บริการห้องสมุดสาธารณะนูนาวุต
บริการห้องสมุดสาธารณะนูนาวุต | |
---|---|
ᓄᓇᕗᒻᒥ ᐅᖃᓕᒫᒐᖃᕐᕕᓕᕆᔨᑦ Nunavut Public Library Services Nunavut Nunalaani Taiguuliqiviingit Services des bibliothèques publiques du Nunavut | |
ประเภท | บริการห้องสมุดสาธารณะในภูมิภาคกิคิกตาลุก, คิแวลิก, และ คิตัคมายูต ในดินแดนนูนาวุต |
สาขา | 10 |
การเก็บรวบรวม | |
รายการที่เก็บรวบรวม | หนังสือ, หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, ดนตรี, ซีดี, วารสาร, แผนที่, จดหมายเหตุลำดับวงศ์ตระกูล, นามานุกรมธุรกิจ, ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น |
เว็บไซต์ | Nunavut Public Library Services website |
บริการห้องสมุดสาธารณะนูนาวุต (อังกฤษ: Nunavut Public Library Services (NPLS); อินุกติตุต: ᓄᓇᕗᒻᒥ ᐅᖃᓕᒫᒐᖃᕐᕕᓕᕆᔨᑦ; Inuinnaqtun: Nunavut Nunalaani Taiguuliqiviingit; ฝรั่งเศส: Services des bibliothèques publiques du Nunavut (SBPN)) เป็นระบบห้องสมุดสาธารณะที่ให้บริการประชาชนในดินแดนนูนาวุตของประเทศแคนาดา มีห้องสมุดที่ให้บริการเป็นส่วนหนึ่งของบริการห้องสมุดสาธารณะนูนาวุตในสามภูมิภาค ได้แก่ภูมิภาคกิคิกตาลุก, คิแวลิก, และคิตัคมายูต
บริการ
[แก้]บริการข้อมูลและเอกสารอ้างอิง, การเข้าถึงฐานข้อมูลฉบับเต็ม, ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน, การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต, บริการให้คำแนะนำแก่ผู้อ่าน, โปรแกรมสำหรับเด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่
สิ่งสะสม
[แก้]ห้องสมุดที่ประกอบในบริการห้องสมุดสาธารณะนูนาวุต ให้บริการสื่อสิ่งพิมพ์แบบดั้งเดิม เช่น หนังสือและวารสาร ตลอดจนทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์บนคอมพิวเตอร์ ภาพยนตร์เพื่อการศึกษาและภาพยนตร์เชิงพาณิชย์ ดีวีดี และสื่อบันทึกเสียง
เช่นเดียวกับห้องสมุดสาธารณะอื่น ๆ บริการห้องสมุดสาธารณะนูนาวุต มีการสร้างบันทึกรายการจากแหล่งภายนอก ซึ่งบันทึกรายการของห้องสมุดจะสร้างขึ้นในรูปแบบ MARC (Machine Readable Cataloguing) โดยศูนย์บริการห้องสมุดในเมืองคิตเชเนอร์ รัฐออนแทรีโอ[1] เมื่อรายการต่าง ๆ มาถึงสำนักงานใหญ่ของ NPLS ในเมืองเบเกอร์เลค บันทึกรายการของห้องสมุดจะถูกนำเข้าระบบรายการออนไลน์ และส่งทางไปรษณีย์เวียนไปยังห้องสมุดในเครือข่าย[2]
สามารถค้นหาสิ่งสะสมของบริการห้องสมุดสาธารณะนูนาวุตได้ทางออนไลน์ โดยสามารถเลือกค้นหาได้ตั้งแต่การค้นหาด้วยคำสำคัญพื้นฐานไปจนถึงการค้นหาขั้นสูง[3]
บริการชุมชนและการจัดโปรแกรม
[แก้]บริการห้องสมุดสาธารณะนูนาวุตให้บริการชุมชนโดยให้บริการข้อมูลแบบดั้งเดิมและแบบสร้างสรรค์ ห้องสมุดให้ยืมทรัพยากร สร้างโปรแกรมชุมชน เสนอทรัพยากรสิ่งพิมพ์รายคาบ และจัดโปรแกรมการศึกษา
ตัวอย่างของโปรแกรมที่เน้นชุมชน เช่น ชมรมการบ้านหลังเลิกเรียนที่ห้องสมุดชุมชนเมย์ ฮาคองัค (May Hakongak) ซึ่งตั้งอยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายคีลินิค (Kiilinik) ในชุมชนเคมบริดจ์เบย์[4][5] ชมรมนี้ดำเนินการโดยอาสาสมัครทั้งหมด โดยให้โอกาสเด็ก ๆ ได้ทำโครงการของโรงเรียนและงานศิลปะภายใต้คำแนะนำของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โปรแกรมนี้เริ่มต้นขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนที่ต้องการการดูแลหลังเลิกเรียนในราคาประหยัด อย่างไรก็ตามจากงานวิจัยชิ้นหนึ่งแสดงว่า โปรแกรมนี้เป็นมากกว่านั้นโดยไม่เพียงแต่ช่วยปรับปรุงอัตราการรู้หนังสือในหมู่เยาวชนชาวอินูอิตเท่านั้น แต่ยังต่ออายุประเพณีอิลิปปาลิอางินนาร์นิก (Ilippallianginnarniq) ซึ่งเป็นแนวทางการเรียนรู้ข้ามรุ่นของชาวอินูอิตอีกด้วย[6]
ความมุ่งมั่นต่อเทคนิคการสื่อสารแบบดั้งเดิมยังเห็นได้จากการสร้างกระโจมอ่านหนังสือของห้องสมุดชุมชนเมย์ ฮาคองัค กระโจมดังกล่าวมีภาพวาดโดยศิลปินในท้องถิ่นและอาสาสมัคร ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นสถานที่คล้ายกับแหล่งพบปะของผู้สูงอายุ กระโจมดังกล่าวใช้เพื่อส่งเสริมการเล่านิทานและการอ่าน และยังใช้ในระหว่างงานชุมชนอีกด้วย[7]
ห้องสมุดสาขาเมย์ ฮาคองัค ยังอำนวยความสะดวกในการสร้างศูนย์ประวัติศาสตร์มุขปาฐะ ซึ่งผู้เยี่ยมชมสามารถฟังสมาชิกในชุมชนเล่าประสบการณ์ของตนเองได้ การสัมภาษณ์ดำเนินการ ถอดเสียง แก้ไข และแปลโดยสมาชิกในชุมชนทุกวัย ทำให้เป็นโครงการข้ามรุ่น เมื่อโครงการเสร็จสิ้นและศูนย์ถูกสร้างขึ้น ห้องสมุดพบว่าอัตราการหมุนเวียนเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยมีการยืม 300 ทรัพยากรต่อเดือนเป็นมากกว่า 1,000 ทรัพยากร การสัมภาษณ์บางส่วนเหล่านี้ซึ่งมีให้บริการในภาษาอินุอินนาคตุนและแปลเป็นภาษาอังกฤษ จะถูกจัดเก็บเป็นไฟล์เอ็มพี3 และสามารถเข้าถึงได้ทางอินเทอร์เน็ตผ่านเว็บไซต์ของห้องสมุด[8][9]
ห้องสมุดร้อยปีแห่งเมืองอิคาลูอิตมีโปรแกรมต่าง ๆ มากมายที่เน้นด้านการรู้หนังสือ ห้องสมุดแห่งนี้ร่วมมือกับกลุ่มต่าง ๆ เช่น สภาการรู้หนังสือนูนาวุต และเทศบาลเมืองอิคาลูอิต โดยจัดค่ายฤดูร้อนเพื่อการอ่านหนังสือและกิจกรรมเล่านิทาน ห้องสมุดส่งเสริมการบริการสาธารณะโดยเสนอโอกาสให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้รับหน่วยกิตเพื่อสำเร็จการศึกษาโดยแลกกับการทำงานห้องสมุด[10]
ห้องสมุดดอนัลด์ ซูลุค (Donald Suluk) ทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับนักเรียนในหมู่บ้านอาร์วีอัต (Arviat) ตัวอย่างคือการสนับสนุนที่มอบให้นักเรียนที่โรงเรียนประถมศึกษาเลวี อังมัค อิลินิอาร์วิอาลาก (Levi Angmak Iliniarvialaaq) โดยช่วยเหลือให้นักเรียนทำการสร้างเว็บไซต์ขึ้นเอง คือเว็บไซต์ อาร์วีอัต อิกลู (Arviat Iglu)[11] มีการสาธิตการสร้างอิกลู (igloo) และการสัมภาษณ์ปากเปล่าเกี่ยวกับประวัติของผู้สูงอายุซึ่งจัดทำโดยนักเรียน โครงการนี้รวมเอาความสำคัญหลายประการของชุมชนไว้ด้วยกัน นอกจากการเน้นย้ำและให้เกียรติทักษะแบบดั้งเดิมแล้ว เด็ก ๆ ยังได้เรียนรู้วิธีการทำงานกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ อีกด้วย[12]
บริการห้องสมุดสาธารณะนูนาวุตในหลายแห่งทำหน้าที่เป็นพื้นที่โครงการเข้าถึงชุมชน (Community Access Program; CAP) โปรแกรมซึ่งได้รับเงินทุนจากรัฐบาลดินแดนนูนาวุต มีเป้าหมายเพื่อให้ชาวแคนาดาเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ฟรี นอกจากการจัดหาคอมพิวเตอร์แล้ว ห้องสมุดยังช่วยให้ผู้ใช้เรียนรู้ทักษะในการใช้งานเว็บและการค้นหาข้อมูล โครงการนี้มีความสำคัญโดยเฉพาะในการทำให้ผู้ใหญ่ในชุมชนสามารถมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีหลักฐานว่าการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาในห้องสมุดทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรอื่น ๆ ได้ ในปี พ.ศ. 2544 ห้องสมุดร้อยปีแห่งเมืองอิคาลูอิตได้สังเกตว่าจำนวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่เพิ่มขึ้นทำให้การหมุนเวียนทรัพยากรเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน[13]
การระดมทุน
[แก้]บริการห้องสมุดสาธารณะนูนาวุตได้รับเงินทุนหลักจากกรมวัฒนธรรมและมรดกของดินแดนนูนาวุต แต่ยังได้สร้างความสัมพันธ์กับองค์กรเอกชนและหน่วยงานสาธารณะหลายแห่ง ที่ให้ทุนสนับสนุนโครงการสำคัญ ๆ อีกด้วย
สาขา
[แก้]ห้องสมุดที่เป็นส่วนหนึ่งของบริการห้องสมุดสาธารณะนูนาวุตมีอยู่ใน 3 ชุมชน ได้แก่ภูมิภาคกิคิกตาลุก, คิแวลิก, และคิตัคมายูต
ภูมิภาคกิคิกตาลุก
[แก้]ได้แก่ ห้องสมุดชุมชนไคลด์ริเวอร์ (Clyde River), ห้องสมุดร้อยปีในเมืองอิคาลูอิต, ห้องสมุดกิมิรูวิคในชุมชนพางนิคตูค (Pangnirtung), ห้องสมุดรีเบ็คคา พี. อิดลูอุต (Rebecca P. Idlout) ในชุมชนพอนด์อินเล็ต (Pond Inlet)
ภูมิภาคคิแวลิก
[แก้]ได้แก่ ห้องสมุดดอนัลด์ ซูลุค (Donald Suluk) ในชุมชนอาร์วีอัต (Arviat), ห้องสมุดจอห์น อายารูอัก (John Ayaruaq) ในชุมชนแรงกินอินเล็ต (Rankin Inlet)
ภูมิภาคคิตัคมายูต
[แก้]ได้แก่ ห้องสมุดชุมชนเมย์ ฮาคองัค (May Hakongak) ในชุมชนเคมบริดจ์เบย์ (Cambridge Bay), ห้องสมุดชุมชนคุกลุคตุค (Kugluktuk)
ประวัติ
[แก้]นูนาวุตได้รับการจัดตั้งเป็นดินแดนของแคนาดาในปี พ.ศ. 2542 โดยแยกออกจากดินแดนนอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ (NWT) บริการห้องสมุดสาธารณะนูนาวุตดำเนินการเป็นส่วนหนึ่งของแผนกมรดกในกรมวัฒนธรรมและมรดกของนูนาวุต
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 NPLS ได้เปิดสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ที่ชุมชนภูมิภาคคิแวลิกในเทศบาลเบเกอร์เลค[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Welcome to the Library Services Centre". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 มกราคม 2013.
- ↑ Email received from Taryl Gura, NPLS Librarian เมื่อ 19 ตุลาคม 2006.
- ↑ "Welcome to the Nunavut Public Libraries' Online Catalogue..."
- ↑ "Exhibits". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 ตุลาคม 2006.
- ↑ Crockatt & Smythe (2003)
- ↑ Crockatt & Smythe (2003), p. 2
- ↑ Crockatt & Smythe (2003), p. 9
- ↑ "Elders Display". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 สิงหาคม 2007.
- ↑ Crockatt & Smythe (2003), p. 7
- ↑ "Literacy Programs that Work: Sharing Knowledge and Experience". Nunavut Literacy Council. 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 ตุลาคม 2007.
- ↑ "The Arviat Iglu Website". Canadian National Digital Heritage Index. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2023.
- ↑ Bafile, Cara (2001). "Students Use Technology to Preserve Inuit Heritage". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มีนาคม 2016.
- ↑ Hill, Miriam. "Internet Access Brings Surfers to Library". Nunatsiaq News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2006. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2001.
- ↑ "About Nunavut Public Libraries". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2006.
บรรณานุกรม
[แก้]- Crockatt, Kim; Smythe, Suzanne (2003). Building Culture and Community: Family and Literacy Partnerships in Canada's North (PDF). Nunavut Literacy Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 เมษายน 2015. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2015.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ – บริการห้องสมุดสาธารณะนูนาวุต
- เว็บไซต์ – กรมวัฒนธรรม ภาษา ผู้สูงอายุ และเยาวชน นูนาวุต (CLEY)