวงตาของเธอเป็นเรื่องยากมาก แต่ก็ยากมากเช่นกันในการวาดชุดของเธอให้เปลี่ยนตามยุคสมัยตามความทรงจำของเธอ ที่เปลี่ยนจากยุคยุคเรอเนซองส์ → บาโรก → ศิลปะโรโกโก ขณะที่ฉันกำลังเขียนเรื่องราวของ Gevaudan (เฌโวด็อง) ฉันก็ถามคนที่รับผิดชอบซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า "จะดีกว่าไหมถ้าฆ่าโคลเอ้ตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อให้เรื่องราวทั้งหมดดูเป็นระเบียบ มารวมกันมากขึ้น?"
ซึ่งฉันที่ได้ขอคำแนะนำผู้ดูแลและได้รับชี้แจ้งว่า "ฉันก็อยากเห็นอยู่หรอกนะ แต่คุณก็บอกเองนะว่าถ้าโคลเอ้ไม่รอด คุณจะไม่สามารถบรรยายฉากที่วานิทัสหลงใหลรอยยิ้มของฌานในภายหลังได้" จริงๆ ฉันดีใจมากถ้าโคลเอ้กับฌองณาคเสียชีวิต (การลงหมึกบนร่างดินสอในสเก็ตช์เป็นเรื่องยากมาก)
แวมไพร์จันทราสีน้ำเงิน (ลูน่า) - ธีมพระจันทร์สีน้ำเงินคือ "ความแตกต่างที่สวยงาม" ฉันชอบให้ตัวละครของฉันมีความแตกต่าง ฉันจึงสร้างตัวละครให้มีความลึกลับแต่มีบุคลิกที่ยุ่งเหยิงที่ไม่มีพลังชีวิตอยู่ข้างใน และการลงหมึกตัวละครตัวนี้ในร่างดินสอเป็นเรื่องที่เหนื่อยเอาการ
มิฮาอิล - ในตอนแรกมิฮาอิลเป็นตัวละครที่เกลียดวานิ ทัสแต่รักโนเอ้แทน แน่นอนว่าตอนฉันวาดเนื้อเรื่องหลัก ต่อไป ฉันคิดว่า "ไม่ มันจะไม่เกิดขึ้น" และฉันใจเย็นลง ปักหลักกับแพลนที่วางไว้ในปัจจุบัน สำหรับฉันการแต่งตัวของมิซ่า ค่อนข้างท้าทายมาก
ฉันมีปัญหาเล็กน้อยกับเด็กผู้ชายที่สวมกางเกงขาสั้น แต่ฉันมีประสบการณ์มากมายในการชอบเมื่อวาดพวกเขา และผู้ช่วยของฉันชอบมิซ่าที่สวมกางเกงขาสั้น จึงตัดสินใจได้ในทันที (ย้ำอีกครั้งว่าการลงหมึกแบบร่างดินสอเป็นเรื่องยากมาก)
Q8: สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งในผลงานของอาจาย์โมจิซุกิคือความสัมพันธ์ที่หลากหลายระหว่างตัวละครต่างๆ ได้โปรดช่วยบอกเราเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่คุณคิดว่าน่าสนใจเป็นพิเศษ
A8: วานิทัสกับโนเอ้
ตอนที่ฉันตัดสินใจสร้างเรื่องราวคู่หู ฉันประสบปัญหาที่ปรับตัวสมดุลให้เข้ากับพลัง ฉันไม่อยากให้พระเอกสองคนมีบทบาทที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนเช่น "ร่างกายกับสมอง" และ "ผู้ที่เป็นผู้นำและถูกชักจูง" รวมทั้ง "ขาวดำ" รวมไปถึงการช่วยเหลือคนอื่นด้วย
วานิทัสกับฌาน - ฉันคิดว่า (นิสัย) ของฉันเองมีอิทธิพลกับความสัมพันธ์ของพวกเขาในตอนต้นเรื่องมาก ฉันชอบความไม่สมดุลที่ฌานแวมไพร์มีร่างกายเหนือกว่า แต่วานิทัสมีจิตใจดีกว่าเธอ ฉันสนุกกับการวาดทั้งสองคนให้ดุร้ายตั้งแต่ต้นเรื่อง
แต่ตอนนี้โพซิซั่นของพวกเขากลับกันแล้ว ฉันอดไม่ได้ที่จะยิ้มแล้วพูดว่า "อ๊าา 5555 วานิทัส นายอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว! " ฉันเคยเห็นเรื่องราวของแวมไพร์มาหลายเรื่องที่แวมไพร์ชายดูดเลือดของแวมไพร์ตัวเมีย ดังนั้นฉันจึงอยากจะวาดรูปแบบที่ตรงกันข้ามในวานิทัสให้มากขึ้น ฉันได้วาดชายดูดเลือดชายแล้ว เลยอยากจะวาดฉากหญิงดูดเลือดหญิงในอนาคตอันใกล้นี้ ฉันชอบ "Tasogare Renren" ของอาจาย์ Nari Kusakawa สำหรับการดูดเลือดหญิงถึงชายมาก[87]
แปลบทสัมภาษณ์ดาวินซี (เก็บตกรายละเอียดเสริม)
[แก้]การแปลรายละเอียดส่วนเสริมที่ไม่มีในนิตยสารของคิคังและเก็บตกข้อมูลรวมทั้งนักพากย์
คำถาม : แม้ว่าพวกเขาจะทะเลาะกันแต่ก็เลือกที่จะอยู่ด้วยกันและคอยสนับสนุนซึ่งกันและกัน ฉันสนใจความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองอีกด้วย คุณโมจิซุกิจะบรรยายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองคนนี้อย่างไร
โมจิซุกิ: พวกเขาไม่ใช่พวกเดียวกันและเพื่อน หรือแม้กระทั่งเพื่อนสนิท พวกเขาแตกต่างกันและเข้ากันไม่ได้ ดังนั้นพวกเขาจึงดึงดูดเข้าหากันและสามารถปกปิดจุดอ่อนของกันแล้วกันได้ ถึงอย่างนั้นก็ตาม คิดว่าเขากำลังถูกดึงดูดเข้าสู่ความมืดมิดที่แฝงตัวอยู่ในเงามืด[88]
คำถามสอง : คุณรู้สึกประทับใจกับการมีอยู่ของแวมไพร์มากแค่ไหน? นอกจากนี้ หากคุณมีผลงานแวมไพร์ที่ชื่นชอบ ได้โปรดช่วยบอกเราหน่อย?
โมจิซุกิ : ฉันเองก็จำผลงานแวมไพร์เรื่องแรกในชีวิตไม่ได้ แต่ภาพยนตร์เรื่อง ``Interview with the Vampire'' มีผลกระทบอย่างมากต่อฉันเมื่อตอนที่ฉันยังเด็กอยู่ ตอนนั้นฉันบังเอิญได้ดูเรื่องนี้ในทีวี แต่ฉันรู้สึกว่านั่นคือจุดที่ฉันได้ปลูกฝังความสยองขวัญและความเปราะบางของแวมไพร์ รวมทั้งธรรมชาติที่น่าหลงใหลของฉากดูดเลือด ซึ่งหนังเรื่องนี้น่าจะเป็นเหตุผลที่ทำให้ฉันชอบการผสมผสานระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาว[89]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 吸血鬼譚「ヴァニタスの手記」ボンズ制作で今夏TVアニメ化 花江夏樹&石川界人が主演. anime.eiga.com (ภาษาญี่ปุ่น). eiga.com . March 28, 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-18. สืบค้นเมื่อ April 10, 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ 2.0 2.1 Chapman, Paul (March 28, 2021). "The Case Study of Vanitas Sinks Its Fangs Into a TV Anime". Crunchyroll. สืบค้นเมื่อ April 10, 2021.
- ↑ 19世紀パリ×吸血鬼×スチームパンク! 魔導書に導かれし吸血鬼と人間たちの物語──アニメ『ヴァニタスの手記』原作・望月淳インタビュー. DDNavi (ภาษาญี่ปุ่น). July 8, 2021. สืบค้นเมื่อ December 7, 2022.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 แปลโดยคุณ MochiJunManga ในยูทูป
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "Interview de Jun Mochizuki (Les Mémoires de Vanitas, Pandora Hearts". Manga News (ภาษาฝรั่งเศส). September 13, 2017. สืบค้นเมื่อ January 28, 2022.
- ↑ อิตามูระ บทสัมภาษณ์แปลของบันทึกแวมไพร์วาาิทัส ทวิต วันสืบค้น 23 พฤษภาคม 2023
- ↑ interview by Morrissy, Kim (July 4, 2021). "Vanitas No Carte Aniplex online Fest 2021". Anime News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ December 8, 2022.
- ↑ Ressler, Karen (October 20, 2015). "Pandora Hearts' Mochizuki to Launch Vanitas no Carte Manga". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ April 10, 2021.
- ↑ 「PandoraHearts」の望月淳、JOKERでの新連載は吸血鬼を巡るファンタジー. Natalie (ภาษาญี่ปุ่น). Natasha, Inc. December 22, 2015. สืบค้นเมื่อ December 8, 2022.
- ↑ บทความเขียนโดยคุณ Hodgkins, Crystalyn , วันที่ดั้งเดิม 4 เมษายน 2020 , บันทึกแวมไพร์วานิทัสหยุดเพราะโควิด 19 , Anime News Network , วันสืบค้น 20 พฤษภาคม 2023
- ↑ ガンガンJOKER 2020年12月号(11月21日発売) , กังกังโจ๊กเกอร์ (Gangan Joker ในญี่ปุ่น) , สแควร์เอนิกซ์ , เก็บมาจากต้นฉบับ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2020 ,วันสืบค้น 20 พฤษภาคม 2023
- ↑ วันที่ดั้งเดิม 20 พฤษภาคม 2023 ,
"ヴァニタスの手記 10 (ใน ญี่ปุ่น)".
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) , สแควร์เอนิกส์ , วันที่สืบค้น 5 พฤษภาคม 2023 - ↑ วันที่ดั้งเดิม 20 พฤษภาคม 2023 , "บันทึกแวมไพร์วานิทัสเล่ม 10 เวอร์สเปเซี่ยลอีดิท พร้อมของแถมมินิบุ๊ค".
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) , สแควร์เอนิกซ์ , วันสืบค้น 5 พฤษภาคม 2023 - ↑ บันทึกแวมไพร์ประกาศลิขสิทธิ์ผ่านทางเฟสบุ๊คทางการของสำนักพิมพ์สยาม , siam inter comic ในวันที่ 18 กันยายน 2019 , วันสืบค้น 5 พฤษภาคม 2023
- ↑ สำนักพิมพ์รับฟีคแบคนักอ่านเรื่องรูปเล่มของบันทึกแวมไพร์วานิทัส siam inter comic ในวันที่ 26 กันยายน 2019 สืบค้นวันที่ 20 พฤษภาคม 2023
- ↑ บันทึกแวมไพร์วานิทัสเล่ม 1 , 瓦尼塔斯的手札(1) เก็บถาวร 2022-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน spp.com.tw ในไต้หวัน (ประเทศจีน ) จากวันที่ 19 พฤษภาคม 2017 , วันสืบค้น 20 พฤษภาคม 2023
- ↑ บันทึกแวมไพร์วานิทัสเล่ม 1 , 瓦尼塔斯的手札 第1期 ในฮ่องกง (ประเทศจีน) jd-intl.com , วันสืบค้น 20 พฤษภาคม 2023
- ↑ บันทึกแวมไพร์วานิทัสเล่ม 1 ([잡담] 바니타스의 카르테, 1권 대원씨아이 6월 발행예정) naver.com (ในเกาหลี) ,สืบค้นวันที่ 20 พฤษภาคม 2023
- ↑ ข่าวประกาศลิขสิทธิ์บันทึกแวมไพร์วานิทัสในฝรั่งเศส (Jun Mochizuki bientôt de retour chez Ki-oon avec les Mémoires de Vanitas) manga-news.com (ในฝรั่งเศส) จากวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2017 ,สืบค้นวันที่ 20 พฤษภาคม 2023
- ↑ บันทึกแวมไพร์วานิทัส เล่ม 1 (The Case Study Of Vanitas 1) carlsen.de ในเยอรมนี สืบค้นวันที่ 16 เมษายน 2022
- ↑ บันทึกแวมไพร์วานิทัสเล่ม 1 , THE CASE STUDY OF VANITAS n. 1 starcomics.com (ในอิตาลี) , สืบค้นวันที่ 20 พฤษภาคม 2023
- ↑ ข่าวประกาศลิขสิทธิ์ของบันทึกแวมไพร์วานิทัสในสเปน ramenparados.com (ในสเปน) จากวันที่ 6 เมษายน 2019 สืบค้นวันที่ 20 พฤษภาคม 2023
- ↑ บันทึกแวมไพร์วานิทัสเล่ม 1 (МЕМУАРЫ ВАНИТАСА. ТОМ 1) istari.ru ในรัสเซีย สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2023
- ↑ บันทึกแวมไพร์วานิทัสเล่ม 1 , COMBO HỒI KÍ VANITAS (TẬP 1-8) เก็บถาวร 2022-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน nxbkimdong.com.vn ในเวียดนาม สืบค้น 20 พฤษภาคม 2023
- ↑ บันทึกแวมไพร์วานิทัศเล่ม 1 (Księga Vanitasa 01) sklepwaneko.pl ในโปแลนด์ สืบค้นวันที่ 20 พฤษภาคม 2023
- ↑ มาเตโอ อเล็กซ์ ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2021 บันทึกแวมไพร์วานิทัสเผยวิดิโอโปรโมตอนิเมเมะของเพลงยูกิ คาจิอูระ Anime News Network สืบค้นวันที่ 20 พฤษภาคม 2023
- ↑ Hodgkins, Crystalyn ในวันที่ 28 มีนาคม 2021 บันทึกแวมไพร์วานิทัสออกอากาศทีวีอนิเมะซีรีส์ในซีซั่นซัมเมอร์โดยโบนส์ Anime News Network วันสืบค้น 20 พฤษภาคม 2023
- ↑ ลู อีแกน ในวันที่ 5 มิถุนายน 2021 บันทึกแวมไพร์วานิทัสเผยรายชื่อนักพากย์เพิ่มเติม ซึ่งเปิดตัวในวันที่ 2 กรกฎาคม ครึ่งหลัง Anime News Network สืบค้นวันที่ 20 พฤษภาคม 2023
- ↑ "On'ea | Terebi Anime "Vanitasu no Karute" Kōshiki Saito" ON AIR | TVアニメ「ヴァニタスの手記」公式サイト [On Air | TV Anime "The Case Study of Vanitas" Official Website]. vanitas-anime.com (ภาษาญี่ปุ่น). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 พฤษภาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2023.
- ↑ มาเตโอ อเล็กซ์ ในวันที่ 17 กันยายน 2021 บันทึกแวมไพร์วานิทัสพาร์ทสองที่จะฉายใเดือนมกราคม 2022 Anime News Network สืบค้น 20 พฤษภาคม 2023
- ↑ มาเตโอ อเล็กซ์ ในวันที่ 3 ธันวาคม 2021 บันทึกแวมไพร์วานิทัสฉายรอบปฐมทัศน์ในวันที่ 14 มกราคม Anime News Network สืบค้นวันที่ 20 พฤษภาคม 2023
- ↑ มาเตโอ อเล็กซ์ ในวันที่ 21 มิถุนายน บันทึกแวมไพร์วานิทัสเผยตัวอย่างเพลงปิดของอนิเมะ แต่งโดยคุณ LMYK Anime News Network สืบค้นวันที่ 20 พฤษภาคม 2023
- ↑ เว็บไซต์เป็นทางการของทีวีอนิเมะ "บันทึกแวมไพร์วานิทัส" vanitas-anime.com สืบค้นวันที่ 20 พฤษภาคม 2023
- ↑ ลู อีแกน ในวันที่ 22 ธันวาคม 2021 บันทึกแวมไพร์วานิทัสได้นำเสนอเพลงปิดพาร์ทสองในวิดิโอ Anime News Network สืบค้น 20 พฤษภาคม 2023
- ↑ รายชื่อนักพากย์ไทย เฟซบุ๊ก สืบค้นวันที่ 25 พฤษภาคม 2023
- ↑ กระทู้ myanimelist ที่มีคนตั้งคำถาม "Easter Egg" ของวานิทัสในอนิเมะ myanimelist สืบค้นวันที่ 23 พฤษภาคม 2023
- ↑ ทวิตเตอร์ที่อธิบาย "Easter Egg" ของวานิทัส ทวิตเตอร์ สืบค้นวันที่ 23 พฤษภาคม 2023
- ↑ ทวิตเตอร์ทางการละครเวที ทวิตเตอร์ วันสืบค้นวันที่ 25 พฤษภาคม 2023
- ↑ ประกาศข่าวละครเวที ทวิตเตอร์ สืบค้นวันที่ 25 พฤษภาคม 2023
- ↑ บันทึกแวมไพร์วานิทัส ละครเวที -encore- ทวิตเตอร์ สืบค้นวันที่ 25 พฤษภาคม 2023
- ↑ ละครเวที กาคุ ทาคาโมโตะ นักแสดงสำรอง เว็บไซต์ทางการละครเวที สืบค้นวันที่ 25 พฤษภาคม 2023
- ↑ ละครเวทีถูกยกเลิก ทวิตเตอร์ สืบค้นวันที่ 25 พฤษภาคม 2023
- ↑ นักแสดงละครเวทีติดเชื้อโควิด 19 ทวิตเตอร์ สืบค้นวันที่ 25 พฤษภาคม 2023
- ↑ 44.0 44.1 ละครเวทีถูกยกเลิก 02 ทวิตเตอร์ สืบค้นวันที่ 25 พฤษภาคม 2023
- ↑ ละครเวทีถูกพิจารณาเนื่องจากนักแสดงติดโควิด 19 03 ทวิตเตอร์ สืบค้นวันที่ 25 พฤษภาคม 2023
- ↑ โมจิซุกิ จุนมอบของขวัญให้กับทีมงานละครเวที ทวิตเตอร์ สืบค้นวันที่ 25 พฤษภาคม 2023
- ↑ ไม่มีแผนเปิดดีวีดีหรือบลูเรย์ vanitas-stage.com สืบค้นวันที่ 25 พฤษภาคม 2023
- ↑ ดาร์กิส เมลิน่า "อันดับมังงะและไลท์โนเวลประจำสัปดาห์ของญี่ปุ่น ประจำวันที่ 7 พฤษภาคม 2017" วันที่ 11 พฤษภาคม 2017 The Fandom Post สืบค้นวันที่ 23 พฤษภาคม 2023
- ↑ "【ヴァニタスの手記】ヴァニタスの過去・正体とは?目的や死亡についてネタバレ考察 | 大人のためのエンターテイメントメディアBiBi[ビビ]" bibi-star.jp (ภาษาญี่ปุ่น). 27 มกราคม 2022. สืบค้นวันที่ 24 พฤษภาคม 2023
- ↑ 50.0 50.1 ซิลเวอร์แมน, รีเบคก้า (25 ธันวาคม 2016). "บันทึกแวมไพร์วานิทัส GN 1". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ บทสัมภาษณ์โมจิซุกิ จุน (บันทึกแวมไพร์วานิทัส) ผู้เขียน Pandora Hearts Manga News (ภาษาฝรั่งเศส) 13 กันยายน 2017 สืบค้น 24 พฤษภาคม 2023
- ↑ ดาร์กิส เมลิน่า (14 กุมภาพันธ์ 2017) "บันทึกแวมไพร์วานิทัสเล่ม #01 รีวิวมังงะ" แฟนด้อมโพสต์ The Fandom Post สืบค้น วันที่ 24 พฤษภาคม 2023
- ↑ ดาร์กิส เมลิน่า (9 พฤษภาคม 2017).คำถามของแฟนด้อม : ซีรีย์มังงะเรื่องใดสมควรถูกดัดแปลงอนิเมะมากที่สุด แฟนด้อมโพสต์ [The Fandom Post]. สืบค้นวันที่ 24 พฤษภาคม 2023
- ↑ Jeudi Publiée le Jeudi รีวิวมังงะเล่ม 8 โดย manganew (ภาษาฝรั่งเศส) วันที่ 8 ตุลาคม 2020 manganew สืบค้น 24 พฤษภาคม 2023
- ↑ "Critique Vol.9 Mémoires de Vanitas (les)" Manga News (ภาษาฝรั่งเศส). วันที่ 16 ธันวาคม 2021. สืบค้นวันที่ 23 พฤษภาคม 2023
- ↑ ดาร์กิส เมลิน่า (9 กันยายน 2020) "บันทึกแวมไพร์วานิทัสเล่ม #07 รีวิวมังะ" แฟนด้อมโพสต์ [The Fandom Post] สืบค้นวันที่ 24 พฤษภาคม 2023
- ↑ Martínez, Óscar (17 กันยายน 2021). "EL SER O NO SER DE VANITAS NO CARTE". El Palomitrón (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ การ์ริตี้, แชนอน เค. (26 มีนาคม 2017). "[Review] บันทึกแวมไพร์วานิทัส". โอตาคุ USA. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) Otaku USA - ↑ "Critique Vol.1 Mémoires de Vanitas (les)" Manga News (ภาษาฝรั่งเศส) สืบค้นวันที่ 24 พฤษภาคม 2023
- ↑ โดโนฮู ทิโมธี (28 ธันวาคม 2021) บันทึกแวมไพร์วานิทัส:วิธีเริ่มต้นดูอนิเมะกับมังงะ Comic Book Resources สืบค้นวันที่ 24 พฤษภาคม 2023
- ↑ ดาร์กิส, เมลิน่า (14 กุมภาพันธ์ 2017). "บันทึกแวมไพร์ซานิทัส#01 รีวิวมีงงะ". The Fandom Post. สืบค้นเมื่อ 24 พฤษภาคม 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ เคทลิน มัวร์, ลินซี เลิฟริดจ์&ซีรีย์ยอดเยี่ยม Anime News Network สืบค้นวันที่ 31 พฤษภาคม 2023
- ↑ "MrAJCosplay, โมนิค โธมัส, เจมส์ เบ็คเก็ตต์" & เพลงประกอบยอดเยี่ยม Anime News Network , 30 ธันวาคม 2021 ( สืบค้นวันที่ 31 พฤษภาคม 2023)
- ↑ อนิเมะที่ดีที่สุดในซีซั่นวินเทอร์ 2021 IGN 14 ธันวาคม 2021 , สืบค้นวันที่ 31 พฤษภาคม 2023
- ↑ 65.0 65.1 สวิฟต์, เคสเทรล (24 กันยายน 2564) รีวิวอนิเมะ บันทึกแวมไพร์วานิทัสตอนที่ 11-12 (ตอนจบซีซั่น) เดอะแฟนด้อมโพสต์ สืบค้นวันที่ 31 พฤษภาคม 2023
- ↑ ซิลเวอร์แมน, รีเบคก้า (12 กันยายน 2564). บันทึกแวมไพร์วานิทัส EP.11 Anime News Network สืบค้นวันที่ 31 พฤษภาคม 2023
- ↑ 67.0 67.1 คู, เกรซี่ (21 กันยายน 2564). บทวิจารณ์อนิเมะบันทึกแวมไพร์วานิทัส : เหล่าแวมไพร์งดงามในโกธิคที่สร้างความบันเทิงใหกับซีรีย์ Anime Trending สืบค้นวันที่ 31 พฤษภาคม 2023
- ↑ สวิฟต์ เครสเตล (17 กรกฎาคม 2021) รีวิวอนิเมะบันทึกแวมไพร์วานิทัสตอนที่ 3 เดอะแฟนด้อมโพสต์ สืบค้นวันที่ 31 พฤษภาคม 2023
- ↑ สวิฟต์ เครสเตล (24 กรกฎาคม 2021) รีวิวอนิเมะบันทึกแวมไพร์วานิทัสตอนที่ 4 เดอะแฟนด้อมโพสต์ สืบค้นวันที่ 9 มิถุนายน 2023
- ↑ "เช็กอนิเมะสามตอนแรกในซีซั่นซัมเมอร์ 2021". Anime Feminist. สิงหาคม 4, 2021. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 9, 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Anime Feminist แนะนำอนิเมะซีซั่นวินเทอร์ในปี 2022". Anime Feminist. เมษายน 27, 2022. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 9, 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ซิลเวอร์แมน, รีเบคก้า (กรกฎาคม 30, 2021). "บันทึกแวมไพร์วานิทัส — ตอนที่ 5". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 9, 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ บอนเดน, อเลฮานดรา (มกราคม 22, 2022). "Tokyo Revengers, Vanitas & Shaman King: 3 อนิเมะติดอันดับรายชื่อในปี 2022". Bleeding Cool. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 9, 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ไกเซอร์, วีเรย์ (กรกฎาคม 2, 2021). "บันทึกแวมไพร์วานิทัสตอนที่ 1". Anime Feminist. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 9, 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ เลิฟริดจ์, ลินซี่ (พฤษภาคม 30, 2022). "อนิเมะที่ดีที่สุดและแย่ที่สุดของฤดูหนาวปี 2022". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 9, 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ เลิฟริดจ์, ลินซี่ (มกราคม 18, 2022). "คันซิโร่ประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงอนิเมะอะวอร์ดครั้งที่ 6 ประจำปี 2022". Anime News Network. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 9, 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ฌาน ความนิยมใน Animetrending
- ↑ อันดับผลโหวตของฌานในฐานะตัวละครซับพอร์ตใน AnimeTrending
- ↑ อันดับผลโหวตของฌาน
- ↑ วานิทัสและฌาน ติดอันดับสาขาคู่รักยอดเยี่ยม
- ↑ วานิทัสและฌานติดอันดับสี่ของคู่ชิป
- ↑ มอริสซี่, คิม (มกราคม 19, 2023). "คันซิโร่ประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงอนิเมะอะวอร์ดครั้งที่ 7 ประจำปี 2023". Anime News Network (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 20, 2023. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 9, 2023.
- ↑ reddit animeawards 2021 redditvote สืบค้นวันที่ 9 มิถุนายน 2023
- ↑ r/anime Awards 2022 reddit vote สืบค้นวันที่ 9 มิถุนายน 2023
- ↑ ฉากที่ประทับใจมากที่สุดของวานิทัส : ผลโหวตของออฟฟิเซี่ยล vanitas-anime.com สืบค้นวันที่ 4 มิถุนายน 2023
- ↑ ภาพร่างของโมจิซุกิ "วานิทัสกับโนเอ้" ในนิตสารคิคัง
- ↑ Tasogare Renren
- ↑ 友人 - Yujin (ยูจิน) แปลว่าเพื่อนและเพื่อนสนิท ถ้าใช้กรณีแนะนำเพื่อนเป็นคำที่พิธีริตองกว่า Nakama-tomo chigau หมายถึงพวกพ้องอยู่ด้วยกันในยามที่ยากลำบาก จริงๆ ไม่รู้แปลยังไง มันแปลว่าแตกต่างจากพวกพ้อง (พวกเราไม่ใช่เพื่อนกันด้วยซ้ำ)
- ↑ interview with the vampire คือภาพยนต์ lgbt+ เดาว่าเวอร์ชั่นที่อาจาย์โมจิซุกิดูน่าเป็นมูฟวี่แต่ไม่ใช่ทีวีซีรีย์
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการมังงะ ที่''กังกังโจกเกอร์ (ญี่ปุ่น)
- เว็บไซต์ทางการอนิเมะ (ญี่ปุ่น)
- บันทึกแวมไพร์วานิทัส (มังงะ) ที่เครือข่ายข่าวอนิเมะ
- เว็บไซต์ทางการละครเวทีของบันทึกแวมไพร์วานิทัส (ญี่ปุ่น)
- การ์ตูนญี่ปุ่น
- มังงะชุด
- ซีรีส์อนิเมะ
- มังงะที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2558
- อนิเมะที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2564
- โบนส์
- การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็ง
- อนิเมะดาร์กแฟนตาชีและมังงะ
- สยามอินเตอร์คอมิกส์
- ซีรีส์อนิเมะที่สร้างจากมังงะ
- แวมไพร์ในการ์ตูนญี่ปุ่น
- อนิเมะ
- บันทึกแวมไพร์วานิทัส
- กังกังคอมิกส์
- จุง โมจิซูกิ
- อะนิเพล็กซ์
- รายการโทรทัศน์ของโตเกียวเอ็มเอ็กซ์