บลูสกาย สตูดิโอส์
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ประเภท | บริษัทลูกของ ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์[1] |
---|---|
อุตสาหกรรม | ภาพยนตร์แอนิเมชั่น |
ก่อตั้ง | กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1987 |
ผู้ก่อตั้ง | คริส เวดจ์ V. Gopalakrishnan |
เลิกกิจการ | 7 เมษายน พ.ศ. 2564 |
สำนักงานใหญ่ | เมืองกรีนวิช รัฐคอนเนตทิคัตสหรัฐอเมริกา |
บุคลากรหลัก | คาร์ลอส ซัลดันฮา คริส เวดจ์ |
ผลิตภัณฑ์ | ภาพยนตร์แอนิเมชั่น |
เจ้าของ | นิวส์ คอร์เปอเรชั่น |
บริษัทแม่ | ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ |
เว็บไซต์ | http://www.blueskystudios.com |
บลูสกาย สตูดิโอส์ เป็นสตูดิโอร้างภาพยนตร์การ์ตูนอเมริกันจากคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน เชี่ยวชาญด้านความละเอียดสูง ตั้งอยู่ที่เมืองกรีนวิช รัฐคอนเนตทิคัตสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของบริษัททเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์
ประวัติ
[แก้]บลูสกาย สตูดิโอส์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1987 โดย คริส เวดจ์ ,คาร์ล ลุดวิก และเพื่อนร่วมงานอีกทั้ง 4 คน ซึ่งเคยทำงานภาพยนตร์เรื่อง ทรอน จากดิสนีย์
เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1997 ทเวนตีท์เซ็นจูรีฟอกซ์ได้เข้าซื้อกิจการของบลูสกายสตูดิโอส์ แล้วสร้างภาพยนตร์ที่ต้องใช้ซอฟต์แวร์เอฟเฟ็คในการผลิต ได้แก่เรื่อง ดิ เอ็กซ์-ไฟล์ส (The X-Files) , เบลด พันธุ์ฆ่าอมตะ , อาร์มาเก็ดดอน วันโลกาวินาศ และ ไททานิค ต่อมา คริส เวดจ์ เริ่มตระหนักถึงความสำเร็จอันยาวไกล เขาจึงเริ่มผลิตภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องสั่นเรื่องแรก มีชื่อมา Bunny แล้วได้รับรางวัล รางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องสั่น
บลูสกายเริ่มผลิตภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องยาวใน ค.ศ. 2002 คือเรื่อง Ice Age และประสบความสำเร็จทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล รางวัลออสการ์ ทำให้บลูสกายได้รับการยอมรับเป็นอีกหนึ่งสตูดิโอส์ที่สร้างภาพยนตร์แอนิเมชันดีที่สุดเหมือนกับ ดรีมเวิร์กสแอนิเมชัน และ พิกซาร์
บลูสกาย สตูดิโอส์ ย้ายสำนักงานจากเมืองไวต์เพลนส์ รัฐนิวยอร์ก ไปยังเมืองกรีนวิช รัฐคอนเนตทิคัต เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 2009
ภาพยนตร์
[แก้]ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องยาว
[แก้]เรื่อง | เข้าฉาย (อเมริกา) | งบประมาณ | รายได้ | RT | IMDb | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | Ice Age ไอซ์ เอจ เจาะยุคน้ำแข็งมหัศจรรย์ |
15 มีนาคม ค.ศ. 2002 | $59,000,000 | $383,257,136 | 77% | 7.4 |
2 | Robots โรบอทส์ |
11 มีนาคม ค.ศ. 2005 | $75,000,000 | $260,718,330 | 64% | 6.4 |
3 | Ice Age: The Meltdown ไอซ์ เอจ 2 เจาะยุคน้ำแข็งมหัศจรรย์ |
31 มีนาคม ค.ศ. 2006 | $80,000,000 | $655,388,158 | 57% | 6.9 |
4 | Dr. Seuss' Horton Hears a Who! ฮอร์ตัน กับ โลกจิ๋วสุดมหัศจรรย์ |
14 มีนาคม ค.ศ. 2008 | $85,000,000 | $297,138,014 | 79% | 7.2 |
5 | Ice Age: Dawn of the Dinosaurs ไอซ์ เอจ 3 เจาะยุคน้ำแข็งมหัศจรรย์ จ๊ะเอ๋ไดโนเสาร์ |
1 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 | $90,000,000 | $886,686,817 | 45% | 7.1 |
6 | Rio ริโอ เดอะมูฟวี่ เจ้านกฟ้าจอมมึน |
15 เมษายน ค.ศ. 2011 | $90,000,000 | $484,635,760 | 72% | 7.2 |
7 | Ice Age: Continental Drift ไอซ์ เอจ 4 เจาะยุคน้ำแข็งมหัศจรรย์ กำเนิดแผ่นดินใหม่ |
13 กรกฎาคม ค.ศ. 2012 | $95,000,000 | $877,244,782 | 37% | 6.9 |
8 | Epic บุกอาณาจักรคนต้นไม้ |
24 พฤษภาคม ค.ศ. 2013 | $93,000,000 | $268,426,634 | 64% | 6.8 |
9 | Rio 2 ริโอ 2 |
11 เมษายน ค.ศ. 2014 | $103,000,000 | $500,100,000 | 47% | 7.0 |
10 | The Peanuts Movie สนูปี้ แอนด์ ชาร์ลี บราวน์ เดอะ พีนัทส์ มูฟวี่ |
6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 | $99,000,000 | $246,000,000 | 86% | 7.1 |
11 | Ice Age: Collision Course | 22 กรกฎาคม ค.ศ. 2016 | $105,000,000 | $408,000,000 | 15% | 5.8 |
12 | Ferdinand | 15 ธันวาคม ค.ศ. 2017 | $111,000,000 | $296,100,000 | 73% | 6.8 |
13 | Spies in Disguise | 25 ธันวาคม ค.ศ. 2019 | $100,000,000 | $171,100,000 | 53% | 6.8 |
ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องสั้น
[แก้]เรื่อง | เข้าฉาย (อเมริกา) | รางวัล | |
---|---|---|---|
1 | Bunny | 1998 | ได้รับรางวัลชนะเลิศจาก Academy Award |
2 | Gone Nutty | 26 พฤศจิกายน 2002 | เสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Academy Award |
3 | Aunt Fanny's Tour of Booty | 27 กันยายน 2005 | |
4 | No Time for Nuts | 21 พฤศจิกายน 2006 | เสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Academy Award |
5 | Surviving Sid | 9 ธันวาคม 2008 | |
6 | Umbrellacorn | 26 กรกฎาคม 2013 | |
7 | Cosmic Scrat-tastrophe | 6 พฤศจิกายน 2015 | |
8 | Scrat: Spaced Out | 11 ตุลาคม 2016 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Company Info of Blue Sky Studios". Blue Sky Studios. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-13. สืบค้นเมื่อ September 15, 2010.