นิโคเดมัส
นิโคเดมัส | |
---|---|
นิโคเดมัสช่วยนำพระศพของพระเยซูลงจากกางเขน (การอัญเชิญพระศพลงจากกางเขน โดยมีเกลันเจโล) | |
ผู้ปกป้องพระเยซู | |
เกิด | กาลิลี |
เสียชีวิต | ยูเดีย |
นับถือ ใน | |
การประกาศเป็นนักบุญ | Pre-Congregation |
วันฉลอง | หลากหลาย: วันอาทิตย์ที่ 3 ของปัสกา, 2 สิงหาคม, 3 สิงหาคม, 31 สิงหาคม |
สัญลักษณ์ | ฟาริสี |
องค์อุปถัมภ์ |
|
นิโคเดมัส (อังกฤษ: Nicodemus; /nɪkəˈdiːməs/; กรีก: Νικόδημος, ทับศัพท์ Nikódēmos; อราเมอิกแบบจักรวรรดิ: 𐡍𐡒𐡃𐡉𐡌𐡅𐡍, อักษรโรมัน: Naqdīmūn; ฮีบรู: נַקְדִּימוֹן, อักษรโรมัน: Naqdīmōn) เป็นบุคคลในพันธสัญญาใหม่ที่ได้รับการนับถือในฐานะนักบุญในประเพณีศาสนาคริสต์จำนวนหนึ่ง นิโคนิมัสเป็นฟาริสีและเป็นสมาชิกของสภาซันเฮดรินผู้สนใจคำสอนของพระเยซู นิโคเดมัสไม่ถูกกล่าวถึงในพระวรสารสหทรรศน์ และถูกกล่าวถึงเฉพาะในพระวรสารนักบุญยอห์น เป็นกรณีเดียวกับลาซารัส[3] นิโคเดมัสมีบทบาทมากกว่าครึ่งบทในบทที่ 3 และถูกกล่าวถึงอีกในบทที่ 7 และสุดท้ายกล่าวถึงบทที่ 19
ในธรรมเนียมของคริสจักรโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ถือว่านิโคเดมัสเป็นสาวกของพระเยซูอย่างลับ ๆ โดยมีพื้นฐานจากเรื่องเล่าในยอห์น 19 ในพระวรสารนักบุญยอห์นไม่ได้กล่าวอย่างชัดเจนถึงความเป็นสาวกของนิโคเดมัส บางครั้งนิโคเดมัสได้รับการเรียกว่า "ผู้ปกป้องพระเยซู" เนื่องจากนิโคเดมัสยืนกรานกับพวกฟาริสีด้วยกันว่าต้องฟังพระเยซูก่อนการพิพากษาตามกฎหมายของยิว[4]
นักวิชาการบางคนระบุว่านิโคเดมัสในพันธสัญญาใหม่เป็นคนเดียวกันกับนิโคเดมัสบุตรกูเรียนซึ่งปรากฏในประวัติศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 แต่นักวิชาการคนอื่น ๆ เห็นอายุและยุคสมัยของบุคคลสองคนนี้ไม่สอดคล้องกันจึงไม่น่าเป็นคนเดียวกัน งานเขียนนอกสารบบที่เขีบนในชื่อของนิโคเดมัสคือพระวรสารนักบุญนิโคเดมัส เขียนขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 4 และเนื้อหาส่วนใหญ่นำมาจากกิจการของปีลาตที่เขียนขึ้นก่อนหน้าซึ่งเล่าถึงการเสด็จสู่แดนผู้ตาย[5]
คลังภาพ
[แก้]-
พระเยซูและนิโคเดมัส โดย Crijn Hendricksz
-
นิโคเดมัสกับพระศพของพระคริสต์ โดยมีอัครทูตยอห์นอยู่ทางขวา และมารีย์อยู่ทางซ้าย ภาพวาดโดย Cima da Conegliano
-
การบรรจุพระศพ ภาพวาดโดยปีเอโตร เปรูจีโน ในภาพมีนิโคเดมัสและโยเซฟชาวอาริมาเธียอยู่ข้างพระศพของพระเยซู
-
นิโคเดมัส (ขวา) ทูลพระเยซู โดย William Brassey Hole
-
นิโคเดมัสเข้าเฝ้าพระคริสต์ โดย Henry Ossawa Tanner
อ้างอิง
[แก้]- ↑
- Moore, Russell (3 January 2023). "Read Like Nicodemus". Christianity Today (ภาษาอังกฤษ).
- "A Curious Man (John 3:1-17)". Christian Century. May 14, 1997. p. 475 – โดยทาง Religion Online.
- ↑ "Saints Joseph of Arimathea and Nicodemus". Franciscan Media. 31 August 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2023.
- ↑ Driscoll, James F. (1911). สารานุกรมคาทอลิก. Vol. 11. New York: Robert Appleton Company. . ใน Herbermann, Charles (บ.ก.).
- ↑
- Pancaro, Severino (1972). "The Metamorphosis of a Legal Principle in the Fourth Gospel. A Closer Look at Jn 7,51". Biblica. 53 (3): 340–361. ISSN 0006-0887. JSTOR 42610052.
- Pilch, John J. (March 14, 2021). "The world's darkness — Historical Cultural Context: Fourth Sunday of Lent Year B". Sunday SLU Liturgy. Saint Louis University.
- ↑ Reid, George J. (1907). สารานุกรมคาทอลิก. Vol. 1. New York: Robert Appleton Company. p. 111. . ใน Herbermann, Charles (บ.ก.).
อ่านเพิ่มเติม
[แก้]- "St. Nicodemus" in Butler's Lives of the Saints
- Cornel Heinsdorff: Christus, Nikodemus und die Samaritanerin bei Juvencus. Mit einem Anhang zur lateinischen Evangelienvorlage (Untersuchungen zur antiken Literatur und Geschichte, Bd. 67), Berlin/New York, 2003.