นิเวศน์ นันทจิต
นิเวศน์ นันทจิต | |
---|---|
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 | |
ก่อนหน้า | ศ.ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ |
ถัดไป | ศ.นพ.อาวุธ ศรีสุกรี (รักษาการ) |
ดำรงตำแหน่ง 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 – 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 | |
ก่อนหน้า | ศ.นพ.อาวุธ ศรีสุกรี (รักษาการ) |
ถัดไป | ศ.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 สิงหาคม พ.ศ. 2492 ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
ลายมือชื่อ | |
ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่[1][2]กรรมการ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และประธานมูลนิธิโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (สวนดอก) และได้รับคัดเลือกเป็นนักศึกษาเก่าดีเด่นสาขาบริหารองค์กรการศึกษาจากทางมหาวิทยาลัย ศ.คลินิก นพ.นิเวศน์ นันทจิตได้มีการผลักดันให้เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) โดยความร่วมมือกับทางไอบีเอ็มตั้งแต่ปี 2553[3]
ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[4]รองประธานกรรมการในคณะกรรมการบริหารกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย – เมียนมาร์ ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557 กรรมการมูลนิธิขาเทียม ใน สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และประธานคณะกรรมการอำนวยการ ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว [5]
ประวัติการศึกษา
[แก้]- พ.ศ. 2514 วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พ.ศ. 2517 แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (อายุรศาสตร์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2521 วุฒิบัตรแสดงความรู้หรือความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ แพทยสภา[6]
ตำแหน่งทางการบริหาร
[แก้]- พ.ศ. 2529-2531 ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายโรงพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พ.ศ. 2531-2533 ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พ.ศ. 2537-2541 รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พ.ศ. 2537-2541 รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
- พ.ศ. 2541-2545 รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พ.ศ. 2541-2545 ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
- พ.ศ. 2541-2545 ผู้อำนวยการสถานบริการสุขภาพพิเศษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พ.ศ. 2548-2552 นายกสมาคมนักศึกษาเก่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พ.ศ. 2549-2555 คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พ.ศ. 2549-2559 อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่[7]
- พ.ศ. 2561-ปัจจุบัน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผลงาน
[แก้]ในช่วงการดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่บริหารงานในช่วงปี พ.ศ. 2549-2555 ที่ผ่านมา ได้ประสานความร่วมมือภายในและภายนอกองค์กรอย่างกว้างขวาง สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และได้รับความร่วมมือจากบุคลากรภายในและภายนอกคณะเป็นอย่างดียิ่ง ทำให้องค์กรพัฒนาอย่างรวดเร็วในทุกด้าน ดังนี้
- ด้านการศึกษา รองศาสตราจารย์ นายแพทย์นิเวศน์ ได้เร่งพัฒนากระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา ทำให้ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา (QA) สูงมากกว่า 90% มาตลอด เป็นอันดับต้นของมหาวิทยาลัย และผลการสอบจากศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ศรว.) ของนักศึกษาแพทย์ โดยแพทยสภาดีขึ้นตามลำดับ มีผู้สอบได้ 100% สำหรับขั้นตอนที่ 3
- ด้านการวิจัย มีการสร้างบรรยากาศการวิจัยอย่างถาวร จัดหาทุนสนับสนุนงานวิจัย มีผลงานการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ และได้รับการอ้างอิงในระดับนานาชาติเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนและคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
- ด้านการบริการรักษาพยาบาล มีการพัฒนาองค์กรอย่างก้าวกระโดด ทั้งทางด้านความรวดเร็วในการให้บริการ และคุณภาพการรักษาพยาบาล มีการจัดหาเครื่องมือที่ทันสมัย จัดซื้อที่ดินและการก่อสร้างอาคารเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการให้บริการ การสร้างเครือข่ายการรักษาพยาบาล ทำให้เป็นโรงพยาบาลต้นแบบที่มีผู้มาศึกษาดูงานจำนวนมาก และจากการประเมินจากภายในและภายนอก ทำให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลต่างๆ ทั้งระดับประเทศและนานาชาติ
- ด้านโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้รับรางวัลชนะเลิศจากองค์การสหประชาชาติ ในสาขาการปรับปรุงการให้บริการ (Improving the delivery of service) โดยเป็น 1 ใน 8 ประเทศที่ได้รับรางวัล จากประมาณ 700 หน่วยงาน ที่ส่งเข้าประกวดจากทั่วโลก นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้
- ได้รับรางวัล Excellence Awards ของ Hospital Management of Asia 2011 เป็นรางวัลที่มอบให้กับโรงพยาบาลในเอเชียที่มีผลงานดีเด่น โรงพยาบาลมหารานครเชียงใหม่ ได้รับ Excellence Awards 2 รางวัล จากโครงการ “Improvement of Outpatient Service System by DigiCards” สาขา Facilities Improvement Project และโครงการ “Music therapy for physically disabled children” สาขา Corporate Social Responsibility (CSR)
- ด้านการเงิน ตลอดระยะเวลาที่รับผิดชอบในการบริหารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้บริหารจัดการสมัยใหม่ ทำให้ผลประกอบการเพิ่มสูงขึ้น ได้แสวงหาความร่วมมือและการสนับสนุนจากบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ ภายนอกคณะ ทำให้ได้รับความร่วมมือและได้รับเงินบริจาคสูงขึ้น[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2546 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[11]
- พ.ศ. 2542 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (นายนิเวศน์ นันทจิต)
- ↑ มติชนออนไลน์, โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง "นิเวศน์ นันทจิต" ดำรงตำแหน่ง อธิการบดี ม.เชียงใหม่
- ↑ Chiang Mai University and Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital Work With IBM To Build Medical Hub to Serve Northern Region of Thailand
- ↑ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
- ↑ รายชื่อประธานกรรมการ
- ↑ รู้จัก "นพ.นิเวศน์ นันทจิต" อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับงานท้าทาย : มติชนออนไลน์
- ↑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ นิเวศน์ นันทจิต ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คนที่15[ลิงก์เสีย]
- ↑ รศ.นพ.นิเวศน์ นันทจิต" ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คนที่ 15 : ผู้จัดการออนไลน์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๒๒๔, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗
ก่อนหน้า | นิเวศน์ นันทจิต | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ | อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 - 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559) |
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ อาวุธ ศรีสุกรี (รักษาการ) | ||
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ อาวุธ ศรีสุกรี (รักษาการ) | อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 - 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2565) |
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล |