บริการสุขภาพในประเทศอินโดนีเซีย
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บริการสุขภาพในประเทศอินโดนีเซียถือว่าได้พัฒนาขึ้นอย่างมากในทศวรรษที่ผ่านมา งบประมาณด้านบริการสุขภาพของรัฐบาลคิดเป็น 3.1% ของจีดีพีรวมในปี 2018[1]
การจัดการ
[แก้]ข้อมูลจากปี 2019 ระบุว่าปัจจุบันมีโรงพยาบาล 2,813 แห่งในประเทศอินโดนีเซีย ในจำนวนนี้ 63.5% เป็นโรงพยาบาลที่บริหารงานโดยเอกชน[2] ในปี 2012 ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซีย ระบุว่าประเทศอินโดนีเซียมีโรงพยาบาลจำนวน 2,454 แห่งทั่วประเทศ และจำนวนเตียง 305,242 เตียง หรือคิดเป็น 0.9 เตียงต่อประชากร 1,000 คน และโรงพยาบาลส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตเมือง (urban areas)[3][4] ข้อมูลจากธนาคารโลกเมื่อปี 2012 ระบุว่ามีจำนวนแพทย์ 0.2 คนต่อประชากร 1,000 คน และพยาบาลหรือผู้ผดุงครรภ์ (midwives) 1.2 คนต่อประชากร 1,000 คนในประเทศอินโดนีเซีย[4] จากจำนวนโรงพยาบาล 2,454 แห่งทั่วประเทศ มีโรงพยาบาล 20 แห่งที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการร่วมรับรองมาตรฐานสถานพยาบาลสากล (Joint Commission International - JCI) ในปี 2015[5] นอกจากโรงพยาบาลแล้ว ยังมีปูสเกสมาส (Puskesmas) หรือศูนย์สุขภาพชุมชนจำนวน 9,718 แห่งของรัฐบาลที่ดูแลโดยกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งสามารถครอบคุลมบริการสุขภาพและการให้วัคซีนแก่ประชาชนในระดับตำบล (sub-district level) ซึ่งมีทั้งบริการทางการแพทย์แบบสมัยใหม่และแบบดั้งเดิม
ระบบสุขภาพชุมชนของประเทศอินโดนีเซียนั้นบริหารโดยแบ่งออกเป็นสามระดับ โดยมีปูสเกสมาส (Puskesmas) หรือศูนย์สุขภาพชุมชนอยู่ระดับบนสุด, รองลงมาในระดับที่สองคือ ศูนย์สุขภาพขนาดย่อม (Health Sub-Centres) และมีจุดบริการร่วมระดับหมู่บ้าน (Village-Level Integrated Posts) เป็นบริการในระดับสาม[6]
ประกันสุขภาพถ้วนหน้า
[แก้]ในปี 2010 ประชากรอินโดนีเซียประมาณ 56% ที่มีประกันสุขภาพคุ้มครอง ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นข้าราชการของรัฐ, ผู้มีรายได้ต่ำ และผู้ทำประกันสุขภาพกับบริษัทเอกชนด้วยตนเอง มีการตั้งเป้าที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 100% ของประชากรภายในปี 2019 ด้วยการดำเนินระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (universal social health insurance coverage) ซึ่งเริ่มต้นในปี 2014 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การบริการทางการแพทย์โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในโณงพยาบาลระดับ 3[7]
การบริหารบริการสุขภาพในประเทศอินโดนีเซียนั้นดั้งเดิมแล้วเป็นแบบแยกส่วน (fragmented) โดยมีผู้ให้บริการประกันสุขภาพของเอกชนสำหรับผู้ที่มีทุนทรัพย์ ควบคู๋ไปกับประกันสุขภาพถ้วนหน้าสาธารณะขั้นพื้นฐาน สำหรับผู้ยากไร้อนาถาในสังคม และกิจกรรมของเอ็นจีโอในพื้นที่พิเศษที่ไม่ได้รับการครอบคลุมไว้ในประกันสุขภาพของสาธารณะหรือเอกชน ในเดือนมกราคม 2014 รัฐบาลได้ริเริ่มระบบ จามินาน เกเซฮาตาน เนซันนาล (Jaminan Kesehatan Nasional; JKN) ประกันสุขภาพถ้วนหน้าของรัฐบาล เป็นที่คาดการณ์ว่าค่าใช้จ่ายส่วนการบริการสุขภาพจะเพิ่มขึ้น 12% ต่อปี และจะอยู่ที่ 46 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2019[8] ภายใต้ระบบ JKN ประชาชนอินโดนีเซียทุกคนจะได้รับการครอบคลุมค่าการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐและเอกชนบางส่วนที่เข้าร่วมโครงการ อย่างไรก็ตามโครงการนี้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากถึงความกระเสือกกระสนที่เกินจริง (over-ambitious), ขาดความสามารถในการบริหาร (lack of competency in administration) และล้มเหลวในการเข้าถึงความต้องการการปรับปรุงสาธารณูปโภคทางการแพทย์ในพื้นที่ทุรกันดาร (failure to address the need for improving healthcare infrastructure in remote areas) หน่วยงานที่บริหารโครงการนี้โดยตรง บาดาน ปันเยเลงงารา จามินาน โซเซียล เกเซฮาตาน (Badan Penyelenggara Jaminan Sosial Kesehatan; BPJS) หน่วยงานด้านประชาสังคมของประเทศระบุว่า JKN บรรลุเป้าหมายจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการที่ตั้งไว้ในปีแรก โดยในปีแรกมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมประกันสุขภาพนี้ 133.4 ล้านคน เทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 121.6 คน ในผลสำรวจอิสระพบว่าความพึงพอใจจากการได้รับบริการอยู่ที่ 81%, ความตระหนักหรือรับรู้ถึง JKN อยู๋ที่ 95% และข้อตำหนิต่าง ๆ ได้รับการแก้ไขปรับปรุงภายในหนึ่งวันครึ่งโดยเฉลี่ย JKN นั้นตั้งเป้าว่าจะบริหารงานเป็นขั้น ซึ่งขั้นเริ่มแรกได้เริ่มต้นขึ้นในเดือนมกราคม 2014 ที่ซึ่งประชากร 48% ได้เข้าร่วมโครงการ ข้อมูลเมื่อเดือนเมษายน 2018 มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้ว 195 ล้านคน (75% ของประชากร)[9] เป็นที่ตั้งเป้าไว้ว่าประชากรทั้งหมดทุกคนจะอยู่ภายใต้ประกันสุขภาพนี้ภายในปี 2019[10][11]
ในปี 2016 โครงการของ BPJS ขาดทุนมากกว่าหกล้านล้านรูปียะฮ์อินโดนีเซีย และเพิ่มสูงเป็น 32 ล้านล้านในระยะเวลาเพียงสามปี[12] การรับมือต่อปัญหานี้ของรัฐบาลด้วยการปรับนโยบาย ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการผลักภาระไปยังผู้มีรายได้ปานกลางไปถึงต่ำ[13][14][15]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "WHO - Indonesia". Who.int. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
- ↑ "Health Minister Vows to Fast-Track Private Hospital Permits". Jakarta Globe. สืบค้นเมื่อ 6 November 2019.
- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-12. สืบค้นเมื่อ 2015-11-15.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ 4.0 4.1
"Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-09. สืบค้นเมื่อ 2015-11-15.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "JCI Indonesia". Jointcommissioninternational.org. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
- ↑ "Indonesia - HEALTH". Countrystudies.us. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
- ↑ "Analysis: Indonesia: The health of the nation". The Jakarta Post. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
- ↑ Britnell, Mark (2015). In Search of the Perfect Health System. London: Palgrave. p. 47. ISBN 978-1-137-49661-4.
- ↑ Hereyanto, Devina (7 April 2018). "Q&A BPJS Kesehatan, health for all Indonesians". Thejakartapost.com. สืบค้นเมื่อ 10 May 2018.
- ↑ Razavi, Lauren (15 May 2015). "Indonesia's universal health scheme: one year on, what's the verdict?". Theguardian.com. สืบค้นเมื่อ 15 May 2015.
- ↑ "Indonesia launches world's largest health insurance system". Christian Science Monitor. 10 March 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
- ↑ https://nasional.kompas.com/read/2019/09/08/22350731/tunggakan-iuran-capai-15-triliun-peserta-mandiri-bpjs-kesehatan-diharapkan?page=all
- ↑ https://kumparan.com/kumparannews/bpjs-watch-soal-kenaikan-iuran-bukan-solusi-justru-membebani-rakyat-1sAtBegRilG
- ↑ https://nasional.okezone.com/read/2019/09/07/337/2101757/kenaikan-iuran-bpjs-kesehatan-solusi-mudah-yang-membebani-rakyat
- ↑ https://www.suara.com/news/2019/09/06/190250/soal-bpjs-naik-gerindra-mentang-mentang-menang-sekarang-bebani-rakyat