น้ำมันโฮโฮบา
น้ำมันโฮโฮบา (อังกฤษ: jojoba oil) เป็นน้ำมันที่ได้จากเมล็ดต้นโฮโฮบา (Simmondsia chinensis) เป็นไม้พุ่มที่มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของรัฐแอริโซนาและรัฐแคลิฟอร์เนีย และตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเม็กซิโก น้ำมันโฮโฮบาที่ไม่ผ่านการกลั่นจะมีสีเหลืองทอง มีกลิ่นคล้ายถั่ว เมื่อผ่านการกลั่นจะไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีจุดหลอมเหลวประมาณ 10 °ซ.[1] จุดเดือดที่ประมาณ 225 °ซ. และจุดวาบไฟที่ประมาณ 290 °ซ.[2]
น้ำมันโฮโฮบามีองค์ประกอบทางเคมีหลากหลาย มีกรด 11-ไอโคซีโนอิกปริมาณสูง (70%) และมีกรดอีรูซิกและกรดโอเลอิก[3] น้ำมันโฮโฮบามีค่าไอโอดีนประมาณ 80[4] และมีค่าดัชนีความเสถียรออกซิเดชันประมาณ 60 ซึ่งหมายความว่าสามารถเก็บไว้ได้นาน เนื่องจากในน้ำมันมีปริมาณไตรกลีเซอไรด์น้อย[5]
น้ำมันโฮโฮบานิยมใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง เช่น แชมพู ครีมนวดผม โลชัน มอยส์เจอไรเซอร์[6] น้ำมันโฮโฮบาสามารถรับประทานได้ แต่ไม่ให้พลังงานเนื่องจากร่างกายไม่สามารถย่อยได้และอาจก่อให้เกิดภาวะมีไขมันในอุจจาระมากเกิน (steatorrhea)[7] มีงานวิจัยรายงานว่าน้ำมันโฮโฮบามีคุณสมบัติต้านเชื้อจุลินทรีย์[8] และมีการศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นไบโอดีเซล[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "AOCS Method Cc 18-80". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-13. สืบค้นเมื่อ 2006-10-13.
- ↑ "Jojoba oil -MSDS" (PDF). Purcell Jojoba. สืบค้นเมื่อ May 14, 2019.
- ↑ "A Comparison of Meadowfoam Seed Oil and Jojoba Oil" (PDF). Elementis Specialties. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-05-17. สืบค้นเมื่อ May 14, 2019.
- ↑ "AOCS Method Cd 1-25". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-13. สืบค้นเมื่อ 2006-10-13.
- ↑ "AOCS Method Cd 12b-92". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-13. สืบค้นเมื่อ 2006-10-13.
- ↑ Watson, Kathryn (September 5, 2018). "13 Reasons to Add Jojoba Oil to Your Skin Care Routine". Healthline. สืบค้นเมื่อ May 14, 2019.
- ↑ Umaiyal, M. Pooja; Gayathri, R.; Vishnupriya, V.; Geetha, R. V. (2016). "Anti Microbial Activity of Jojoba Oil against Selected Microbes: An Invitro Study" (PDF). Journal of Pharmaceutical Sciences and Research. 8 (6): 528–529. สืบค้นเมื่อ May 14, 2019.
- ↑ Al-Ghamdi, Ahmed; Elkholy, Thanaa; Abuhelal, Shahd; Al-Abbadi, Hatim; Qahwaji, Dina; Khalefah, Nahlaa; Sobhy, Hanaan; Abu-Hilal, Mohammad (2019). "Antibacterial and Antifungal Activity of Jojoba Wax Liquid (Simmondsia chinensis)" (PDF). Pharmacognosy Journal. 11 (1). สืบค้นเมื่อ May 14, 2019.
- ↑ Kale, Pradeep T.; Ragit, Satish S. (2016). "Preparation Process of Jojoba Biodiesel and Analysis of Fuel Testing: A Review". Global Journal of Engineering Science and Researches. 3 (4): 177–182. สืบค้นเมื่อ May 14, 2019.