ข้ามไปเนื้อหา

บลูทั้งค์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สำหรับบลูทั้งค์ที่เป็นโรคที่เกิดกับสัตว์กีบจำพวกสัตว์เคี้ยวเอื้อง ดูที่: โรคบลูทั้งค์

บลูทั้งค์
Tiliqua nigrolutea
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: กิ้งก่าและงู
วงศ์: Scincidae
วงศ์ย่อย: Egerniinae
สกุล: Tiliqua

Gray, 1825[1]
ชนิด

8 ชนิด ดูข้อความ

ชื่อพ้อง

Trachydosaurus

ลิ้นของบลูทั้งค์ที่เป็นสีน้ำเงิน

บลูทั้งค์ หรือ จิ้งเหลนลิ้นสีน้ำเงิน (อังกฤษ: Blue-tongued skink, Blue-tongued lizard; ชื่อย่อ: ฺBTS[2]) เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่า จำพวกจิ้งเหลนสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Tiliqua

บลูทั้งค์ เป็นจิ้งเหลนที่มีส่วนหัวใหญ่ เกล็ดเรียบลื่นมีความมัน แต่ลำตัวกลับป้อมสั้นอ้วนกลม หางสั้นป้อมกลมมน ระยางค์ขาทั้ง 4 ข้างสั้น มีลักษณะเด่นคือ มีลิ้นสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ

บลูทั้งค์ แพร่กระจายพันธุ์ในประเทศอินโดนีเซีย, นิวกินี, อิเรียนจายา, ออสเตรเลีย และเกาะทัสมาเนีย เป็นสัตว์ที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น แมลง, หอยทาก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น หนู

เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 2 ปี เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ตัวผู้จะกัดที่บริเวณคอของตัวเมียทำให้เกิดเป็นแผลได้ ขยายพันธุ์ด้วยการออกลูกเป็นตัวครั้งละประมาณ 6-8 ตัว ขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 45 เซนติเมตร

บลูทั้งค์ เป็นสัตว์เลื้อยคลานอีกประเภทหนึ่งที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลายหรือสัตว์แปลก ๆ ซึ่งสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้วในปัจจุบัน การเลี้ยงบลูทั้งค์จะต้องการแสงยูวีน้อยกว่ากิ้งก่าจำพวกอื่น ๆ สามารถเลี้ยงได้โดยการให้อาหารสำเร็จรูปแบบกระป๋องของทั้งสุนัขและแมวผสมกัน และผสมแคลเซียมเข้าไป และมีน้ำให้อยู่เสมอ[2]

บลูทั้งค์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ชนิด และยังสามารถแบ่งออกเป็นชนิดย่อย ๆ ต่าง ๆ ได้มากมาย ได้แก่

[4]

นอกจากนี้แล้ว บลูทั้งค์ ยังเชื่อว่าเป็นกิ้งก่าที่ก่อให้เกิดความสับสนจนกลายเป็นความเชื่อว่าเป็น สึจิโนโกะ (ญี่ปุ่น: ツチノコ) สัตว์ประหลาดรูปร่างคล้ายงูหรือกิ้งก่าตัวอ้วน ๆ แต่ไม่มีขาในประเทศญี่ปุ่น[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Gray, J.E. (1825). A synopsis of the genera of reptiles and Amphibia, with a description of some new species. Annals of Philosophy 10:193—217. p. 201
  2. 2.0 2.1 บลูทั้งค์...จิ้งเหลนลิ้นน้ำเงิน สัตว์บ่งชี้..หลากหลายชีวภาพ จากไทยรัฐ
  3. Austin, J.J. & Arnold, E.N. (2006): Using ancient and recent DNA to explore relationships of extinct and endangered Leiolopisma skinks (Reptilia: Scincidae) in the Mascarene islands. Molecular Phylogenetics and Evolution 39(2): 503–511. doi:10.1016/j.ympev.2005.12.011 (HTML abstract)
  4. Bull, C.M. (1988): Mate fidelity in an Australian lizard Trachydosaurus rugosus (Scincidae). Copeia 1987(3): 749-757.
  5. Flashback: 100 Million Yen For Tsuchinoko

ข้อมูล

[แก้]
  • Austin, J.J. & Arnold, E.N. (2006). Using ancient and recent DNA to explore relationships of extinct and endangered Leiolopisma skinks (Reptilia: Scincidae) in the Mascarene islands. Molecular Phylogenetics and Evolution 39(2): 503–511. doi:10.1016/j.ympev.2005.12.011 (HTML abstract)
  • Bull, C.M. (1988). Mate fidelity in an Australian lizard Trachydosaurus rugosus (Scincidae). Copeia 1987(3): 749-757.
  • Bull, C.M. (1990). Comparison of displaced and retained partners in a monogamous lizard Tiliqua rugosa. Australian Wildlife Research 17: 135-140.
  • Valentic, R.A. (1996). A prey record of the Eastern Blue-tongue Tiliqua scincoides for the common brown snake Pseudonaja textilis. Monitor 8(3): 155.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]