ข้ามไปเนื้อหา

บรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนภูมิต้นไม้แบบวงกลม แสดงวงศ์วานวิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิตระบบเซลล์ โดยแบ่งตามอาณาจักรและโดเมน สีม่วงคือแบคทีเรีย สีเทาเข้มคืออาร์เคีย สีน้ำตาลคือยูแคริโอต โดยยูแคริโอตยังแบ่งออกเป็น 5 อาณาจักรคือ สัตว์(แดง) ฟังไจ(น้ำเงิน) พืช(เขียว) โครมาลวีโอลาตา(น้ำทะเล) และ โพรทิสตา(เหลืองทอง) โดยมีจุดศูนย์กลางคือ บรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก (LUCA)

บรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุดของสิ่งมีชีวิตบนโลก (อังกฤษ:last universal common ancestor; ตัวย่อ: LUCA) หมายถึง สิ่งมีชีวิตรุ่นล่าสุด ที่เป็นบรรพบุรุษร่วมกันของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกนี้ คล้ายคลึงกับ บรรพบุรุษร่วมที่ใกล้กันที่สุด[1] (MRCA) ซึ่งหมายความถึงสับเซตใดๆของ LUCA ขณะที่ LUCA เองมีความหมายครอบคลุมถึงทุกเซตทั้งหมด

ข้อยกเว้น

[แก้]

แม้ LUCA จะมีความหมายครอบคลุมถึงบรรพบุรุษของทุกชีวิตอันอาศัยบนโลกใบนี้ แต่ความหมายในตัวของ LUCA ไม่ได้หมายความถึง สิ่งมีชีวิตชนิดแรกที่อาศัยอยู่บนโลก หรือ สิ่งมีชีวิตขั้นพื้นฐานใด ๆ ซึ่งเชื่อว่าอาศัยอยู่ก่อนหน้า

ประวัติ

[แก้]

ในขั้นแรกเมื่อมีการนิยามถึง LUCA นั้น เป็นช่วงที่นักอนุกรมวิธาน ได้แยกอาร์เคีย ออกจากอาณาจักรมอเนอรา เนื่องจากเชื่อว่าอาร์คีแบคทีเรีย มีวิวัฒนาการแตกต่างไปจากยูแบคทีเรีย และดูใกล้เคียงกับยูแคริโอตมากกว่า จึงแยกอาณาจักรมอเนอราเป็นสองส่วน คือ อาณาจักรอาร์คีแบคทีเรีย และอาณาจักรยูแบคทีเรีย ซึ่งก็ตั้งเป็นโดเมนอาร์เคีย และโดเมนแบคทีเรีย ซึ่งโดเมนอาร์เคีย และยูแคริโอต ก็ถูกจับรวมกลุ่มกันในชื่อของ นีโอมูรา จนในที่สุดแล้ว LUCA จึงเป็นสมมติฐานที่ระบุถึงสิ่งมีชีวิตอันเป็นบรรพบุรุษร่วม (common ancestor) ของนีโอมูรา และแบคทีเรีย

เป็นไปได้ว่าปัจจุบัน LUCA ได้สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้แล้ว แต่สิ่งที่ยังคงอยู่คือลูกหลายอันเป็นมรดกตกทอดทางพันธุกรรม อย่างไรก็ตามความเชื่อนี้ถือเป็นข้อปฏิเสธกับทฤษฎีการส่งผ่านพันธุกรรมแนวราบ ในเรื่องนี้ คาร์ล เวอร์ส นักจุลชีววิทยาชาวอเมริกันเชื่อว่า ไม่มีสิ่งมีสิ่งมีชีวิตใด ที่ส่งต่อพันธุกรรมโดยสมบูรณ์มาจาก LUCA แต่เขาเชื่อว่า สิ่งมีชีวิตบนโลกในปัจจุบันนี้ทุกชนิด ต่างก็ได้รับการพัฒนาการ จากสังคมของสิ่งมีชีวิตโบราณด้วยกันทั้งสิ้น[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]